อิทธิพลลัทธิเหมาต่อการปฏิวัติกัมพูชาภายใต๎ระบอบกัมพูชาประชาธิปไตย ค.ศ. 1975 – 1979

นางสาวชมภัสสร เกิดบัญดิษฐ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “อิทธิพลลัทธิเหมาต่อการปฏิวัติกัมพูชาภายใต้ระบอบกัมพูชาประชาธิปไตย ค.ศ. 1975 – 1979” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลลัทธิเหมาที่มีต่อระบอบกัมพูชาประชาธิปไตยภายใต้การนำของพล พต (Pol Pot) ศึกษานโยบายการปกครองประเทศและสภาพสังคมภายใต้ระบอบกัมพูชาประชาธิปไตยและบทบาทของรัฐบาลจีนกับการให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลระบอบกัมพูชาประชาธิปไตย อีกทั้งยังศึกษาผลกระทบต่อกัมพูชาในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมภายใต้การปกครองระบอบกัมพูชาประชาธิปไตย โดยมีวิธีการศึกษาด้วยวิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์ (Historical Approach) อาศัยหลักฐานข้อมูลทุติยภูมิ (เอกสารชั้นรอง) ภาษาไทยสำหรับการศึกษาและเรียบเรียงผลการศึกษาในรูปแบบของบทความวิจัย

ผลการศึกษาพบวำ ระบอบกัมพูชาประชาธิปไตยได๎รับอิทธิพลการปฏิวัติและการปกครองปกครองประเทศมาจากลัทธิเหมา ด้วยสภาพสังคมที่เป็นสังคมเกษตรกรรมและการชื่นชอบในตัวเหมา เจ๋อตงเป็นการส่วนตัว พล พต (Pol Pot) จึงได้นำแนวความคิดเหมามาเป็นหลักพื้นฐานในการปกครองประเทศ เห็นได้จากการดำเนินนโยบายในประเทศที่มีการสร้างสังคมคอมมูนประชาชน การต่อต้านทางชนชั้นและการดำเนินนโยบายปิดประเทศ ซึ่งจะเห็นได้วำรัฐบาลจีนได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการให้ความชํวยเหลือแก่รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย ทั้งจากความชํวยเหลือด้านเศรษฐกิจด้านบุคลากรและการทหารต่างๆ รวมทั้งยังมีบทบาทให้กัมพูชาพัฒนาความสัมพันธ์ระหวำงประเทศกับประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศเกาหลีเหนือ เป็นต้น

จากการดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวและรุนแรงของรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย ทำให้เกิดการสูญเสียประชาชนจำนวนมาก เกิดโครงสร้างทางสังคมที่ผิดรูป ประชาชนอดอยากและไมํมีความรู้ แม้แต่กระทั่งสุขอนามัยเบื้องต้น ภายใต้การปกครองของระบอบกัมพูชาประชาธิปไตยที่มีระยะเพียง 4 ปี แต่กลับสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศกัมพูชาอย่างมาก ทำให้ภายหลังที่สามารถขับไล่รัฐบาลเขมรแดงออกไปแล้ว ประเทศกัมพูชาตกอยูํในสภาวะที่เรียกว่าบอบช้ำในทุกๆ ด้าน ต้องพึ่งการให้ความช่วยเหลือจากภายนอกเพื่อฟื้นฟูประเทศอย่างเร่งด่วน จะเห็นได้วำ ภายใต้การปกครองระบอบกัมพูชาประชาธิปไตยที่ได้นำฐานความคิดลัทธิเหมามาปฏิบัติใช้โดยไม่ได้ศึกษาอย่างท่องแท้และไม่ได้พิจารณาว่าเหมาะสมกับสภาพสังคมตนเองได้ก่อให้เกิดความสูญเสียและความเปลี่ยนแปลงแก่กัมพูชาอย่างใหญ่หลวง

บทความวิจัยฉบับเต็ม