การท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา สินค้า OVOP ในประเทศญี่ปุ่น

โดย  นางสาวณัฐสิมา อรชร

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวที่น่าสนใจและได้รับความนิยมทั้งจากกระแสความต้องการของนักท่องเที่ยวหรือการจัดให้เป็นกลุ่มสินค้าการท่องเที่ยวที่สำคัญของแต่ละประเทศรวมทั้งนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐที่มุ่งรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจากความสำคัญดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้ศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในกรณีศึกษา สินค้า OVOP ของประเทศญี่ปุ่น โดยเน้นเอาทรัพยากรที่มีอยู่ในหมู่บ้านมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ พบว่า โครงการ OVOP ประสบผลสำเร็จได้อย่างดีและสร้างกระแสการฟื้นฟูไปทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยเน้นจุดขายเอกลักษณ์และทรัพยากรของแต่ละท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ นำมาให้เกิดคุณค่ามากขึ้นโดยใช้วิธีการแปรรูปจนสินค้ามีเอกลักษณ์และได้รับความนิยมและได้รับความแพร่หลายไปสู่สากลในด้านกระบวนการทางความคิดการผลิต การรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การแลกเปลี่ยนให้มีจุดเด่น และ มีจุดขายให้เป็นที่น่าจดจำ ยกตัวอย่าง จังหวัดฮอกไกโด ผลิตภัณฑ์ส่วนมากมาจากนมวัวเป็นหลัก ซึ่งน้ำนมของวัวฮอกไกโดนั้นมีคุณภาพสูง รสชาติอร่อย มีนวัตกรรมการผลิตที่สามารถคงความสดใหม่ของน้ำนมเอาไว้ทำให้สามารถเก็บไว้ได้นานโดยสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆได้อีกหลายอย่าง เช่น ชีสเค้ก เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม และขนมปัง เป็นต้น ส่วนชิซึโอกะมีชาเขียวเป็นเอกลักษณ์ เนื่องจากพื้นที่เหมาะแก่การปลูกชา พิถีพิถันในการชง การเก็บ และการปลูกชาส่งผลให้ชาเขียวมีรสชาติหวานโดยธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องใส่น้ำตาลทำให้ได้รสชาติชาเขียวแท้ อีกด้วยจากข้อความข้างต้นจังหวัดทั้ง 2 จังหวัดมีทรัพยากรทางเกษตรที่ดี มีคุณภาพ และผสานเข้ากับการจัดการที่ดีและเป็นระบบจึงก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์แปรรูปในรูปแบบต่างๆที่น่าสนใจ ทำให้สินค้าเหล่านั้นมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf