ภาพแทนการย้ายถิ่นกรณีศึกษาจากภาพยนตร์เรื่อง Wolf Children Ame and Yuki

นางสาวธนิตา บุญจุ้ย

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์ เรื่อง “ภาพแทนการย้ายถิ่นกรณีศึกษาจากภาพยนตร์เรื่อง Wolf Children Ame and Yuki”เป็นงานวิจัยที่ผู้ศึกษาใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อศึกษาลักษณะภาพแทนการย้ายถิ่นของประเทศญี่ปุ่น ที่ถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อภาพยนตร์เรื่อง Wolf Children Ame and Yuki โดยมีประเด็นการศึกษาดังนี้ 1. เพื่อศึกษาภาพแทนการย้ายถิ่น 2. เพื่อศึกษาความหมายและความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและชนบท โดยใช้แนวคิดทฤษฎีที่ใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์ คือ แนวคิดเรื่องภาพตัวแทน แนวคิดเรื่องกระบวนการกลายเป็นเมือง แนวคิดเรื่องการย้ายถิ่นและ แนวคิดเรื่องเมืองและชนบท

ผลการศึกษาพบว่า ภาพแทนการย้ายถิ่นที่พบในภาพยนตร์เรื่อง Wolf Children Ame and Yuki นั้น ภาพยนตร์ได้เสนอสื่อให้เห็นถึง การย้ายถิ่นในประเภทญี่ปุ่นนั้น มี 2 ทิศทาง ได้แก่ การย้ายถิ่นจากไปเมือง ซึ่งผู้ย้ายถิ่นส่วนใหญ่ มีภาพแทนเป็นคนจนที่เข้ามาทางานเป็นแรงงานชั้นล่างในเมือง และการย้ายถิ่นจากเมืองไปชนบท ซึ่งมีภาพแทนของผู้ต้องการความสงบ หนีความวุ่นวานในเมืองไปใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ และเนื่องจากความแตกต่างของพื้นที่ต้นทางและพื้นที่ปลายทาง ทาให้ผู้ย้ายถิ่นต้องปรับตัว ซึ่งแบ่งออกเป็นผู้ปรับตัวได้ผู้ที่ปรับตัวไม่ได้ โดยผู้ที่ปรับตัวได้จะสามารถใช้ชีวิตในพื้นที่ปลายทางได้อย่างมีความสุข เข้ากับสภาพแวดล้อมผู้คนได้ ส่วนผู้ที่ปรับตัวไม่ได้จะไม่มีปัญหาในการชีวิตในพื้นที่ปลายทาง รู้สึกแปลกแยก เป็นทุกข์ และการย้ายถิ่นนี้เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนแรงงาน ที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างเมือง

และความหมายของเมืองและชนบทที่ภาพยนตร์ได้นาเสนอออกมา คือ เมืองหมายถึง พื้นที่ที่มีความเจริญ เป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจแต่ก็ปัญหาด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน ส่วนชนบท หมายถึง พื้นที่ที่มีความเจริญทางวัตถุน้อย อยู่ห่างไกลจากเขตเมืองหรือกล่าวคือ ห่างไกลความเจริญแต่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ สงบและเรียบง่าย

บทความวิจัยฉบับเต็ม