ความอยุติธรรมของสนธิสัญญานานกิง สนธิสัญญาเทียนจินและอนุสัญญาปักกิ่งในช่วงสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 และ 2 ตั้งแต่ ค.ศ.1834-1860

โดย นางสาวนภัสสร ชมสุวรรณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาบริบทที่นำไปสู่การทำสนธิสัญญานานกิง สนธิสัญญาเทียนจิน และอนุสัญญาปักกิ่ง รวมถึงเนื้อหาสาระและผลกระทบของสนธิสัญญานานกิง สนธิสัญญาเทียนจิน และอนุสัญญาปักกิ่งในช่วงสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 และ 2 ตั้งแต่ ค.ศ.1834-1860 ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ หนังสือ หรือนิตยสารในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ นำมารวบรวมเพื่อศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ออกมาเป็นงานวิจัย ซึ่งจากการวิจัยพบว่า สนธิสัญญานานกิง สนธิสัญญาเทียนจิน และอนุสัญญาปักกิ่ง เป็นสนธิสัญญาอยุติธรรมต่อจีนเป็นอย่างมาก ทั้งทางด้านการค้าการลงทุนจีนที่ต้องเสียตลาดการค้าให้กับสินค้าตะวันตก ตะวันตกผูกขาดการขายสินค้าให้จีน การเสียดินแดนฮ่องกงให้เป็นเมืองท่าของอังกฤษ ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเงินจำนวนมาก ต่างชาติเข้ามาตั้งสถานทูตในจีนได้ จีนสูญเสียเอกราชและกลายเป็นชาติกึ่งอาณานิคมของตะวันตก ชาติมหาอำนาจต่างเข้ามากอบโกยผลประโยชน์จากจีน โดยที่จีนไม่มีทางเลือกต้องยินยอมลงนามในสนธิสัญญานานกิง สนธิสัญญาเทียนจินและอนุสัญญาปักกิ่งแบบไม่เต็มใจ ชาวจีนถือว่าสนธิสัญญาเหล่านี้เป็นสนธิสัญญาอัปยศของชนชาติจีน การทำสนธิสัญญากับต่างชาตินำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการปกครอง ทั้งทางด้านบวกและลบของจีนมาจนถึงปัจจุบัน

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf