สถานภาพและบทบาทของซามูไรในสมัยเอโดะในภาพยนตร์ญี่ปุ่น เรื่อง  ( RurouniKenshin) ซามูไรพเนจร

โดยนางสาววาสินี  อุไรกลาง บทคัดย่อ บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงบทบาททางสังคมซามูไรจากและวิเคราะห์สาเหตุและปัญหาที่ทำให้บทบาทของซามูไรลดลงจนสูญสิ้นไปในสังคมญี่ปุ่นโดยผ่านเรื่องราวในภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่อง ( RurouniKenshin) ซามูไรพเนจร ผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงบทบาททางสังคมซามูไรรวมทั้งสาเหตุและปัญหาที่ทำให้บทบาทของซามูไรถูกลดลง พบกว่าการเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ปัจจัยมีความส่งผลที่เกี่ยวเนื่องจากการพัฒนาความก้าวหน้าของประเทศและการยึดหลักเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันสมัยตามประเทศทางชาติตะวันตกทำให้นักรบที่เป็นผู้ปกป้องและดูแลประเทศกลายเป็นเพียงนักรบที่ไร้ฝีมือที่ถูกลดบทบาทรวมไปถึงอาชีพและหน้าที่การงาน แต่ทว่าพวกเขาบางส่วนถ้าสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงได้ ก็สามารถรับใช้ประเทศและดูแลปกป้องประเทศในหน้าที่ทหารของชาติได้เช่นกัน ดาวน์โหลด บทความวิจัย

บทบาทของผู้หญิงญี่ปุ่นที่สะท้อนผ่านละครโทรทัศน์เรื่อง  Last Cinderella

โดยนางสาวกัญญานาท อิทธิสาร บทคัดย่อ บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้หญิงญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันว่าเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างไรบ้าง และมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้บทบาทของผู้หญิงเปลี่ยนแปลงไปโดยผ่านละครโทรทัศน์เรื่อง  Last Cinderella และวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวละคร ผลการศึกษาพบว่าบทบาทของผู้หญิงญี่ปุ่นในปัจจุบันที่แสดงออกมาผ่านตัวละคร สามารถจัดเป็นสองกลุ่ม คือ บทบาทการทำงาน และบทบาทครอบครัว ซึ่งจะเห็นได้ว่าบทบาทของผู้หญิงในปัจจุบันที่ตัวละครแสดงออกมานั้น แตกต่างจากบทบาทของผู้หญิงญี่ปุ่นแบบเก่าโดยสิ้นเชิง โดยตัวละครเอกที่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทผู้หญิงในปัจจุบัน และตัวละครสมทบที่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของผู้หญิงสมัยเก่า ที่มีความขัดแย้งในการดำเนินชีวิตกันอย่างชัดเจน ได้แสดออกมาทางคำพูด การนึกคิดของตัวละครนั้นๆ จึงสรุปได้ว่า บทบาทของผู้หญิงในสังคมปัจจุบันมีความแตกต่างกับผู้หญิงในอดีต ในเรื่องของการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นบทบาทภายในครอบครัวหรือการทำงาน ที่มีปัจจัยมาจากโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ดาวน์โหลด บทความวิจัย

สถานภาพผู้หญิงในสังคมประเพณีผ่านภาพยนตร์ เรื่อง ผู้หญิงคนที่สี่ชิงโคมแดง

โดยนางสาวอลิสา สุวรรณนที บทคัดย่อ บทความวิจัยเรื่อง สถานภาพผู้หญิงในสังคมประเพณีผ่านภาพยนตร์เรื่องผู้หญิงคนที่สี่ชิงโคมแดง (Raise the Red Lantern)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถานภาพของผู้หญิงในยุคสังคมประเพณีของจีน ซึ่งในภาพยนตร์แสดงให้เห็นถึงทัศนะทางเพศ แสดงถึงความไม่เท่าเทียมระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย จากการศึกษาพบว่าสังคมแบบจารีตของจีนนั้นให้ความสำคัญกับผู้ชายเป็นอย่างมาก ซึ่งได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ในภาพยนตร์แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้ของผู้หญิงและความพยายามแสวงหาอำนาจที่ตนจะพึงกระทำได้ เช่น ความพยายามกำจัดหรือกลั่นแกล้งผู้หญิงด้วยกัน หรือ การมีบุตรชายเพื่อให้ตนเป็นที่รักของเพศชาย ภาพยนตร์แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้เพื่ออำนาจ และขณะเดียวกันอำนาจที่ครอบงำความเป็นหญิงคือจารีตที่ให้ความสำคัญกับเพศชาย เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นและไร้ตัวตนและยังคงเป็นอำนาจที่กดขี่ต่อเพศหญิงต่อไป ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ลวดลายของสัตว์ที่ปรากฏบนลายเครื่องถ้วยจีนในสมัยราชวงศ์หมิง

โดยนางสาวสิดาพร ทาเวียง บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการนำเสนอรูปแบบความเชื่อของคนจีนผ่านทางผลงานศิลปะเป็นลวดลายที่ปรากฏบนเครื่องถ้วยจีนและเลือกศึกษาเฉพาะยุคราชวงศ์หมิง เนื่องจากเป็นยุคที่เครื่องถ้วยมีการพัฒนาจนถึงจุดสูงสุดยุคหนึ่ง ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ที่คนจีนให้ความสำคัญที่สะท้อนผ่านลวดลายบนเครื่องถ้วยจีนและศึกษารูปแบบลวดลายที่ปรากฏบนเครื่องถ้วยจีนในราชวงศ์หมิง โดยศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์ศิลปะ ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องถ้วยจีน และข้อมูลเกี่ยวกับลัทธิศาสนาความเชื่อต่างๆ ของคนจีนที่อยู่ในยุคราชวงศ์หมิง ผลการศึกษาพบว่าคนจีนนำแนวคิดปรัชญา ศาสนา และตำนานความเชื่อต่างๆ ซึ่งมีทั้งความเชื่อทางพุทธศาสนา ลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า ตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา นำเสนอผ่านสัญลักษณ์รูปสัตว์ต่างๆ ที่คนจีนเชื่อและเคารพนับถือ เช่น มังกร นกฟินิกซ์ ปลา สิงโต เป็นต้น นอกจากจะเป็นการนำความเชื่อมาปรับใช้กับงานศิลปะแล้ว ยังส่งผลให้เครื่องถ้วยของจีนมีเอกลักษณ์โดดเด่นและมีอิทธิพลต่อศิลปะของประเทศอื่นทั่วโลกอีกด้วย ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ลวดลายประดับแบบจีนในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

โดยนางสาวศุภรดา ขาวเงิน บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลวดลายประดับอิทธิพลศิลปะจีนในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามและเพื่อศึกษาความหมายของลวดลายประดับอิทธิพลศิลปะจีนในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  เป็นข้อมูลทุติยภูมิโดยจะเก็บรวบรวมจากหนังสือ  เอกสารงานวิจัย นอกนั้นยังมีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวข้อง  ข้อมูลที่นำมาศึกษาเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ลักษณะลวดลายอิทธิพลจีนและความหมายที่พบภายในสถานที่  โดยนำเสนอในรูปแบบของการบรรยาย  อภิปราย  และรูปภาพ  เป็นต้น จากการศึกษาลวดลายประดับอิทธิพลจีนในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  พบว่า  ลวดลายประดับอิทธิพลจีนภายในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามมีอยู่ในวัสดุประเภทกระเบื้องเป็นส่วนมากและจะใช้ประดับตามสถาปัตยกรรม อาทิ บนผนังประสาทพระเทพบิดร  เป็นต้น  ส่วนของการให้ความหมายของช่างนั้น  ความหมายที่พบส่วนใหญ่จะให้ความหมายที่เป็นคำมงคล คำอวยพร  เช่น  การเขียนลายที่มีดอกโบตั๋นประกอบหมายถึง ความร่ำรวยและมีฐานะสูง  การเขียนลายดอกเบญจมาศประกอบหมายถึง การมีอายุยืน  เป็นต้น  ซึ่งลวดลายนั้นนอกจากจะมีความประณีตแล้วยังแฝงถึงประวัติศาสตร์ ความรุ่งเรืองของชาติไทยที่เจริญทางการทูตและการค้ากับประเทศจีน ยังได้รับอิทธิพลความเชื่อของคนจีนผ่านความหมายของลวดลายบนกระเบื้อง พร้อมกับสร้างคุณค่าของศิลปะไทยผสมผสานศิลปะจีนตราบจนปัจจุบัน ดาวน์โหลด บทความวิจัย

โลกทัศน์และมุมมองสังคมจีนในยุคปัจจุบัน : ศึกษาผ่านภาพยนตร์เรื่อง Tiny Times

โดยนางสาว วาสิตาพิชิตวัฒนา บทคัดย่อ บทความวิจัยเรื่อง โลกทัศน์และมุมมองสังคมจีนในยุคปัจจุบัน : ศึกษาผ่านภาพยนตร์เรื่อง Tiny Times ภาพยนตร์สะท้อนกระแสวัตถุนิยมในสังคมจีนปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นเรื่องวัตถุนิยมและการเปลี่ยนแปลงสถานะภาพทางสังคมจีน วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ จากการศึกษาพบว่า ในสังคมจีนที่ปรากฏในภาพยนตร์ได้พูดถึงเรื่องค่านิยมทางวัตถุอยู่เสมอ ภาพยนตร์เรื่อง Tiny Times แสดงให้เห็นถึงค่านิยมทางวัตถุที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนจีนในปัจจุบัน เศรษฐกิจที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้สังคมจีนเกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ คุณค่าทางวัตถุนิยมเข้ามามีคุณค่ามากกว่าอุดมการณ์ ความต้องการทางวัตถุทำให้คนในสังคมเกิดการแข่งขันทางด้านการทำงาน คนในสังคมต้องการที่จะประสบความสำเร็จในด้านการงานเพื่อที่จะนำเงินไปซื้อความสุขส่วนตนนั้นคือการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาแพงเพื่อบ่งบอกรสนิยมและฐานะทางสังคมของตนเองให้สังคมรู้และเกิดการยอมรับ ดาวน์โหลด บทความวิจัย

โลกทัศน์และแนวคิดที่มีต่อชีวิตและสังคมญี่ปุ่น ในภาพยนตร์ เรื่อง คิคูจิโร่ยากูซ่า หน้าตาย ของทาเคชิ คิตาโน

โดยนางสาวพนารินทร์ ศรีสุวรรณ บทคัดย่อ บทความวิจัยเรื่องแนวคิดเชิงปรัชญาและมุมมองต่อชีวิตของญี่ปุ่นในภาพยนตร์เรื่อง คิคูจิโร่ยากูซ่า หน้าตายโดยทาเคชิ คิตาโน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมุมมองและค่านิยม ตลอดจนโลกทัศน์ในเชิงปรัชญาและสุนทรียศาสตร์ที่ปรากฏในภาพยนตร์ จากการศึกษาพบว่า ภาพยนตร์ถูกแสดงออกด้วยรูปแบบที่เรียบง่ายหากแต่แฝงด้วยสาระที่สะท้อนถึงค่านิยมและโลกทัศน์ของคนญี่ปุ่นในหลายประเด็นเป็นแนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาเซนและสุนทรียศาสตร์แบบวะบิซะบิที่ว่าด้วย วิถีทาง เป้าหมาย และความสำเร็จ คุณค่าของชีวิตและมุมมองที่มีต่อชีวิตและความสุข ทัศนะที่เกี่ยวข้องการมองถึงเนื้อแท้ที่อยู่ภายใน คุณค่าของสิ่งต่างๆ นอกจากนี้ภาพยนตร์ยังนำเสนอให้เห็นถึงทัศนะคติและมุมมองที่มีต่อสังคมโดยเฉพาะปัญหาครอบครัว ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ลวดลายประดับบนซุ้มประตูชิโน-ปอร์ตุกิสในปีนัง

โดยนางสาวธนพร แรกรุ่น บทคัดย่อ บทความทางวิชาการเรื่อง ลวดลายประดับบนซุ้มประตูชิโน-ปอร์ตุกิสในปีนัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลจากสมัยอาณานิคมที่ปรากฏในภูมิภาคเอเชีย 3 รูปแบบ ได้แก่ สถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล และสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมโปรตุเกส ที่ปรากฏเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบชิโน-ปอร์ตุกิส ทั้งนี้เพื่อศึกษาความหมายของลวดลายประดับบนซุ้มประตู ชิโน-ปอร์ตุกิสในปีนังที่ปรากฏ  โดยการเก็บรวบรวมเอกสาร  เว็บไซต์ รูปภาพ งานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดแบ่งประเภทลวดลาย การลงพื้นที่สำรวจในย่านจอร์จทาวน์ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย จากนั้นวิเคราะห์ลวดลายตามขอบเขตการศึกษาที่กำหนด ผลการวิจัยพบว่าลวดลายที่ปรากฏโดยส่วนใหญ่เป็นลวดลายการแกะสลักสัตว์ตามตำนาน สัตว์ที่มีความหมายพ้องเสียงในภาษาจีน และดอกไม้มงคล ความหมายโดยรวมส่วนใหญ่มักหมายถึงการอวยพรให้เจ้าของบ้าน มีความสุข มั่งคั่งร่ำรวย การมีทายาทสืบสกุล และการมีสุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาว ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ค่านิยมในรูปลักษณ์และความงามในสังคมเกาหลี กรณีศึกษาจากภาพยนตร์เรื่อง Beautiful

โดย นางสาวณฤทัยชนก  สุขรวยเจริญ บทคัดย่อ บทความวิจัยเล่มนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับค่านิยมในรูปลักษณ์ความงามของสังคมเกาหลีในปัจจุบันโดยมีแนวคิดสะท้อนจากภพยนตร์เรื่อง BEAUTIFUL รวมทั้งยังศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทต่อทัศนคติของเกาหลีในเรื่องความงามในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่า เกาหลีในปัจจุบันมีค่านิยมและความเชื่อในเรื่องความงามอย่างมากเพราะคนเกาหลีมีความเชื่อที่ว่าการที่มีหน้าตาที่สวยนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการทำงานที่มีมากกว่าคนหน้าตาปกติ หรือ เป็นที่ยอมรับในสังคม คนหน้าตาดีที่ประเทศเกาหลีนั้นจัดเป็นบุคคลพิเศษที่ได้รับการยอมรับ อีกทั้งคนเกาหลียังเชื่ออีกว่าคนหน้าตาดีนั้นจะสามารถสร้างโอกาสในการหาคู่ครองที่เพียบพร้อมและดีได้ ความเชื่อเหล่านี้นั้นถูกปลูกฝั่งมาตั้งแต่รุ่นสู่รุ่นจนเป็นความเชื่อดั้งเดิมที่ยึดติดมานาน อีกทั้งความงามนั้นก็ไม่ใช่มีเพียงผลดีเท่านั้นแต่ในภาพยนตร์ยังแสดงให้เห็นถึงด้านลบว่าความงามนั้นก็มีผลเสียเช่นกัน การถูกคุกคามเพราะงามเกินไป หรือ การที่ยึดติดกับความงามเกินไปทำให้เป็นผลเสีย แต่อย่างไรก็ตามความเชื่อเรื่องความงามนั้นก็ยังคงเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน ดาวน์โหลด บทความวิจัย

คำสาปมรณะ(The Ring) และ ห้องเช่าหลอนวิญญาณโหด (Dark water) ภาพยนตร์สะท้อนปัญหาครอบครัวในภาพยนตร์สยองขวัญของผู้กำกับฮิเดโอะ นากาตะ

โดย นางสาว ธัญญาวรรณ ไชยานุวงศ์ บทคัดย่อ บทความวิจัยเรื่องคำสาปมรณะ(The ring) และห้องเช่าหลอนวิญญาณโหด(Dark water) ภาพยนตร์สะท้อนปัญหาครอบครัวในภาพยนตร์สยองขวัญของผู้กำกับฮิเดโอะ นากาตะ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นปัญหาครอบครัวที่สะท้อนอยู่ในภาพยนตร์ จากการศึกษาพบว่า ในสังคมญี่ปุ่นที่ปรากฏในภาพยนตร์แบบสยองขวัญ ผู้กำกับชาวญี่ปุ่นจำนวนมากได้ทอดแทรกประเด็นปัญหาทางสังคมในภาพยนตร์เสมอ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตามโดยเฉพาะผู้กำกับ ฮิเดโอะ นากาตะ ภาพยนตร์ของเขามักสอดแทรกปมของปัญหาภายในครอบครัว โดยเฉพาะในภาพยนตร์ 2 เรื่องที่มีชื่อเสียงของเขา คือ ภาพยนตร์คำสาปมรณะ(The ring) และห้องเช่าหลอนวิญญาณโหด(Dark water) ภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องแสดงให้เห็นถึงปมของปัญหาและความรุนแรงที่มาจากครอบครัวและนำไปสู่เหตุการณ์สยองขวัญ เช่น การใช้ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาการหย่าร้าง เด็กที่ขาดผู้ใหญ่ดูแลเอาใจใส่ ดาวน์โหลด บทความวิจัย

สถาปัตยกรรมศรัทธาแห่งแสง (The Church Of  Light) ของทะดาโอะ อันโด (安藤忠雄)

