การศึกษาลวดลายและความหมายของกลองสำริดหง็อกลู้ (Ngọc Lũ)

นางสาวสุทธิสิญา สุทธิธรรม

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์เรื่องการศึกษาลวดลายและความหมายของกลองสำริดหง็อกลู้ (Ngọc Lũ)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลวดลายที่ปรากฏบนกลองสำริดหง็อกลู้ (Ngọc Lũ) ว่าเป็นลวดลายอะไร มีความหมายอย่างไร และสะท้อนให้เห็นถึงอะไรในอดีต โดยใช้การศึกษาอ้างอิงจากหนังสือกลองมโหระทึกที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผลการศึกษาพบว่ากลองสำริดหง็อกลู้ (Ngọc Lũ) เป็นกลองที่ปรากฏในวัฒนธรรมดองซอน ถูกพบเมื่อปลายศตวรรษที่ 18 ที่จังหวัดห่านาม (Hà Nam) ประเทศเวียดนาม จัดอยู่ในระบบเฮเกอร์ 1 ในระบบการจำแนกของ Franz Heger สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ 3 กลุ่ม ซึ่งกลองสำริด   หง็อกลู้ (Ngọc Lũ) ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 1a ที่หน้ากลองและเอวกลองมีลายรูปคนและสัตว์ ประกอบกับเครื่องประดับและเครื่องมือเครื่องใช้ สำหรับลวดลายที่ปรากฏบนกลองสำริดหง็อกลู้ (Ngọc Lũ) สามารถแบ่งออกเป็น 16 แถบ นับจากศูนย์กลางที่เป็นดาว 14 แฉก ไปจนถึงขอบกลอง โดยจำแนกประเภทลวดลายออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ลายภาพบุคคลและลายเรขาคณิต ซึ่งลวดลายเหล่านี้ล้วน มีความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติสะท้อนสภาพแวดล้อม สภาพทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี    ความเชื่อ และวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น

ดาวน์โหลด บทความวิจัย

icon-pdf