วิเคราะห์การพัฒนาการแสดง (Live Performance/Music Performance) กรณีศึกษา วง Perfume

โดย นางสาวปภัสรา พรรัตนโชติสกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องวิเคราะห์การพัฒนาการแสดง (Live Performance/Music Performance) กรณีศึกษาวง Perfume มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาของการแสดง เพื่อศึกษาผลงานการแสดงสด ของวง Perfume เพื่อศึกษารูปแบบการจัดแสดง การใช้เทคนิคบนเวที การให้ความบันเทิงผู้ชมระหว่างการแสดง ของวง Perfume เพื่อศึกษา วิเคราะห์ การพัฒนาผลงานการแสดงสด ของวง Perfume

ผลการศึกษาพบว่า การแสดงของวง Perfume ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงส่งผลให้การแสดงมีการพัฒนา จากการที่มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นทำให้ดนตรีและเทคนิคบนเวทีมีความหลากหลายและพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด การแสดงคอนเสิร์ตในยุคศริสต์ศตวรรษที่ 21 จึงไม่ใช่เพียงแค่การร้องเพลงเท่านั้น แต่ยังมีทั้งการเต้น การให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม การใช้เทคนิคต่างๆบนเวทีในการนำเสนอ ทั้งการใช้ฮอโลแกรม (Hologram) การใช้เทคนิคพิเศษ (Special Effect) เป็นต้น เพื่อช่วยสร้างอารมณ์ร่วมให้กับผู้ชมได้เข้าสู่โลกของการแสดงอย่างเต็มที่ และการใช้เครื่องดนตรีสมัยใหม่ที่เป็นผลจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้วงการเพลงได้เติบโตขึ้นมาในญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf