แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังชนชั้นแรงงานเกาหลีใต้

โดย นางสาวภรภัค สาครินทราชัย บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการ ลักษณะเฉพาะ และการเคลื่อนไหวของชนชั้นแรงงานในประเทศเกาหลีใต้ในช่วงทศวรรษ 1920 หรือยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมของคาบสมุทรเกาหลีจนถึงปัจจุบัน ศึกษาแนวคิดสำคัญที่มีอิทธิพลทำให้แรงงานเกาหลีใต้ก่อตัวเป็นแรงงานที่มีจิตสานึกในชนชั้น มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น และประสบความสำเร็จในการปฏิวัติมากกว่าแรงงานในประเทศอุตสาหกรรมในเอเชียตะวันออกที่มีลักษณะสังคมคล้ายกัน และประเทศกำลังพัฒนาในที่อื่นๆ โดยผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารที่กล่าวถึงสภาพสังคมเกาหลี สภาพของแรงงานเกาหลี รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวกับแนวความคิดต่างๆ คือ วัฒนธรรมขงจื่อ ทฤษฎีพึ่งพาและเทววิทยาแห่งการปลดปล่อยของละตินอเมริกา และทฤษฎีมาร์กซิส แล้วจึงนำผลการศึกษาทางด้านสังคมมาวิเคราะห์ร่วมกับแนวความคิด ผลการวิจัยพบว่า กระบวนแรงงานในเกาหลีมีพัฒนาการเริ่มจากในทศวรรษที่ 1920 ที่ประเทศญี่ปุ่นได้นำระบบอุตสาหกรรมเข้ามาในประเทศเกาหลีใต้เป็นครั้งแรก เริ่มก่อตัวเป็นกรรมาชีพในทศวรรษที่ 1960 และปฏิวัติในทศวรรษที่ 1980 โดยมีลักษณะเฉพาะคือ มีการประท้วงที่รวดเร็วและรุนแรง และจากการศึกษาแนวคิดพบว่า วัฒนธรรมขงจื่อได้ถูกชนชั้นนายทุนนามาใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมแรงงาน ทฤษฎีพึ่งพาและเทววิทยาแห่งการปลดปล่อยของละตินอเมริกา ได้ถูกนำเข้ามาโดยองค์กรคริสต์ศาสนา มีส่วนช่วยเหลือในการเรียกร้องสิทธิของแรงงานในทศวรรษที่ 1960-1980 และทฤษฎีมาร์กซิสถูกนำเข้ามาใช้ในการเรียกร้องโดยนักศึกษาในทศวรรษที่ 1980 ดาวน์โหลด บทความวิจัย