ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา : ศึกษาเปรียบเทียบนโยบายการบริหารการศึกษาระหว่างประเทศไทยและประเทศเวียดนาม

นางสาวอาทิตยา ศาลางาม

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา : ศึกษาเปรียบเทียบนโยบายการบริหารการศึกษาระหว่างประเทศไทยและประเทศเวียดนามมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง แนวคิด นโยบายทางการศึกษาและความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นของทั้งสองประเทศ ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชนเนื่องจากความเหลื่อมล้ำในสังคมถือว่าเป็นปัญหาที่มีมาระยะเวลาที่ยาวนานจึงส่งผลให้เกิดความ ขัดแย้งในสังคม ความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาเนื่องจากเป็นพื้นฐานรากฐานของการพัฒนาคนแต่โอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมยังพบว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแก้ไขได้อย่างทั่วถึงและเพื่อทราบนโยบายทางการศึกษาจนกระทั่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบและเพื่อเป็นแนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้น้อยลง โดยผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ได้มา โดยมีวิธีการศึกษาผ่านบทความและเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยยึดแนวความคิดจากหนังสือ ข้อมูลจากบทความวิชาการ และข้อมูลจากสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวข้องเป็นเอกสารประกอบการค้นคว้า ผลการศึกษาพบว่า ความไม่เท่าเทียมประเด็นสำคัญมากที่สุดในสังคม คือ ฐานะและรายได้ทรัพย์สิน และสิ่งที่ประชาชนเห็นว่าถูกเลือกปฏิบัติมากที่สุด คือ ความทุพพลภาพ รองลงมาคือ ถูก เลือกปฏิบัติเพราะระดับการศึกษา ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาคือ การที่สังคมมีการเลือกปฏิบัติ มีความไม่เท่าเทียมกันในรายได้และทรัพย์สิน ความไม่พึง พอใจในการศึกษา เพศ กลุ่มอายุ และถิ่นที่อาศัย ดังนั้น การเสริมสร้างความ เท่าเทียมทางรวมไปถึงเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยครั้ง และนโยบายการศึกษามักเปลี่ยนแปลงไปตามรัฐบาล ทำให้การศึกษาขาดความต่อเนื่อง และยั่งยืน อีกทั้งการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติยังขาดประสิทธิภาพ