จารีตประเพณี เสียงร่ำร้องของเหล่าถง ใน “จดหมายลับไป่เหอ”

โดย นางสาวธนัชชนม์ พงษ์ชยพัทธ์ บทคัดย่อ สารนิพนธ์เล่มนี้เป็นการศึกษาจารีตประเพณี เสียงร่ำร้องของเหล่าถง ผ่านวรรณกรรมแปลเรื่อง “จดหมายลับไป่เหอ” (Snow Flower and The Secret Fan) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรักและการแต่งงานของผู้หญิงภายใต้จารีตประเพณีแบบขงจื่อ รวมไปถึงวิเคราะห์ชีวิตความรักและการแต่งงานของหญิงสาว โดยใช้ปรัชญาความรักของ ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ เป็นกรอบในการศึกษา ผ่านวรรณกรรมเรื่อง จดหมายลับไป่เหอ ของ ลิซ่า ซี ตามวัตถุประสงค์ดังนี้   1. ความรักและการแต่งงานในปรัชญาขงจื่อ   2. ความรักและการแต่งงานภายใต้จารีตใน “จดหมายลับไป่เหอ”   3. ความรักและการแต่งงานในทัศนะของ ฌอง-ปอล ซาร์ตร์   4. ความรักของคู่เหล่าถงในวรรณกรรมเรื่อง “จดหมายลับไป่เหอ”   5. ความรักกับการเลือก (รักที่จะเลือก เลือกที่จะรัก)   6. ชะตากรรมและเสียงร่ำร้องของหญิงสาว   7. วิเคราะห์ผลการศึกษา ผลการศึกษาสรุปได้ว่า วรรณกรรมเรื่องจดหมายลับไป่เหอเป็นวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เป็นเรื่องราวชีวิตของผู้หญิงที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้กฎระเบียบ … Read more

วัฒนธรรมอาหารแปลกในประเทศจีน

โดย นางสาวจิดาภา อยู่เงินวดี บทคัดย่อ บทความวิจัยเรื่องวัฒนธรรมอาหารแปลกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประวัติความเป็นมา วิวัฒนาการของวัฒนธรรมอาหารแปลกในประเทศจีน และเพื่อวิเคราะห์ว่าความเชื่อแบบใดที่อยู่เบื้องหลังวัฒนธรรมการรับประทานอาหารแปลกในประเทศจีนซึ่งผลการศึกษาพบว่า ในสมัยราชวงศ์โจว พบตำรายาชื่อว่า ซานไห่จิง และ มีแพทย์ด้านโภชนาการเกิดขึ้น ราชวงศ์ฮั่นมีเรื่องราวการกินสมองลิงและการแสวงหายาอายุวัฒนะของชนชั้นสูง ราชวงศ์จิ้นมีตำรากล่าวถึงจักรพรรดิจิ๋นซีที่หาสูตรยาบำรุงทางเพศและยาอายุวัฒนะ ราชวงศ์ถังมีเรื่องราวเล่าถึงอาหารที่บำรุงกำลังของเพศชายและการนำเลือดมาประกอบอาหารซึ่งในบันทึกของมาร์โคโปโลเขียนก็ถึงการดื่มเลือดเป็นอาหาร ตำรายาในราชวงศ์หมิง เปิ่นฉาวกังมู่ มีตัวยาบางชนิดที่แปลก วิวัฒนาการของวัฒนธรรมอาหารแปลกในประเทศจีนเริ่มแรกเกิดจากแพทย์หลวงคิดค้นสูตรยามาบำรุงร่างกายองค์จักรพรรดิ ต่อมาลัทธิเต๋ามีอิทธิพลสูงมากทำให้เรื่องยาอายุวัฒนะได้รับความนิยม กระทั่งเมื่อได้มีการรวบรวมยาและสมุนไพรเอาไว้โดยเน้นบำรุงร่างกายซึ่งยาบางชนิดนั้นมีความแปลกและไม่น่าเชื่อจะใช้เป็นยารักษาโรคได้จึงทำให้ชาวจีนบางกลุ่มเข้าใจว่าที่ฮ่องเต้มีอายุยืนยาวเพราะมียาจากการปรุงด้วย สัตว์หายาก กลายเป็นวัฒนธรรมอาหารแปลก และพบว่าแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังวัฒนธรรมอาหารแปลกนี้คือเต๋า ซึ่งเน้นการใช้ชีวิตให้สมดุลกับธรรมชาติมีการจำแนกอาหารจีนออกเป็นหยินหยาง และแบ่งรสชาติ เป็น 5 รสเหมือนกับธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ไม้ โลหะ(ทอง)ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่ออวัยวะในร่างกายตามความเชื่อโบราณของจีนเพื่อสร้างจิ้งกับชี่ในร่างกายซึ่งชาวจีนเชื่อว่าสองสิ่งนี่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย  การให้ความสำคัญกับผู้ชายเนื่องจากอาหารแปลกเริ่มจากการหาอาหารมาบำรุงร่างกายของฮ่องเต้ อาหารแปลกที่ชาวจีนนิยมรับประทานมักเป็นสัตว์ป่าหายาก หรือมีวิธีการรับประทานที่ยากลำบากอาจเป็นเพราะชาวจีนนิยมชมชอบสิ่งที่หามาด้วยความยากลำบากเมื่อได้มาก็จะเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น ดาวน์โหลด บทความวิจัย

The Grandmaster ยอดปรมาจารย์ยิปมัน

โดย นางสาวกานต์ธิดา ตันติวงศ์วัฒน์ บทคัดย่อ สารนิพนธ์เรื่อง “ชีวิตของผู้หญิงจีนในวัฒนธรรมขงจื่อ ผ่านภาพยนตร์เรื่อง The Grandmaster ยอดปรมาจารย์ยิปมัน” ของ หว่อง กาไว มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของตัวละครหญิง 2 คนในภาพยนตร์เรื่อง The Grandmaster (ยอดปรมาจารย์ยิปมัน) ของหว่อง กาไว   2.) เพื่อศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมและจารีตแบบขงจื่อที่มีต่อวิถีชีวิตของสตรีจีน ตามที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวโดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ สารนิพนธ์ และแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือตามเว็บไซต์ต่างๆ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ภาพยนตร์เรื่อง The Grandmaster ยอดปรมาจารย์ยิปมัน ของหว่อง กาไว ถูกสร้างขึ้นมาจากเรื่องจริงของชีวิตยิปมัน ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์ชิง สาธารณรัฐจีน ภาพยนตร์เรื่องนี้กล่าวถึงชีวิตของชาวจีนในช่วงสงครามต่อต้านญี่ปุ่น โดยเฉพาะชีวิตครอบครัวของ  ยิปมัน ซึ่งสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้หญิงสองคน ภาพยนตร์สะท้อนให้เห็นการใช้ชีวิตของผู้หญิงสองคน หนึ่งคือภรรยาของยิปมัน อีกหนึ่งคือหญิงสาวจากตระกูลกงที่เข้ามาพัวพันกับชีวิตของยิปมันในช่วงเวลาหนึ่ง การศึกษาชีวิตของผู้หญิงสองคนซึ่งเป็นตัวละครหลักแสดงให้เห็นว่า ภายใต้จารีตประเพณีแบบขงจื่อ ผู้หญิงจีนเลือกดำเนินชีวิตของตนเองได้อย่างจำกัด คนหนึ่งเลือกปฏิบัติตามจารีตประเพณี จำนนต่อข้อกำหนดของสังคมอย่างไม่มีข้อแม้ เพื่อแลกกับชีวิตที่สงบสุขภายในครอบครัวที่อบอุ่น อีกคนหนึ่งเลือกที่จะฝ่าฝืนจารีตที่กำหนดไว้ตามลัทธิประเพณีขงจื่อ แต่สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเลือกทางไหน … Read more

เปรียบเทียบศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศเกาหลีและประเทศไทย

โดย นายกฤษดากร ด้วงเขียว บทคัดย่อ บทความวิจัยเรื่อง เปรียบเทียบความคิดความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ในประเทศเกาหลีและประเทศไทยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเป็นมาและความคิดความเชื่อของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศเกาหลีและประเทศไทยซึ่งผลการวิจัยพบว่า  ความเป็นมาของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ในเกาหลีและไทยมีความเหมือนและต่างกัน ในเรื่องของการเข้ามาของศาสนาคริสต์ในไทยและเกาหลี ซึ่งทั้งสองประเทศมีนิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาก่อนหลังจากนั้นก็เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ แต่จะต่างกันตรงที่เกาหลีรับความเชื่อมาจากจีนส่วนไทยรับความเชื่อมาจากโปตุเกสและฝรั่งเศส ในด้านของความเชื่อของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศเกาหลีและประเทศไทยมีลักษณะที่ต่างกันเพราะคริสเตียนเกาหลีส่วนมากเป็นกลุ่มเพรสไบทีเรียนแต่คริสเตียนไทยเป็นกลุ่มแบ๊บติสต์อีกทั้งยังมีความเชื่อที่ไม่ได้รับการยอมของประเทศไทยและประเทศเกาหลีเป็นเพียงกลุ่มความเชื่อเล็กๆที่เกิดจากการตั่งขึ้นมาเองของประเทศเกาหลีนั้นก็คือซึ่งมีความเชื่อว่าพระเจ้าจะกลับมาในเร็วๆนี้ส่วนกลุ่มของไทยเป็นการรับเอาความเชื่อเข้ามาจากต่างชาติทั้งสิ้นมีความเชื่อว่าพระเจ้ามีภาคเดียวไม่ได้เป็นตรีเอกนุภาพ ดาวน์โหลด บทความวิจัย

พุทธศาสนาในเกาหลี กรณีศึกษา “วัดพงอึนซา” วัดนิกายเซน

โดย นางสาวอุสรีย์ บัวแย้ม บทคัดย่อ บทความวิจัยพุทธศาสนาในเกาหลี กรณีศึกษา “วัดพงอึนซา” วัดนิกายเซน วัตถุประสงค์ในงานวิจัยเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของนิกายเซน ในประเทศเกาหลี วิเคราะห์กิจกรรมวิถีชีวิตการปฏิบัติแบบในนิกายเซน ในวัดพงอึนซา มีการศึกษาประวัติศาสตร์ของนิกายเซนในการเข้ามายังประเทศเกาหลีและปรัชญา คำสอนของนิกายเซนจากบทความ หนังสือ วารสาร ทั้งภาษาเกหลี ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย และการรวบรวมข้อมูลทางสื่อออนไลน์ โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของพีอาเจต์ และวิก็อทสกี้ และแนวคิดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) ในการคิดวิเคราะห์กิจกรรมวิถีชีวิตการปฏิบัติแบบในนิกายเซน ในวัดพงอึนซา ว่าตัวผู้ปฏิบัติจะได้รับอะไรบ้างจากการเข้าร่วมกิจกรรม ผลการศึกษาตามหลักทฤษฏีสรุปได้ว่า การปฏิบัติกิจกรรมวิถีชีวิตแบบในนิกายเซน ในวัดพงอึนซานั้น ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่เคยรู้แต่มิเคยได้ปฏิบัติ การได้สร้างสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ผลลัพธ์ของการปฏิบัติแบบหมู่คณะนั้น ได้ผลดีกว่าการปฏิบัติโดยลำพัง การจัดให้ผู้เข้าร่วมมีโอกาสที่จะแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบซึ่งก็คือพระภิกษุสงฆ์และภิกษุณี ผู้ซึ่งได้ปฏิบัติจริงมาสอน เพื่อจะได้ดูว่าผู้เข้าร่วมสามารถที่จะกระทำโดยการเลียนแบบหรือไม่ ถ้าผู้เข้าร่วมทำได้ไม่ถูกต้องอาจจะต้องแก้ไขวิธีการสอนหรืออาจจะแก้ไขที่ตัวผู้เข้าร่วมเอง กล่าวได้ว่าการปฏิบัติกิจกรรมวิถีชีวิตแบบวัดพงอึนซานั้น เป็นการเรียนรู้นอกคัมภีร์ เผยแพร่พุทธศาสนานิกายเซนได้ ในแง่ของความน่าสนใจนั้นคือการเข้าไปปฏิบัติอย่างภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีและการมีส่วนรวมกันขอตัวแทนศาสนาในการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน สามารถดึงดูดให้บุคคลทั่วไปมองเห็นและรู้จักนิกายเซนมากขึ้น ดาวน์โหลด บทความวิจัย

วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นมองผ่านการ์ตูน : เรื่อง ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน

โดย นางสาวอุษณิษา  สถิตย์สถาพร บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมในด้านต่างๆของคนญี่ปุ่นและเพื่อศึกษาถึงรูปแบบและลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านการนำเสนอในรูปแบบของการ์ตูนที่ถ่ายทอดผ่านทางการ์ตูนเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนันของอาโอยาม่า โกโช ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาหาข้อมูลจากในหนังสือ เอกสาร และการ์ตูนเรื่องยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน เพื่อนำมาใช้รวบรวมเป็นหลักฐาน แล้วนำมาวิเคราะห์พร้อมสรุป ผลการศึกษาพบว่าวัฒนธรรมของประเทศที่พบในการ์ตูนสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้แก่ประเทศญี่ปุ่น ที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆแต่ด้วยความเป็นประเทศญี่ปุ่น การใส่ใจในเรื่องเล็กๆน้อยๆนั้นคือจุดที่ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาในประเด็นนี้ ดาวน์โหลด บทความวิจัย

วัดญี่ปุ่นกับการท่องเที่ยว

โดย นายอโนทัย โลหะมาศ บทคัดย่อ วัดญี่ปุ่นหรือวัดพระพุทธศาสนานิกายเซน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมศาสนา ที่มีชื่อเสียงมากไม่แพ้สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในระยะเวลา3-4ปีมานี้บรรดานักท่องเที่ยวชาวไทยนั้นหันมาให้ความสนใจในการเดินทางไปเที่ยวชมวัดญี่ปุ่นและถ่ายทำรายการสารคดีที่มีให้เห็นในสื่อต่างๆมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปัจจัยสำคัญต่างๆที่ทำให้นักท่องเที่ยวไทยนิยมไปเที่ยวชมวัดพระพุทธศาสนานิกายเซนในประเทศญี่ปุ่นและกิจกรรมต่างๆที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมทำเมื่อไปเที่ยวชมวัดแต่ละวัด ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมไปเที่ยววัดเซนในญี่ปุ่น ได้แก่ (1)  ภายหลังการยกเลิกวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเข้าประเทศญี่ปุ่นนั้นทำให้การเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นสะดวก ทำให้นักท่องเที่ยวไทยเริ่มหันมาเที่ยวประเทศญี่ปุ่นกันมากขึ้น (2)  ประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่สำคัญของวัด ความวิจิตร งดงามที่เป็นอมตะของตัววัด บริเวณวัดและบรรยากาศภายในวัดที่ดูกลืนกับธรรมชาติ และกิจกรรมต่างๆทั้งกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมทั่วไปที่ส่วนใหญ่จะต่างจากวัดในประเทศไทย ทำให้มีนักท่องเที่ยวไทยให้ความสนใจเดินทางไปเพื่อสัมผัสสิ่งต่างๆเหล่านั้นที่วัดพระพุทธศาสนานิกายเซนของประเทศญี่ปุ่น ดาวน์โหลด บทความวิจัย

อิทธิพลแนวคิดตะวันออกที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส

โดย นายวณัฏฐ์ ประทุมรัตน์ บทคัดย่อ สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลแนวคิดตะวันออกที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาแนวคิดแบบเอเชียตะวันออกทั้งในด้านปรัชญา ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องจิตวิญญาณ ศาสนา และพฤติกรรมการใช้ชีวิตรวมถึงการศึกษาบทบาทและความสำคัญของแนวคิดแบบเอเชียตะวันออก ที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส ผลการศึกษาแนวคิดแบบเอเชียตะวันออกที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส พบว่าจอร์จ ลูคัส ผู้แต่งเรื่องสตาร์ วอร์สนั้น มีความชื่นชอบและความสนใจเป็นพิเศษในวัฒนธรรมตะวันออก และได้รับแรงบันดาลใจหลักๆในการสร้างภาพยนตร์ชุด สตาร์ วอร์ส มาจากงานภาพยนตร์ของอะกิระ คุโระซะวะ ลูคัสได้นำเอาเค้าโครงเรื่อง แก่นเรื่อง และลักษณะเด่นในด้านแนวคิด และวัฒนธรรมตะวันออกทั้งในด้านปรัชญา จิตวิญญาณ ศาสนา และพฤติกรรมการใช้ชีวิต มาดัดแปลงและตีความเสียใหม่ให้เข้ากับวัตถุประสงค์ที่ตนต้องการ โดยไม่ได้มีการอ้างอิงโดยตรง มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบดั้งเดิม และนำวัฒนธรรมตะวันออกมาผสมผสานกับวัฒนธรรมตะวันตกเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย และตอบสนองผู้ชมโดยการนำเสนอแนวคิดและลักษณะเด่นทางด้านแนวคิดแบบเอเชียตะวันออกในหลายๆ รูปแบบ ลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดในการนำเสนอแนวคิดของลูคัสนั้นก็คือ อัศวินเจได ซึ่งอัศวินเจไดนั้น จะมีลักษณะภายนอกเหมือนกับนักพรตของลัทธิเต๋า ยึดมั่นในพลัง (Force) มีหน้าที่ในการปกป้อง รักษาสันติภาพและความยุติธรรมเพื่อความสงบเรียบร้อยในสาธารณรัฐกาแลคติค รวมทั้งต่อต้านกับซิธ ศัตรูที่ร้ายกาจ ผู้ที่เรียนรู้และใช้พลังด้านมืด อัศวินเจไดมีนิสัยรักสันโดษ มีคุณธรรม มีการฝึกฝนการใช้พลัง ซึ่งพลังในภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์สนั้น เปรียบเสมือนกับปราณ ซี่ … Read more

ค่านิยมและรูปแบบชีวิตทางสังคมของคนญี่ปุ่น จากการ์ตูนเรื่อง การ์ดแค็ปเตอร์ ซากุระ

โดย นางสาวภุมริน ปทุมพรรุจี บทคัดย่อ บทความวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรม และรูปแบบชีวิตทางสังคมของคนญี่ปุ่น ทั้งยังเพื่อศึกษาค่านิยมและทัศนะของคนญี่ปุ่นที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่น ตลอดจนเกิดเป็นวัฒนธรรมย่อยทั่วโลก โดยศึกษาจากการ์ตูนเรื่อง การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ และเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ จากการศึกษาพบว่า ความคิดความเชื่อและลักษณะการดำเนินชีวิตของคนญี่ปุ่น มีทั้งที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน และทั้งสืบทอดมาจากสังคมญี่ปุ่นดั้งเดิม ซึ่งเมื่อเวลาผันผ่านไปก็ผสมผสานเข้ารวมกันจนเกิดเป็นค่านิยมและวัฒนธรรมเฉกเช่นสังคมญี่ปุ่นในปัจจุบัน โดยที่แนวความคิดที่ก่อเกิดเป็นความเชื่อของคนญี่ปุ่นทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่แล้วรับเอามาจากประเทศจีนเป็นหลัก ตัวอย่างความเชื่อ เช่น แนวคิดธาตุทั้งห้า และหยิน-หยาง ที่ปรากฏในการ์ตูนเรื่องการ์ดแค็ปเตอร์ซากุระนั้น เป็นแนวคิดที่มีพื้นฐานความคิดมาจากโหราศาสตร์และลัทธิเต๋าของจีน ที่ถึงแม้ว่าในเวลาต่อมาลัทธิองเมียวจะมีบทบาทในสังคมญี่ปุ่นน้อยลงและกลมกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาชินโต แต่หลายพิธีกรรมสำคัญก็ยังคงจำเป็นต้องพึ่งพานักพรตขององเมียวเป็นหลักนั่นเอง นอกจากนี้แล้ว ลักษณะการดำเนินชีวิตประจำวันและวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่องนั้น ยังแสดงให้เห็นวิถีคิดซึ่งบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ที่ไม่เหมือนชาติใดของประเทศญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี เช่น งานแข่งขันกีฬาที่แฝงแนวคิดรู้จักแพ้เพื่อพัฒนาตนเอง อันเป็นแนวคิดที่เป็นเอกลักษณ์ของคนญี่ปุ่นอีกด้วย ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ยากูซ่า วายร้าย กฎหมายและคุณธรรม

โดย นางสาวกัลป์ปภัส ป้องกันวีระสิน บทคัดย่อ สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสังคมญี่ปุ่น โดยศึกษาเฉพาะด้านมืดของสังคมญี่ปุ่น มียากูซ่าเป็นกรณีศึกษา เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่ทำให้ยากูซ่าสามารถดำรงอยู่ในสังคมญี่ปุ่นได้จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี แต่ยังคงมีองค์กรอาชญากรรมดำรงอยู่ในจนถึงปัจจุบัน ขอบเขตการศึกษา เน้นศึกษาเฉพาะความเป็นมาและบทบาทหน้าที่อันเป็นปัจจัยที่ทำให้ยากูซ่าสามารถดำรงอยู่ในสังคมญี่ปุ่นได้จนถึงปัจจุบัน โดยสามารถย้อนหลังไปถึงเกือบ 400 ปี ที่สภาพบ้านเมืองทำให้เกิดกลุ่มผู้มีอิทธิพลต่อสังคม ทั้งในด้านบวกและด้านลบ รวมถึงความสัมพันธ์กับอำนาจรัฐ ที่สร้างผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ประเพณีที่ปฎิบัติกันภายในองค์กรอย่างเคร่งครัดอันเป็นคุณธรรมที่ทำให้องค์กรมีความแข็งแกร่งจนไม่สามารถกำจัดได้หมด ซึ่งในแต่ละยุคจะมีการปรับเปลี่ยนบทบาทและโครงสร้างขององค์กรที่ขยายใหญ่ขึ้นเพื่อให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในแต่ละยุค จากการศึกษาเรื่องนี้ ทำให้ผู้ศึกษาวิจัย มีความรู้ ความเข้าใจ ปัจจัยที่ทำให้ยากูซ่าดำรงอยู่ในสังคมญี่ปุ่นได้จนถึงปัจจุบัน รวมถึงผลกระทบที่มาจากสภาพสังคมที่ทำให้เกิดกลุ่มคนที่มีบทบาทคล้ายคลึงกับองค์กรอาชญากรรมยากูซ่าที่เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของยากูซ่าหรือยากูซ่าในยุคแรกๆ ดาวน์โหลด บทความวิจัย

วิถีชีวิตพระเซ็นในประเทศญี่ปุ่น

โดย นายปาณัสม์ ผิวอ่อน บทคัดย่อ บทความวิจัย “วิถีชีวิตพระเซ็นในประเทศญี่ปุ่น” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมาของพุทธศาสนานิกายเซ็น การดำรงชีวิตประจำวัน  และวิถีฝึกปฏิบัติตามวิถีของเซ็น จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า การดำรงชีวิตของพระเซ็นในญี่ปุ่นนั้นมีความหลากหลายแตกต่างกันออกไป อยู่ที่ความต้องส่วนตัวของแต่ละคน และ พระเซ็นนั้นสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนธรรมดาทั่วไปเนื่องด้วยว่าเซ็นก็คือการใช้ชีวิตธรรมดาในแต่ละวันนั้นเองเพราะหัวใจสำคัญของการฝึกและปฏิบัติธรรมแบบเซ็นคือ  มีสติอยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ข้างหน้าเสมอ กินก็คือกิน เดินก็คือเดิน ทำงานก็คือทำงาน เพราะนั่นคือเซ็น เซ็นคือความเรียบง่ายที่อยู่รอบกายเราแต่ ในความเรียบง่ายนั้นก็ทำให้สับสนว่าอะไรเซ็นกันแน่ จนทำให้ทุกคนมองข้ามเซ็นไป ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ศึกษาอัตลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นผ่านธงอาทิตย์อุทัย

โดย นางสาวธีรารัตน์ สงวนผิว บทคัดย่อ บทความวิจัยเรื่อง ศึกษาอัตลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นผ่านธงอาทิตย์อุทัย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นผ่านธงอาทิตย์อุทัย อีกทั้งเพื่อศึกษาความหมายที่เปลี่ยนไปของธงอาทิตย์อุทัย โดยศึกษาจากเอกสาร บทความทางวิชาการ สิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธงอาทิตย์อุทัย จากการศึกษาพบว่าอัตลักษณ์คุณลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของลักษณะเฉพาะของบุคคล สังคม ชุมชน หรือประเทศนั้นๆ  อัตลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นจากธงอาทิตย์อุทัยคือประเทศญี่ปุ่นมีความเป็นชาตินิยมสูง รักในประเทศชาติของตน ทำให้ประเทศของตนมีความเป็นใหญ่และสร้างความมีอำนาจ และจากความเป็นชาตินิยมนั้นได้ส่งผลให้ประเทศอื่นๆ เกิดความสะเทือนใจ เพราะได้ทำการรุกรานและสร้างความโหดร้ายแก่ประเทศอื่นๆ ในช่วงสงคราม ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ปรัชญาความรักผ่านการ์ตูนบอยส์เลิฟเรื่อง บ่วงใจ Sakura Gari

โดย นางสาวธนพร คำเพิ่มพูล บทคัดย่อ บทความเรื่องบ่วงใจ Sakura Gariมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดปรัชญาความรักผ่านการ์ตูนบอยส์เลิฟเรื่องSakura Gari และเพื่อวิเคราะห์ความคิดที่อยู่เบื้องหลังการกระทำของตัวละครSakura Gari ที่ปรากฏในการ์ตูนบอยส์เลิฟเรื่อง บ่วงใจ ของอาจารย์วาตาเซะ ยู ผลการศึกษาพบว่า ปรัชญาความรักที่ปรากฏในเรื่องนี้ได้แก่ Platonic love เป็นความรักระหว่างเพศเดียวกันในแบบฉบับของเพลโตที่ให้ความสัมพันธ์ด้านปัญญา เป็นการช่วยสร้างความงามหรือความดีให้เกิดขึ้นในจิตใจของคนผู้นั้น ดังที่ปรากฏในตัวละครเอก ทางามิ มาซาทากะ ด้วยเหตุการณ์บางอย่างทำให้เข้าไปพัวพันธ์กับมาควิสหนุ่มไซคิ โซมะบุคคลที่มีเรื่องราวลึกลับรอบตัว มาซาทากะต้องเผชิญกับความวุ่นวายและปมลึกลับต่างๆแต่ทั้งที่ตัวเองมีโอกาสหนีกลับมาช่วยไซคิโซมะให้หลุดพ้นจากความทุกข์ในใจและความดำมืดภายที่อยู่รอบกาย โดยผู้เขียนต้องการนำเสนอว่า ความรักสามารถเปลี่ยนคนให้กลายเป็นเช่นไรก็ได้ กลายเป็นคนที่ดีขึ้นหรือลุ่มหลงจนไม่คิดถึงตัวเอง ทำให้เกิดความเดือดร้อนก็ย่อมได้เช่นกัน ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ศึกษาแนวคิดลัทธิบูชิโดโดยเปรียบเทียบจากมังงะ เรื่อง เซนต์เซย์ย่ากับชูราโตะศึกเทพสวรรค์

โดย นายจิรทีปต์ คุปตะศิริ บทคัดย่อ เซนต์เซย์ย่าและชูราโตะถือเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคสมัย ค.ศ. 1986-1989 และยังเป็นการ์ตูนที่ยังกล่าวถึงกันมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งสองเรื่องนี้มีเอกลักษณ์อยู่ที่ชุดเกราะที่นักรบแต่ละคนใช้ต่อสู้ และการดำเนินเรื่อง ซึ่งนำเอาเทพนิยายปกรณัมกรีกและเรื่องเล่าตำนานของเทพเจ้าของศาสนาฮินดูมาใช้ดำเนินเรื่อง และแฝงลัทธิบูชิโดซึ่งเป็นลัทธิของนักรบไว้ในเรื่อง จากการศึกษาพบว่าลัทธิบูชิโดนั้นอยู่คู่กับคนญี่ปุ่นมาตั้งแต่อดีตแล้ว อีกทั้งหลักคำสอนของลัทธิบูชิโดมีความเคร่งครัดอย่างมาก ทว่าเพื่อที่จะปลูกฝังลัทธิบูชิโดให้แก่เยาวชนเข้าใจได้ง่ายขึ้น จึงผสมผสานและดัดแปลงวิธีการและหลักคำสอนของลัทธิดังกล่าวแฝงอยู่ในการ์ตูน แม้ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีสงครามเกิดขึ้นแต่ลัทธิบูชิโดก็ยังมีอิทธิพลแก่คนญี่ปุ่นอยู่ ดาวน์โหลด บทความวิจัย

การวิเคราะห์แนวคิดอภิปรัชญาในการ์ตูนญี่ปุ่น เรื่อง แขนกลคนแปรธาตุ

โดย นางสาวกัญญรัตน์  ทรงวรวิทย์ บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทางแนวคิดอภิปรัชญา และ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงเนื้อหาที่สะท้อนถึงแนวคิดอภิปรัชญาและความเป็นสัจจะต่างๆของโลก โดยใช้การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง แขนกลคนแปรธาตุ เป็นกรณีศึกษา โดยศึกษาค้นคว้าจากอภิปรัชญาและหลักทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ โดยผลการศึกษาพบว่า การ์ตูนเรื่อง แขนกลคนแปรธาตุ มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับแนวคิดอภิปรัชญาคือ มุ่งหาคำตอบของคำถามที่ว่าความแท้จริงคืออะไร อะไรคือแก่นแท้ อะไรคือสัจจะของโลก ซึ่งในการ์ตูนเรื่อง แขนกลคนแปรธาตุนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงคำตอบจากการดำเนินเรื่องโดยผ่านตัวละครเอก ที่ได้เข้าใจถึงความเป็นแก่นแท้ และยอมรับความเป็นไปตามกฎกติกาของโลก จึงกล่าวได้ว่าแก่นแท้นั้นก็คือ กฎของโลก หรือ กฎแห่งธรรมชาตินั่นเอง ซึ่งตัวเราก็เป็นหนึ่งในธรรมชาติ  ดังนั้นเราทุกคนจึงมีแก่นแท้ในตัวเอง และได้เข้าใจว่ามนุษย์เราไม่สามารถฝืนความเป็นไปของจักวาลได้ มนุษย์ที่ตายไปแล้ว ไม่อาจสร้างขึ้นมาได้อีก โลกใบนี้ไหลเวียนไปตามกระแสอันยิ่งใหญ่ การเกิดและการตายของคนก็อยู่ในกระแสนั่นด้วยเช่นกัน ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจและวิญญาณของญี่ปุ่น

โดย นางสาวปิยาภา มาเสถียร บทคัดย่อ บทความวิจัย “ความเชื่อเรื่องภูตผีและวิญญาณของญี่ปุ่น”  มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาคติความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจและวิญญาณของชาวญี่ปุ่น   (2) เพื่อศึกษารากฐานของความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจและวิญญาณของคนญี่ปุ่น  (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจและวิญญาณที่มีต่อชาวญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า  ความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจและวิญญาณของชาวญี่ปุ่นนั้น มีตำนานและเรื่องเล่ามากมาย สามารถแบ่งประเภทได้เป็น 3 ประเภท คือ (1)โอบาเกะ ก็คือ “ผี” (2)โยไคภูติ ผี ปิศาจ บรรดาสัตว์ประหลาดและอสูรกายที่มีมาแต่โบราณ (3) ยูเร คือวิญญาณคนที่ตายไปโดยที่ยังไม่ทันได้ดับจิตหรือเรียกกันว่า “ผีตายโหง” ความเชื่อเหล่านี้รากฐานมากจากศาสนาชินโต ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างลัทธิเต๋าของจีนกันศาสนาดั้งเดิมของญี่ปุ่น อิทธิพลของความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจและวิญญาณของญี่ปุ่นมีทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน ในอดีต คือ (1) ความเชื่อเรื่องโชคลางของญี่ปุ่น เป็นกุศโลบายที่ใช้ความเชื่อมาทำให้คนปฏิบัติตาม โดยใช้ความกลัวของมนุษย์ในความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจและวิญญาณเป็นตัวช่วย (2) องเมียวจิ เป็นผู้ใช้วิชาเวทย์มนต์โบราณของญี่ปุ่น ในปัจจุบัน คือ (1) เทศกาลโอบง ในเทศกาลนี้คนญี่ปุ่นจะกลับมายังบ้านเกิดของตนเองเพื่อมากราบไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว (2) การเล่นทดสอบความกล้า ซึ่งเป็นกิจกรรมของคนญี่ปุ่น ที่รวบรวมคน แล้วพาไปทดสอบความกล้าในสถานที่ๆ น่ากลัว … Read more

ศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการและเปรียบเทียบความคิดความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าแห่งโชคลาภของจีนและญี่ปุ่น

โดย นางสาวบุณยานุช ศรีสำราญ บทคัดย่อ บทความวิจัยเรื่อง ศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการและเปรียบเทียบความคิดความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าแห่งโชคลาภของจีนและญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการของเทพเจ้าแห่งโชคลาภจากต้นกำเนิดสู่จีนและญี่ปุ่น พร้อมทั้งเปรียบเทียบความคิดความเชื่อของคนจีนและญี่ปุ่นที่มีต่อเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าเทพเจ้าแห่งโชคลาภมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียนั่นก็คือท้าวกุเวร จากนั้นจึงได้แพร่ขยายเข้าสู่ประเทศจีนและญี่ปุ่นผ่านทางศาสนาพุทธนิกายมหายาน ในฐานะของท้าวจตุโลกบาลและเทพแห่งความร่ำรวย ต่อมาในจีนได้พัฒนาเทพเจ้าแห่งโชคลาภผสมกับความคิดความเชื่อพื้นเมือง มีนามว่าไฉ่ซิงเอี๊ย รูปลักษณ์เป็นขุนนาง เพราะชาวจีนเชื่อว่าขุนนางเป็นชนชั้นที่มีเกียรติ เทพสามารถถูกลดหรือเพิ่มตำแหน่งความสำคัญได้เหมือนกับตำแหน่งของขุนนาง ส่วนในประเทศญี่ปุ่นเทพเจ้าแห่งโชคลาภมีนามว่าบิชามอนเทน เป็นหนึ่งในเทพแห่งความสุขทั้งเจ็ดของญี่ปุ่น ปรากฏรูปลักษณ์ในภาพการ์ตูนเพื่อทำให้เทพเจ้ามีความน่ารักและเข้าถึงง่าย ในเชิงพิธีกรรมชาวจีนและชาวญี่ปุ่นมีการบูชาเทพเจ้าแห่งโชคลาภในวันปีใหม่ เนื่องจากจีนยกให้เทพเจ้าแห่งโชคลาภเป็นสัญลักษณ์ของความมงคลและจะนิยมบูชากระดาษเงินกระทองเพื่อแสดงถึงการมีเงินทองมากมาย ส่วนในญี่ปุ่นจะมีการถวายโอเซจิเป็นอาหารมงคลให้กับเทพเจ้าหลังจากนั้นจึงนำมารับประทานโดยใช้ตะเกียบที่มีสองด้าน หมายถึงการทานอาหารร่วมกันกับเทพเจ้าแสดงถึงเทพเจ้ามีฐานะเท่ากันกับคน ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ความกตัญญูในฐานะจริยศาสตร์ต่างตอบแทนในปรัชญาขงจื่อ

โดย นางสาวนฤภร โรจน์เด่นดวง บทคัดย่อ บทความวิจัย “ความกตัญญูในฐานะจริยศาสตร์ต่างตอบแทนในปรัชญาขงจื่อ” มีวัตถุประสงศ์เพื่อ (1)ศึกษาแนวคิดเรื่อง การต่างตอบแทน 4 แบบในจริยศาสตร์ขงจื่อ (2)ศึกษาคุณธรรม “ความกตัญญู” ในจริยศาสตร์ของขงจื่อ (3)ศึกษาความเป็นธรรมที่ปรากฏในคำสอนเรื่อง “ความกตัญญู” ของขงจื่อ ผลการศึกษาพบว่า การต่างตอบแทนในจริยศาสตร์ขงจื่อมี 4 ความสัมพันธ์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างบิดา-มารดา-บุตร  ความสัมพันธ์ระหว่างมิตรสหาย ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าผู้ปกครอง-ขุนนาง-ประชาชน และความสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า/คนต่างวัฒนธรรม ในการวิจัยนี้เราให้ความสนใจในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบิดา-มารดา-บุตร ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกตัญญูเป็นหลัก และทำให้ทราบว่า “ความกตัญญู” ตามคำสอนของขงจื่อเป็นการต่างตอบแทน ถือเป็นคุณธรรมที่สอดคล้องในคุณธรรมเรื่อง “ความตรง” (จื่อ) กล่าวคือ “ความกตัญญู” เป็นคุณธรรมที่บุตรควรพึงมีต่อบิดามารดา โดยการให้ความเคารพและให้ความสำคัญ อีกทั้งยังให้แนวคิดในเรื่องที่บิดามารดาได้ล่วงละเมิดความถูกต้องแล้วนั้น บุตรมีหน้าที่อย่างไรต่อบิดามารดา บุตรก็ยังคงแสดงความกตัญญูต่อบิดามารดาโดยใช้คุณธรรม “ความตรง” (จื่อ) ที่ขงจื่อได้กล่าวไว้ บุตรควรตอบแทนโดยการซ่อนความผิดของบิดามารดา “ความตรง” (จื่อ) เป็นวิธีแก้ไขที่เหมาะสมในแนวคิดเรื่อง “ความตรง”(จื่อ) ที่ขงจื่อได้กล่าวไว้ และเป็นวิธีที่เหมาะสมมากกว่าการที่บุตรเห็นบิดามารดาตนล่วงละเมิดความผิดแล้วนำความผิดของบิดามารดาตนไปบอกแก่รัฐให้ลงโทษ ความตรงในฐานะส่วนหนึ่งของความเป็นธรรมต้องพิจารณารวมถึงวิธีที่ถูกต้องเหมาะสมที่จะ “ตอบแทน” การล่วงละเมิดคนอื่นด้วย ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ท่าทีที่มีต่อส่งมึนเมาของชาวพุทธในจีนและทิเบต

โดย นายธีรภัทร  กระจ่างวุฒิชัย บทคัดย่อ บทความวิจัยเรื่อง ท่าทีที่มีต่อส่งมึนเมาของชาวพุทธในจีนและทิเบตวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาท่าทีของพุทธศาสนาทั้งจีนและทิเบตที่มีต่อสิ่งมึนเมา(เหล้า)และความคิดความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังท่าทีเหล่านั้นซึ่งผลการวิจัยพบว่าท่าทีของพุทธศาสนาทั้งจีนและทิเบตที่มีต่อสิ่งมึนเมานั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ท่าทีคือยอมรับและไม่ยอมรับ โดยในท่าทียอมรับมีความเชื่อทางศาสนาในเรื่องของหลักคำสอนที่เน้นในเรื่องของการกำหนดจิตเป็นสำคัญ ความเชื่อเรื่องประเพณีและวัฒนธรรมที่มีธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับเหล้ามาก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้ามายังจีนและทิเบต และเหล้าก็เป็นสิ่งมงคลที่จะขาดไม่ได้ในงานเฉลิมฉลอง ความคิดเกี่ยวกับสุขภาพในเรื่องสรรพคุณทางยาที่ช่วยบำรุงรักษาร่างกายอยู่เบื้องหลัง ในท่าทีไม่ยอมรับนั้นมีความเชื่อทางศาสนาในเรื่องหลักธรรมศีลห้าที่ให้ละเว้นในการยุ่งเกี่ยวกับสิ่งมึนเมา ความคิดเกี่ยวกับสุขภาพในเรื่องของการดื่มเหล้าที่มากเกินความพอดีนั้นเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆมากมายจนสามารถนำไปสู้การเสียชีวิตได้ในที่สุดอยู่เบื้องหลัง ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ชัมบาลา อาณาจักรความเชื่อของชาวทิเบต

โดย นางสาวธัญรดา ชุนถนอม บทคัดย่อ บทความวิจัยเรื่อง ชัมบาลา อาณาจักรความเชื่อของชาวทิเบต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำนานความเชื่อเรื่องอาณาจักรชัมบาลาของชาวทิเบต และการศึกษาการตีความหลักชัมบาลาไปสู่การประยุกต์ใช้ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับชัมบาลาในทิเบตสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือตำนานและความเชื่อที่มีอยู่ก่อนพุทธศาสนา แต่เดิมทิเบตเป็นดินแดนที่นับถือศาสนาเพิน ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเข้ามาชัมบาลาอาจเป็นเหมือนอาณาจักรโบราณที่บันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์เหมือนกับอาณาจักรชางชุง ซึ่งเป็นชนเผ่าที่มีอำนาจ และเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาเพิน เป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของทิเบต ส่วนตำนานและความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา เชื่อว่าชัมบาลาเป็นอาณาจักรที่ผู้ที่หมั่นศึกษาและปฏิบัติธรรม และศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงจะสามารถเข้าไปในอาณาจักรนี้ได้ นอกจากนี้ความเชื่อเกี่ยวกับชัมบาลาสามารถนำมาตีความได้ 4 แบบ คือ เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช เป็นการตีความชัมบาลาในลักษณะของหลักปฏิบัติ การตีความแบบนิโคลาส โลเอริก เป็นการตีความในเชิงโบราณคดี การตีความในรูปแบบของมนุษย์ต่างดาว เชื่อว่าเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าเทคโนโลยี และการตีความในรูปแบบของนวนิยาย ที่อิงจากตำนานที่มีอยู่ในทิเบตเพื่อความสนุกสนาน นอกจากนี้ยังมีการตีความในลักษณะของการปฏิบัติ ใน 2 รูปแบบที่สามารถปฏิบัติโดยไม่ต้องผ่านศาสนาและผ่านพุทธศาสนา และสุดท้ายการตีความในเชิงการเมือง หลักปฏิบัติในการปกครอง ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบันได้ เพื่อสร้างสังคมที่ดี ดาวน์โหลด บทความวิจัย