โดย นางสาวอรัชพร จันทรกุล บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลที่มีผลต่อแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมของ ทาดาโอะ อันโด และเพื่อวิเคราะห์หาความหมายของหนึ่งในสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก “ศรัทธาแห่งแสง” ของทาดาโอะ อันโด ที่เมืองอิบารากิ โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โดยศึกษาจากประวัติภูมิหลังและผลงานหลักๆของอันโดในช่วงเริ่มต้นปี ค.ศ 1973 – ค.ศ. 1989 ของอันโด จากการศึกษา เมื่อศึกษาจากประวัติภูมิหลังของ ทาดาโอะ อันโด พบว่าอันโดเกิดในช่วงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นวุ่นวาย และเสียสมดุลระหว่างธรรมชาติและสถาปัตยกรรม อันโดต้องการทำให้งานสถาปัตยกรรมเป็นพื้นที่ปิดตัวเองออกจากสภาพอันวุ่นวาย โดยใช้เรขาคณิตปิดทึบและเข้าถึงธรรมชาติโดยเปิดช่องเพื่อให้แสงบริสุทธิ์ส่องเข้ามาภายใน ส่วนคอนกรีตได้มาจากการศึกษาดูงานของ เลอ คาร์บูซิเยร์ อันโดพบว่าคอนกรีตเป็นวัสดุที่มีความหมายติดตัวน้อยที่สุด เหมาะแก่การนำมาเป็นเพียงแค่ฉากรับแสงจากการเจาะช่องผนังของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม “ศรัทธาแห่งแสง” มีลักษณะโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จุดเด่นอยู่ที่ช่องผนังคอนกรีตที่เจาะเป็นรูปไม้กางเขน เพื่อให้แสงส่องเข้ามาตรงกลางภายในโบสถ์ แสงที่ส่องเข้ามาหมายถึงพลังของพระเจ้า ความหวัง และช่วยสร้างพลังแห่งความศรัทธา ด้วยจุดเด่นนี้จึงทำให้ “ศรัทธาแห่งแสง” กลายเป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ประติมากรรมจีนในราชวงศ์ถังที่รับอิทธิพลจากพุทธศิลป์อินเดีย

โดย นายสิปปวิชญ์  กาฬวงศ์ บทคัดย่อ บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษา “ ประติมากรรมจีนในราชวงศ์ถังที่รับอิทธิพลจากพุทธศิลป์อินเดีย ”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษางานประติมากรรมจีนที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาในราชวงศ์ถัง เพื่อศึกษาการรับอิทธิพลของงานประติมากรรมจีนจากพุทธศิลป์อินเดียในสมัยต่างๆ และเพื่อศึกษาพัฒนาการของงานพุทธประติมากรรมจีนที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ผลการศึกษาพบว่า ศิลปะจีนด้านประติมากรรมในราชวงศ์ถัง เป็นยุคที่ศิลปกรรมเจริญรุ่งเรือง ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ทำให้เกิดการสร้าง พระพทธรูปขึ้น จากการรับอิทธิพลจากพุทธศิลป์อินเดีย โดยผ่านเส้นทางไหม เป็นเส้นทางการค้า และ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ทำให้จีนรับวัฒนธรรม ทั้งด้าน ศาสนาพุทธ และศิลปกรรม จากอินเดีย ต่อมาเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างอินเดียและจีนขึ้น มีพัฒนาการ ทำให้มีรูปแบบ ลักษณะพิเศษ และโครงสร้างงานประติมากรรมจีนที่แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของตนเองเป็นอย่างดี ดาวน์โหลด บทความวิจัย

กรณีศึกษาตุ๊กตาศิลาจีนในวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

โดย นางสาวณัฐชา ตุลยภัทรานนท์ บทคัดย่อ ในรัชกาลที่3 ได้มีการค้าขายสินค้ากับประเทศจีน มีการขนส่งสินค้าด้วยเรือสำเภา เวลาไปก็มีสินค้าไทยบรรทุกไปเต็มลำเรือ แต่เวลากลับไม่สามารถเดินทางกลับด้วยเรือลำเปล่าๆ ได้ เมื่อเรือเบาถูกคลื่นลมแรงจะทำให้เรือโคลงเคลงุ จึงนำตุ๊กตาจีนซึ่งสามารถหาซื้อง่ายและราคาไม่แพง บรรทุกใส่ไว้ในท้องเรือ พอกลับมาถึงเมืองไทย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำไปประดับไว้ตามวัดและวังต่างๆ รวมถึงวัดพระปฐมเจดีย์ฯ ซึ่งจะวางอย โดยรอบระเบียงคตชั้นนอกและชั้นในตัวองค์พระปฐมเจดีย์ฯ ดาวน์โหลด บทความวิจัย