วิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้กลยุทธ์ของขงเบ้ง ในวรรณกรรมเรื่อง สามก๊ก กับ 36 กลยุทธ์แห่งชัยชนะ

โดย  นางสาวอักษราภัค กมลพัฒนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้กลยุทธ์ของขงเบ้งในวรรณกรรมเรื่อง “สามก๊ก” กับตำราพิชัยสงคราม  36  กลยุทธ์แห่งชัยชนะ  โดยเลือกวิธีการศึกษาแบบวิจัยเอกสาร  และใช้วิธีการนำเสนอเชิงพรรณนา  รวมทั้งอธิบายจากข้อมูลทุติยภูมิ  ซึ่งจะอาศัยหลักฐานด้านเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  อันได้แก่  ความหมายของกลยุทธ์และพิชัยสงคราม 36  กลยุทธ์แห่งชัยชนะวรรณกรรมเรื่อง  “สามก๊ก” ประวัติความเป็นมาของขงเบ้งและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

จากการศึกษาการใช้กลยุทธ์ของขงเบ้งในวรรณกรรมเรื่อง “สามก๊ก” กับตำราพิชัยสงคราม  36 กลยุทธ์แห่งชัยชนะ  ผู้วิจัยพบว่า  กลยุทธ์ที่ขงเบ้งเลือกใช้นั้นมีความสอดคล้องกับ  36  กลยุทธ์จำนวนทั้งสิ้น  16  กลยุทธ์   คือกลยุทธ์ล้อมเว่ยช่วยเจ้า  กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน  กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย  กลยุทธ์มีในไม่มี     กลยุทธ์ลี่ตายแทนถาว  กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ  กลยุทธ์แสร้งปล่อยเพื่อจับ  กลยุทธ์ถอนฟืนใต้กระทะ    กลยุทธ์กวนน้ำจับปลา  กลยุทธ์จักจั่นลอกคราบ  กลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว  กลยุทธ์ขึ้นบ้านชักบันได  กลยุทธ์กลเปิดเมือง  กลยุทธ์กลไส้ศึก  กลยุทธ์กลลูกโซ่  และกลยุทธ์หนีคือยอดกลยุทธ์  โดยใน  36  กลยุทธ์แห่งชัยชนะ  กลยุทธ์ที่ขงเบ้งนำมาใช้ในการศึกมากที่สุด  คือกลยุทธ์ขึ้นบ้านชักบันไดและกลยุทธ์ลูกโซ่  เนื่องจากทั้งสองกลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมาก  สามารถนำไปใช้ได้ในภาวะที่ต้องการรุกเพื่อโจมตีและกำจัดข้าศึกให้หมดสิ้น  หรือจะใช้ในภาวะที่เราคับขันเข้าตาจนทั้งด้านกำลังพลและเสบียง  จนต้องหาหนทางถอยหนีก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf