ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น

โดย นางสาวมณฑิรา สุวรรณเลิศเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังศึกษาลักษณะปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ก่อให้เกิดเทศกาลต่างๆ และการพัฒนาปัจจัยที่สนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น การศึกษาครั้งนี้ ข้อมูลที่นำมาศึกษาวิเคราะห์ผ่านการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หน่วยงานการท่องเที่ยวต่างๆ หนังสือ รวมถึงสื่อออนไลน์ นำมาศึกษา และวิเคราะห์ถึงประเด็นหลักของการตัดสินใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น ผลการศึกษาพบว่า

ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และเป็นหนึ่งในประเทศที่นักท่องเที่ยวทุกคนต้องเดินทางมาสักครั้ง เพราะปัจจัยต่างๆที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัสให้รู้สึกถึง สังคม ภาษา และวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นที่ทำให้นักท่องเที่ยวสนใจ โดยปัจจัยที่สำคัญที่มีผลทำให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น คือ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดในการเดินทางมาท่องเที่ยว ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น คือ ที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยว ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ และการคมนาคม

ประเทศญี่ปุ่นมีภูมิศาสตร์ที่หลากกหลายทำให้ประชากรในประเทศนึกคิดกิจกรรมที่รองรับในด้านภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยประเทศญี่ปุ่นจะใช้ฤดูกาลทั้ง 4 เป็นปัจจัยสำคัญในการแบ่งช่วงของเทศกาลในประเทศ และในแต่ละเทศกาลของประเทศญี่ปุ่นนักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสถึง วัฒนธรรมและประเพณีของคนญี่ปุ่นได้อย่างชัดเจน นักท่องเที่ยวจึงเดินทางมาจากหลายมุมโลกเพื่อต้องการที่จะซึมซับความเป็นตัวตนของประเทศญี่ปุ่นตามช่วงเทศกาลต่างๆ ซึ่งเทศกาลสำคัญที่แบ่งตามฤดูกาลมี ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว

การพัฒนาปัจจัยที่สนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาปัจจัยในด้านต่างๆในการท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศมีความสะดวกมากขึ้น จึงเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้นักท่องเที่ยวต้องการที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น การพัฒนาปัจจัยที่สนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น มีดังนี้ การกระตุ้นการท่องเที่ยวของรัฐบาลญี่ปุ่น การพัฒนาด้านคมนาคม และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf