ทัศนะทางสังคมของเหลาเส่อที่ปรากฎในวรรณกรรมแปลจีนเรื่อง “ ร้านน้ำชา บทละครพูด 3 องก์ ”

นางสาวนลินทิพย์ ชาวบางงาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง ทัศนะทางสังคมของเหลาเส่อที่ปรากฎในวรรณกรรมแปลจีนเรื่อง “ ร้านน้ำชาบทละครพูด3 องก์ ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะของผู้เขียนที่มีต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมของจีนและเพื่อศึกษาคุณค่าด้านเนื้อหา โดยศึกษาจากวรรณกรรมแปลจีนเรื่อง ร้านน้ำชา บทละครพูด 3 องก์ ประพันธ์โดย เหลาเส่อ พระราชนิพนธ์แปล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักพิมพ์ นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2558 จากการศึกษาพบว่าบทละคร “ ร้านน้ำชา ” มีเนื้อหาที่สะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมของจีนจากสังคมจารีตสู่สังคมปัจจุบันในช่วงเวลา 5 ทศวรรษ (ค.ศ. 1899 – ช่วงแรก ๆของสงครามโลก) ซึ่งส่งผลกระทบทำให้การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนค่อยๆ สูญหายไป โดยผู้เขียนได้แสดงทัศนะ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) การเมือง พบว่า มีเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบสาธารณรัฐและมีต่างชาติเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองจึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ 2) เศรษฐกิจ พบว่า เศรษฐกิจย่ำแย่เนื่องจากผู้ที่มีอำนาจเข้ามากดขี่ข่มเหงประชาชนและการเข้ามาของต่างชาติทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 3) สังคมและวัฒนธรรม พบว่า สังคมวัฒนธรรมและความคิดของประชาชนชาวจีนเปลี่ยนไปตามเวลา ส่วนคุณค่าของเนื้อหาของวรรณกรรมเรื่องนี้มี 3 ด้าน คือ 1) ประวัติศาสตร์ การบันทึกเรื่องราวของร้านน้ำชาการเปลี่ยนแปลงสังคมจีนจากจารีตสู่สังคมปัจจุบัน 2) วัฒนธรรม แสดงความผูกพันกับวิถีชีวิตของจีนและเครื่องแต่งกายของชาวจีนที่เป็นเอกลักษณ์ 3) ปรัชญา สะท้อนคุณค่าความเป็นมนุษย์และการเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่

บทความวิจัยฉบับเต็ม