ทิเบตกับปัญหาความมั่นคงของจีนและอินเดีย ตั้งแต่ค.ศ. 1949 ถึงปัจจุบัน

นางสาวรุจิกาญจน์ เหมือนศรีชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “ทิเบตกับปัญหาความมั่นคงของจีนและอินเดีย ตั้งแต่ค.ศ. 1949 ถึงปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของปัญหาข้อพิพาทแนวพรมแดนทิเบตที่นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างจีนและอินเดีย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างทิเบตกับจีนและอินเดีย อีกทั้งสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาข้อพิพาทแนวพรมแดนทิเบต

ผลการศึกษาพบว่า ทิเบตเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญทางความมั่นคงของจีน โดยเป็นรัฐกันชนแบ่งประเทศจีนกับประเทศอินเดีย และปัจจุบันเป็นประตูทางการค้าเชื่อมระหว่างสองอำนาจใหม่อย่างจีนและอินเดีย ส่งผลให้นโยบายของผู้นำจีนในทุกยุคจะมุ่งสร้างอิทธิพลครอบงำดินแดนทิเบต และมองว่าทิเบตเป็นส่วนหนึ่งดินแดนชายขอบของจีน แต่เมื่ออังกฤษได้เข้ามาแบ่งแนวพรมแดนระหว่างทิเบตและอินเดียขึ้นใหม่ ที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ แนวแมคมาฮอน (McMahon Line) อังกฤษได้ลักลอบขยับเส้นแบ่งลึกเข้าไปยึดพื้นที่ดินแดนบางส่วนของจีนและทิเบตส่งผลให้ ค.ศ. 1962 เกิดสงครามข้อพิพาทพรมแดนทิเบตระหว่างจีนและอินเดียขึ้น  ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศอินเดียกับสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีความสัมพันธ์อันดี ตั้งแต่ค.ศ. 1949 เป็นต้นมา ต้องกลายมาเป็นประเทศคู่ขัดแย้งทางด้านพรมแดน อีกทั้งภายหลังที่จีนบุกยึดทิเบต รัฐบาลอินเดียยังให้ความช่วยเหลือแก่องค์ดาไลลามะที่ 14 เข้ามาลี้ภัยและจัดตั้งรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่นที่ประเทศอินเดียจนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าปัญหาความขัดแย้งด้านพรมแดนถือเป็นปัญหาใหญ่ของความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอินเดียเสมอมา และยังคงหาข้อยุติร่วมกันไม่ได้ แต่ในปัจจุบันแม้ว่ายังมีความขัดแย้งกันด้านความมั่นคงแต่ทั้งสองประเทศให้ความร่วมมือที่ดีต่อกันในด้านเศรษฐกิจ เพื่อก้าวขึ้นสู่มหาอำนาจเศรษฐกิจโลกร่วมกัน

บทความวิจัยฉบับเต็ม