ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับมะละกาในสมัยราชวงศ์หมิงช่วงสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ (ค.ศ.1402-ค.ศ. 1428 )

นางสาวสุรัสวดี  สุวรรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับมะละกาในสมัยราชวงศ์หมิง ช่วงสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ  เพื่อหาสาเหตุที่จีนและมะละกาติดต่อและทำความสัมพันธ์กันว่าเหตุใดความสัมพันธ์ของจีนกับมะละกาจึงถือกำเนิดขึ้น และความสัมพันธ์ทั้งสองสะท้อนมุมมองและแนวคิดของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไร อีกทั้งความสัมพันธ์นี้จีนและมะละกาทิ้งร่องรอยอะไรที่มรดกทางวัฒนธรรม  โดยจะเน้นศึกษาในช่วง ค.ศ.1402 – ค.ศ. 1428 ซึ่งเป็นช่วงที่จีนเริ่มติดต่อกับมะละกา หรือในราวศตวรรษ ที่ 15

ผลจากการประมวลความรู้จากเอกสารและผลงานต่าง ๆ ตามระเบียบวิธีวิจัยประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าสาเหตุที่จีนติดต่อกับมะละกาติดต่อทำความสัมพันธ์กัน เพราะว่าจีนต้องการประกาศศักดาความยิ่งใหญ่ให้กับนานาประเทศเพื่อให้ยอมรับในอำนาจของราชวงศ์หมิงผ่านระบบบรรณาการที่จีนได้กำหนดขึ้น มะละกาเป็นอาณาจักรแรกที่จีนส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มะละกากำลังก่อร่างสร้างตัวและกำลังเผชิญกับการถูกการรุกรานจากสยาม จึงต้องการมหาอำนาจที่เป็นมิตรเพื่อมาคานอำนาจของสยาม ความสัมพันธ์ของทั้งสองจึงเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามการติดต่อกันผ่านระบบบรรณาการนี้แฝงไปด้วยผลประโยชน์ทางการค้าของทั้งสองฝ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมะละกาเองนั้นมีจุดดึงดูดสำคัญคือ ที่ตั้งเหมาะแก่การเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการค้าที่สำคัญ และศูนย์กลางแลกเปลี่ยนสินค้า ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการขยายอาณาเขตทางการค้าของจีนเช่นกัน แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับมะละกาจำดำเนินไปในช่วงเวลาสั้น แต่การเดินทางมาสู่มะละกาของชาวจีนส่งผลต่อเนื่องยาวนาน กล่าวคือ เป็นที่มาของชาวเปอรานากัน (Peranakan) เนื่องพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขายในมะละกาได้แต่งงานกับสาวชาวท้องถิ่นจึงกำเนิดผู้คนที่มีสายเลือดผสมที่เรียกว่า ‘เปอรานากัน’ ซึ่งแปลว่า เกิดที่นี่ ผลที่ตามมาคือการผสมผสานวัฒนธรรมที่ต่างกันอย่างลงตัว กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งภาษา ประเพณี การแต่งกายและเครื่องใช้ รวมไปถึงสถาปัตยกรรมอีกด้วย

บทความวิจัยฉบับเต็ม