เบนโตะ : นัยยะการกินของคนญี่ปุ่น

โดย นายปกรณ์ อาษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง เบนโตะ : นัยยะการกินของคนญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของกล่องข้าวเบนโตะญี่ปุ่นและสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของกล่องข้าวเบนโตะในแต่ละยุคสมัย และวิเคราะห์กล่องข้าวเบนโตะในแง่มุมของสังคมศาสตร์ ซึ่งมีวิธีการศึกษาด้วยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ อาทิ หนังสือ บทความจากวารสาร บทความทางวิชาการ และข้อมูลจากสื่อออนไลน์ต่างๆ และได้นำกรอบแนวความคิดและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์เรื่อง สัญวิทยาของ โรล็อง บาร์ต มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

ข้อมูลผลการศึกษาพบว่า ลักษณะของเบนโตะมีการเปลี่ยนแปลงตามบริบทของสังคม ลักษณะของเบนโตะสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ยุค ยุคที่เริ่มพัฒนาจากอาหารแห้ง (ค.ศ.1568-1600) ยุคแห่งการเดินทาง (คศ . .1600-1867) ยุคเอคิเบน (ค.ศ1868-1912) ยุคมากกว่าการเป็นอาหาร (ค.ศ.1913-ปัจจุบัน)

และจากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบัน การรับประทานเบนโตะนั้นไม่ใช่แค่เพียงการประทังให้ท้องอิ่มเท่านั้น แต่ประเด็นหลักก็คือเป็นการแสดงตัวตนและอัตลักษณ์ของตัวผู้บริโภคเอง ว่าเป็นคนชนชั้นไหน มีรสนิยมอย่างไร ดังนั้นจากเห็นได้ชัดเจนว่ากล่องข้าวเบนโตะในปัจจุบันนั้นได้มีการเพิ่มคุณค่า เพิ่มความหมายจากการรับประทานที่ให้ความสำคัญกว่าการรับประทานเพียงอย่างเดียวคนสมัยก่อน

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf