การค้าผลไม้ไทย-จีน

โดย นางสาววรารัตน์ ขาเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง การค้าผลไม้ไทย-จีน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการค้าผลไม้ไทย-จีน ก่อนและหลังทากรอบการค้าเสรี ปัจจัยที่ส่งผลต่อการค้าผลไม้ไทย-จีน และแนวโน้มทางการค้าผลไม้ไทย-จีน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจาก เอกสาร บทความ รายงานวิจัยจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ใช้วิธีการ วิเคราะห์เชิงพรรณนา และวิเคราะห์สถานการณ์

ผลการวิจัยพบว่า เดิมก่อนการเปิดเขตการค้าเสรีไทย-จีน ทั้งสองประเทศได้มีการค้าขายระหว่างกันอยู่แล้ว การค้าผลไม้นั้นมีในปริมาณที่ไม่มากนัก แต่เมื่อมีการเปิดเขตการค้าเสรีขึ้น การค้าผลไม้ของทั้งสองประเทศก็มีมูลค่าที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ปัจจัยสาคัญที่ทาให้เกิดการค้าระหว่างกันนั้นมีอยู่ 4 ประการ ประการที่หนึ่งคือ ลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันของสองประเทศ ทาให้ผลไม้ที่ปลูกได้นั้นมีความแตกต่างกัน จึงเกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนผลไม้ระหว่างกัน ประการที่สองคือการขนส่งและการกระจายสินค้า ทั้งสองประเทศมีพื้นที่ที่ไม่ห่างกันมากนัก และมีเส้นทางการขนส่งหลายเส้นทาง ทั้งทางทะเล ทางรถยนต์ ทางเรือ ทางอากาศ ซึ่งทาให้ง่ายต่อการขนส่งสินค้า ในส่วนของศูนย์กระจายสินค้านั้น ทั้งสองประเทศก็มีการตั้งศูนย์กระจายสินค้า เพื่อรองรับสินค้าที่เข้ามาและกระจายต่อไปยังภูมิภาคต่างๆภายในประเทศ ประการที่สามคือ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็นตัวผลักดันให้การค้ามีแนวโน้มที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐกับรัฐ หรือเอกชนกับรัฐ ล้วนแล้วแต่ทาให้การค้าผลไม้นั้นมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ประการที่สี่คือรสนิยมและรายได้ของประชากรต่อการเลือกบริโภค เป็นส่วนสาคัญที่ทาให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยน รสนิยมในการเลือกบริโภคของคนแต่ละภูมิภาคนั้นมีความแตกต่างกัน ภาคเหนือของประเทศจีนมีอากาศที่หนาวเย็นเกือบทั้งปี ผลผลิตที่ได้ก็จะเป็นพืชเมืองหนาว ส่วนพืชเมืองร้อนนั้น อาจจะมีบ้างแต่ก็ถือว่าน้อย เพราะอาจจะติดปัญหาเรื่องการขนส่ง ส่วนมากผลไม้เมืองร้อนของไทยที่ส่งไปขายในจีน จะส่งไปยังภาคใต้ของจีน และเมืองใหญ่ๆ เช่น เซี่ยงไฮ้ กวางโจว ซึ่งถือเป็นตลาดที่สาคัญของผลไม้ไทย รายได้ของประชาชนของทั้งสองประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นทาให้การเลือกบริโภคผลไม้นั้นมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น คนที่มีรายได้สูงเลือกบริโภคผลไม้ที่มีคุณภาพและไม่กังวลในเรื่องราคา ส่วนคนที่มีรายได้ต่าลงมาจะดูปัจจัยทั้งเรื่องคุณภาพ และราคากอปรกัน แนวโน้มการค้าผลไม้ของทั้งสองประเทศ เมื่อวิเคราะห์จากปัจจัยต่างๆ จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ปัจจัยจากรัฐบาลยังคงเป็นปัจจัยที่มีความสาคัญที่สุด เพราะถ้ารัฐบาลของทั้งสองประเทศมีสัมพันธ์อันดีต่อกัน นั้นก็นามาซึ่งกรอบความร่วมมือระหว่างกัน การค้าขายของทั้งสองประเทศก็คงจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้นแน่นอน

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf