บทบาทของตัวละครแมวในวรรณกรรมแปลญี่ปุ่น : กรณีศึกษา วรรณกรรมแปลเรื่อง แมวกับนายโชโซและผู้หญิงสองคน

นายชิษณุชา แก้วถาวร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง บทบาทของตัวละครแมวในวรรณกรรมแปลญี่ปุ่น กรณีศึกษาวรรณกรรมแปล เรื่อง แมวกับนายโชโซและผู้หญิงสองคน เป็นการศึกษาวรรณกรรมแปล เรื่อง แมวกับนายโชโซและผู้หญิงสองคน ซึ่งเป็นผลงานของ ทานิซากิ จุนอิจิโร แปลโดย อรรถ บุนนาค วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทตัวละครแมว และกลวิธีการใช้แมวมาสร้างสรรค์ในวรรณกรรมแปล

ผลการศึกษาพบว่าตัวละครแมวในวรรณกรรมแปลญี่ปุ่น เรื่อง “แมวกับนายโชโซและผู้หญิงสองคน” อย่างลีลี่ มีบทบาทต่อตัวละครมนุษย์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นบทในการเป็นเครื่องมือของตัวละครอื่น บทบาทในการเป็นผู้เยียวยา และบทบาทในการเปลี่ยนแปลงความคิดของตัวละครอื่น สะท้อนถึงประโยชน์ของสัตว์เลี้ยงในยามที่สังคมเริ่มเข้าสู่สังคมปลีกวิเวก สัตว์เลี้ยงจะกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยของมนุษย์ได้

จากการศึกษากลวิธีการใช้แมวมาสร้างสรรค์ในนวนิยายแปลญี่ปุ่น เรื่อง “แมวกับนายโชโซและผู้หญิงสองคน” (猫と庄造と二 人の女) ของ ทานิซากิ จุนอิจิโร พบว่าเป็นตัวละครแมวถูกวางบทให้เป็นชนวนของเรื่องทั้งหมด พร้อมไปกับการเป็นตัวละครที่ค่อยๆ คลายปมของตัวละครอื่นๆ ในเรื่อง ภายใต้การผู้ปมแบบความขัดแย้งระหว่างมนุษย์และความขัดแย้งภายในใจมนุษย์