การตั้งชื่อจีนของนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาจีน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

นางสาวอภัสนันท์ ทองใบ

บทคัดย่อ

บทความวิจัย “การตั้งชื่อจีนของนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาจีน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกณฑ์ที่ใช้ในการตั้งชื่อจีน ความหมายของชื่อจีน ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อไทยกับชื่อจีนที่ตั้งขึ้นใหม่ และค่านิยมที่สะท้อนจากชื่อจีนของนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาจีน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากชื่อของนักศึกษาไทยที่เรียนวิชาภาษาจีน ณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคการศึกษาต้นและปลาย ปีการศึกษา 2562 รวมทั้งสิ้น 161 ชื่อ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตั้งชื่อจีนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) เจ้าของชื่อ 2) อาจารย์ที่สอนภาษาจีน 3) พ่อแม่ ญาติหรือผู้รู้ เกณฑ์ที่ใช้ในการตั้งชื่อจีนให้นักศึกษาไทยที่เรียนภาษาจีนมี 3 เกณฑ์ ได้แก่ 1) เพศ 2) ความหมาย 3) ความสัมพันธ์กับชื่อไทย ความหมายของชื่อจีนแบ่งเป็น 15 กลุ่มความหมาย ได้แก่ 1) ธรรมชาติ 2) ความงามและความอ่อนโยน 3) สิ่งของมีค่าและความมั่งคั่งร่ำรวย 4) สุนทรียะ 5) คุณธรรม ความดีงามและบุญคุณ 6) ความยิ่งใหญ่ อำนาจและความแข็งแกร่ง 7) ความสะอาด บริสุทธิ์และความหอม 8) สติปัญญาและความรู้ 9) จิตใจ ความรู้สึก และความหวัง 10) ช่วงเวลาและทิศทาง 11) ความสงบ 12) ความเลื่อมใสศรัทธาและความจงรักภักดี 13) ขนาดและรูปร่าง 14) กิริยาอาการ 15) คำเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อไทยกับชื่อจีนที่ตั้งขึ้นใหม่มี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การใช้เสียงคล้ายกับชื่อจริงภาษาไทย 2) การใช้เสียงคล้ายกับชื่อเล่นภาษาไทย 3) การใช้ความหมายคล้ายกับชื่อจริงภาษาไทย 4) การใช้ความหมายคล้ายกับชื่อเล่นภาษาไทย ส่วนค่านิยมที่สะท้อนจากชื่อจีนมี 7 ด้าน ได้แก่ 1) ค่านิยมเกี่ยวกับธรรมชาติ 2) ค่านิยมเรื่องเพศ 3) ค่านิยมเกี่ยวกับความงามและความอ่อนโยน 4) ค่านิยมเกี่ยวกับสิ่งของมีค่าและความมั่งคั่งร่ำรวย 5) ค่านิยมเกี่ยวกับสุนทรียะ 6) ค่านิยมเกี่ยวกับคุณธรรม ความดีงามและบุญคุณ 7) ค่านิยมการตั้งชื่อจีนให้สัมพันธ์กับชื่อไท

บทความวิจัยฉบับเต็ม