ชายรักชายในญี่ปุ่น : มังงะและอนิเมชั่น ค.ศ. 2000-2018

นางสาวสุภชา มีลักษณะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้ได้ศึกษาพัฒนาการของชายรักชายในสังคมญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่รับรู้ของคนในสังคมมาเป็นเวลาช้านาน เริ่มปรากฎให้เห็นตั้งแต่ยุคเซ็นโกคุ (ค.ศ.1477-1615) โดยเฉพาะในกลุ่มของชนชั้นซามูไรที่นับเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง หรือที่เรียกว่า “นันโชคุ”  ชายรักชายเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่มีบริบททั้งในด้านสังคม วัฒนธรรม ศิลปะ และวรรณคดี แม้ต่อมาในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868-1912) จะเกิดการปฏิรูปญี่ปุ่นจนทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ มีการเข้ามาของชาติตะวันตก ประกอบกับการเข้ามาของศาสนาคริสต์ ทำให้ค่านิยมชายรักชายกลายเป็นเรื่องที่ผิดปกติ แต่กระนั้นก็ยังมีการเผยแพร่ค่านิยม และวัฒนธรรมดังกล่าวในสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เรื่อยมาจนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วง ค.ศ. 2000-2018 สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในรูปแบบของ “มังงะ” หรือหนังสือการ์ตูน จนมีการต่อยอดทำเป็นสื่อนิเมชั่น หรือ “อนิเมะ” ทำให้เกิดคำถามว่าประเด็นชายรักชายดังกล่าวได้ถูกนำเสนอผ่านสื่อประเภทมังงะ และอนิเมะอย่างไร มีการสะท้อนมุมมองของคนในสังคมต่อชายรักชายผ่านเนื้อเรื่องในแง่มุมไหนบ้าง โดยได้เลือกศึกษาจากมังงะ และอนิเมะที่ได้รับความนิยม และมีการเผยแพร่ในช่วง ค.ศ. 2000-2018 จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ 1) 10 Count โดย Takarai Rihito 2) Dakaretai Otoko 1-ni Odosarete Imasu โดย Sakurabi Hashigo 3)  Super Lovers โดย Abe Miyuki และ 4) Love Stage โดย Eiki Eiki และ Zauo Zaishi

บทความวิจัยฉบับเต็ม