ทางตัน: ภาพสะท้อนสังคมเวียดนามยุคอาณานิคมผ่านตัวละครและฉาก

โดย นางสาวจิรวรรณ ตระกูลวิริยะกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง ทางตัน: ภาพสะท้อนสังคมเวียดนามยุคอาณานิคมผ่านตัวละครและฉาก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนสังคมเวียดนามในยุคอาณานิคมผ่านตัวละครและฉาก โดยศึกษาจากนวนิยายแปลเรื่องทางตัน ของเหงียน คอง โฮน

ผลการศึกษาพบว่าผู้แต่งสร้างตัวละครให้เป็นตัวแทนชนชั้นทางสังคมเวียดนามในเวลานั้น ได้แก่ เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของเวียดนาม เจ้าของที่ดินชาวเวียดนามที่มีฐานะ และชาวนาเวียดนามที่ยากจน นอกจากนี้ตัวละครยังสะท้อนความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมเวียดนามสมัยอาณานิคม กล่าวคือความขัดแย้งระหว่างเจ้าอาณานิคมกับชาวเวียดนามและความขัดแย้งระหว่างชาวเวียดนามด้วยกัน

นอกจากตัวละครแล้ว ฉากก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ผู้แต่งสร้างหมู่บ้านชัม ตำบลอันเดา ซึ่งเป็นหมู่บ้านหนึ่งในชนบทของเวียดนาม  มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและค้าขายขึ้นเป็นฉากสำคัญในเรื่องเพื่อนำเสนอภาพความทุกข์ยากที่ชาวนาเวียดนามกำลังเผชิญทั้งการกดขี่ การเอารัดเอาเปรียบ  การข่มเหง  รังแก ตลอดจนการถูกขูดรีดอย่างไม่เป็นธรรม จากทั้งเจ้าอาณานิคมและชาวเวียดนามด้วยกัน ฉากจึงมีบทบาทสำคัญที่ช่วยขับเน้นภาพของความอยุติธรรมที่ชาวเวียดนามต้องประสบในสังคมเวียดนามยุคอาณานิคมได้อย่างชัดเจน ตัวละครและฉากทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจสภาพสังคมเวียดนามในยุคอาณานิคมได้มากยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลด บทความวิจัย

icon-pdf