มุมมองต่อสงครามโอกินาวา (ค.ศ. 1942-1945) กรณีศึกษาผ่านภาพยนตร์ เรื่อง Hacksaw Ridge และ Letters from Iwo Jima

นางสาวอภิญญา   ฉัตรทิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาความเป็นมาและผลของสงครามโอกินาวา ค.ศ. 1942-1945 และศึกษามุมมองที่มีต่อสงครามโอกินาวาที่ปรากฏในสื่อผ่านภาพยนตร์เรื่อง จดหมายจากอิโวจิมา ยุทธภูมิสู้แค่ตาย (Letters from Iwo Jima) และ วีรบุรุษสมรภูมิปาฏิหาริย์ (Hacksaw Ridge) ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทำให้ญี่ปุ่นก่อสงครามคือแนวคิดชาตินิยมหรือความภาคภูมิใจในความเป็นชาติของคนญี่ปุ่นที่มีต่อจักรพรรดิผู้สืบเชื้อสายจากเทพสวรรค์และวิถีนักรบที่ทำให้ซามูไรญี่ปุ่นมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะอุทิศตนเพื่อปกป้องวงศ์ตระกูลไม่ให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ด้วยปัจจัยดังกล่าวผนวกกับอิทธิพลของมหาอำนาจในยุคจักรวรรดินิยมส่งผลให้ญี่ปุ่นเรียนรู้ที่จะพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าพร้อมคงความรักและหวงแหนในชาติไว้เพื่อให้หลุดพ้นจากการตกอยู่ภายใต้การอำนาจของชาติตะวันตก จากการเติบโตด้านอุตสาหกรรมและความเข้มแข็งทางกองทัพทหารทำให้ญี่ปุ่นเริ่มดำเนินนโยบายตามแนวคิดของจักรวรรดินิยม ญี่ปุ่นสามารถชนะจีนแผ่นดินใหญ่และรัสเซียก่อนมีอำนาจเหนือคาบสมุทรเกาหลีได้และเปิดฉากเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อ่าวเพิร์ลและจบลงด้วยความพ่ายแพ้ที่หมู่เกาะโอกินาวา นอกจากนี้ มุมมองจากสงครามที่ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องถ่ายทอดออกมา ยังเต็มไปด้วยภาพของความโหดร้าย ความรุนแรง และความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งฝ่ายญี่ปุ่นและพันธมิตรอย่างอเมริกา อย่างไรก็ตาม ยังมีภาพของความรักชาติและความจงรักภักดีของทหารญี่ปุ่นในสงคราม ความยากลำบากและการกินอยู่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และความไม่เต็มใจร่วมรบของทหารญี่ปุ่นบางนายที่ถึงแม้จะรักชาติยิ่งชีพแต่กลับไม่เห็นด้วยกับการก่อสงคราม อุดมกาณ์ที่แน่วแน่ของผู้นำทำให้พวกเขาไม่สามารถปฏิเสธและหลีกเลี่ยงสงครามได้จนเกิดเป็นโศกนาฏกรรมที่ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะความสูญเสียก็เกิดขึ้นแล้วทั้งสิ้น

บทความวิจัยฉบับเต็ม