การศึกษาตลาดอาหารปลอดภัยในประเทศจีน

นางสาวกุลชา รัตนนรา

บทคัดย่อ

อาหาร เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่เนื่องจากการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพมาใช้นั้น ส่งผลให้แนวคิดอาหารปลอดภัยจึงกำลังได้รับความนิยม สารนิพนธ์เรื่อง การศึกษาตลาดอาหารปลอดภัยในประเทศจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการจาหน่าย สัดส่วนทางการตลาด และ นโยบายส่งเสริมตลาดอาหารปลอดภัยของภาครัฐและภาคเอกชน เกี่ยวกับตลาดอาหารปลอดภัยในประเทศจีน

จากการศึกษาพบว่า มูลค่าการจัดจำหน่ายอาหารปลอดภัย ประเภท Green Food ตั้งแต่ ค.ศ.2006-2018 มีการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 2.47 เท่า โดยผลิตภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูป มีสัดส่วนทางการตลาดสูงที่สุด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 58 นับว่าอาหารปลอดภัยในประเทศจีน กำลังอยู่ในช่วงเติบโตของทฤษฎีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ โดยภาครัฐ มีนโยบายส่งเสริมอาหารปลอดภัยในประเทศจีน โดยสร้างมาตรฐานอาหารปลอดภัยของประเทศ ให้เทียบเท่ากับมาตรฐานสากล และ มีการจัดงานแสดงอาหารปลอดภัยจากภาคเอกชน ส่วนการศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดความตื่นตัวของผู้บริโภคชาวจีนต่ออาหารปลอดภัย และกลุ่มผู้บริโภคสินค้าประเภทอาหารปลอดภัยในประเทศจีนนั้น พบว่า กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 45 คน ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง อายุ 21-30 ปี ประกอบอาชีพนักเรียนนักศึกษา โดยมีรายได้ 1,000-4,999 RMB ต่อเดือน มักเลือกซื้ออาหารปลอดภัยจากห้างร้านทั่วไป เพราะ สะดวก จากปัจจัยด้านสุขภาพและความปลอดภัย โดยคำนึงถึงความง่ายต่อการหาซื้อและบรรจุภัณฑ์ เป็นหลัก และมักเลือกจากเครื่องหมาย Green Food ที่กำกับ เพราะ พบเห็นบ่อย โดยให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์มากกว่าราคา ตรงกับทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด รวมถึงการศึกษาและเปรียบเทียบมาตรการด้านอาหารปลอดภัยจากภาครัฐของประเทศไทยและประเทศจีนใน ค.ศ.1990-ปัจจุบัน พบว่า ทั้งสองประเทศมีนโยบายเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ช่วงแรกเป็นการวางรากฐาน โดยเน้นการสนับสนุนมาตรฐานอาหารประเภทปลอดภัยจากสารพิษและอนามัย ต่อมาเน้นการวางรากฐานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ให้เท่าเทียมกับสากล ในปัจจุบัน มีการผลักดันนโยบายเกี่ยวอาหารปลอดภัย โดยเฉพาะอาหารอินทรีย์ ให้เป็นการผลิตเพื่อส่งออก โดยมีการทำข้อตกลงร่วมกันกับองค์กรจากต่างประเทศ

บทความวิจัยฉบับเต็ม