วิกฤตการณ์ประท้วงฮ่องกง ค.ศ. 2019

นางสาวภัททิยา ภัทรพันธุ์พงศ์

บทคัดย่อ

สืบเนื่องจากคดีฆาตกรรมภรรยาโดยสามีชาวฮ่องกงที่เกิดขึ้นในประเทศไต้หวัน ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2018 ทั้งสองประเทศไม่มีกฎหมายการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน จึงไม่สามารถจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ เป็นเหตุให้สภานิติบัญญัติประจำเกาะฮ่องกง ได้เสนอร่างกฎหมายการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนฉบับใหม่ขึ้น ทำให้ประชาชนชาวฮ่องกงไม่พอใจอย่างมาก จึงร่วมกันแสดงจุดยืนโดยการชุมนุมประท้วง เพื่อต่อต้านการผลักดันร่างกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมฉบับนี้ขึ้น อีกทั้งเพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง 5 ประการที่ผู้ชุมนุมกำหนดท่าทีของการชุมนุมทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้รัฐบาล ภายใต้ความควบคุมของนางแคร์รี่ แลมจำเป็นต้องถอดถอนร่างกฎหมายฉบับนี้โดยสมบูรณ์ ทว่าการชุมนุมยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตยที่ประชาชนชาวฮ่องกงควรได้รับ รวมไปถึงการป้องกันการแทรกแซงและเอื้อประโยชน์ของจีนแผ่นดินใหญ่ รวมไปถึงเพื่อขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง

บทความนี้จึงมุ่งศึกษาถึงชนวนเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างจีนและฮ่องกง รวมไปถึงปัจจัยที่นำไปสู่วิกฤตการประท้วงในฮ่องกงในปี ค.ศ.2019 ที่ส่งผลกระทบต่อฮ่องกงในหลากหลายมิติ ซึ่งผลการศึกษาพบว่าร่างกฎหมายการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เปรียบเสมือนชนวนเหตุที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจของประชาชน เนื่องจากเกิดความหวั่นเกรงว่าร่างกฎหมายฉบับนี้อาจเอื้อประโยชน์แก่การแสวงหาผลประโยชน์ของจีนแผ่นดินใหญ่ในฮ่องกงอย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจรวมไปถึงสิทธิ เสรีภาพที่ประชาชนชาวฮ่องกงพึงได้รับตามนโยบายหนึ่งประเทศสองระบบ นอกจากนี้ยังพบว่ารากเหง้าของปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่ทวีความรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนรุ่นใหม่ การชุมนุมในครั้งนี้ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีท่าทีสิ้นสุดลง ซึ่งนับเป็นการปลุกระดมมวลชนทุกเพศ ทุกวัยครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ฮ่องกงที่อาจส่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต

บทความวิจัยฉบับเต็ม