ความขัดแย้งระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์ในช่วง ค.ศ. 1934 – 1949

นางสาวฐิติพร เลาหสถิตย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง ความขัดแย้งระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์ในช่วง ค.ศ. 1934 – 1949 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์ ศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์ โดยมีวิธีการศึกษาจากข้อมูลหลักฐานชั้นรองเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์ญี่ปุุน ชีวประวัติซุนยัตเซ็น และชีวประวัติเหมาเจ๋อตง ในช่วง ค.ศ. 1927 – 1949

ผลการศึกษาพบว่าหลังการล่มสลายของราชวงศ์ชิง มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบสาธารณรัฐ แผ่นดิน จีนเกิดความแตกแยกในยุคขุนศึก มีการสู้รบแย่งชิงอำนาจอยู่ตลอดเวลา แต่ ภายหลัง ในค.ศ. 1927 เจียงไคเช็คก็สามารถปราบปรามขุนศึกเหล่านี้ได้สำเร็จ นอกจากนี้เหมาเจ๋อตง และสมาคมชาวนาในขณะนั้น ได้ลุกฮือก่อการปฏิวัติในหูหนาน เจียงไคเช็คจึงทำรัฐประหาร 12 เมษายน 1927 ชิงอำนาจรัฐบาลอู่ฮั่นและกวาดล้างพรรคคอมมิวนิสต์รวมถึงสมาชิกฝุายซ้ายในพรรคก๊กในตั๋ง ทางพรรคคอมมิวนิสต์ก็ได้พยายามตอบโต้กลับ แต่ล้มเหลว ต่อมาในเดือนตุลาคม เหมาเจ๋อตงได้สั่งเคลื่อนทัพชาวนาให้ไปตั้งหลักที่ภูเขาจิ่งกังซานเพื่อใช้เป็นฐานของกองกำลังชาวนาในชนบท แต่เนื่องจากทัพของพรรคก๊กมินตั๋งส่งกำลังมาสู้รบมากขึ้น ทำให้ไม่อาจใช้ภูเขานี้เป็นที่มั่นปูองกันได้อีก เหมาเจ๋อตงจึงสั่งเคลื่อนทัพไปทางเหนือของเจียงซี ระหว่างนั้นกองทัพของเหมาเจ๋อตงสามารถรบชนะกองทัพที่ 1 ของพรรคก๊กมินตั๋งได้ จากนั้นจึงเข้าโจมตีเมืองฉางซาต่อ ขณะเดียวกันทางด้านญี่ปุุนได้เริ่มก่อวินาศกรรมรุกรานแผ่นดินจีนตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 1932 เรื่อยมา แต่เจียงไคเช็คกลับไม่ได้ต่อต้านญี่ปุุน ยังคงเดินหน้ากวาดล้างพรรคคอมมิวนิสต์อย่างต่อเนื่อง จนในสุดญี่ปุุนสามารถยึดแมนจูเรียได้ และในเวลาต่อก็สามารถยึดเมืองและพื้นที่ต่างๆ ในจีนได้หลายพื้นที่ จนพรรคคอมมิวนิสต์ต้องเจรจากับเจียงไคเช็คให้ยุติสงครมกลางเมือง หันมาร่วมมือกันต่อต้านญี่ปุุน

บทความวิจัยฉบับเต็ม