ภาษา เนื้อหา และความเชื่อในใบเซียมซีภาษาจีน วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่ 1) และวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2)

นางสาวธนภรณ์ ภู่แก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัย “ภาษา เนื้อหา และความเชื่อในใบเซียมซีภาษาจีน วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่ 1) และวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2)” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาษาในใบเซียมซีวัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่ 1) และวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2) เพื่อศึกษาเนื้อหาในใบเซียมซีวัดมังกรกลาวาส(วัดเล่งเน่ยยี่ 1) และวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่2) และเพื่อศึกษาความเชื่อที่สะท้อนจากใบเซียมซีวัดมังกรกลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่ 1) และวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2) โดยมีวิธีการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากใบเซียมซีวัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่ 1) จำนวน 28 ใบ และวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2) จำนวน 32 ใบ จำนวนรวม 60 ใบเท่านั้น

ผลการศึกษาพบว่า ภาษาที่ใช้ใบเซียมซีนั้นมีอยู่ 2 ภาษา คือ ภาษาจีน และภาษาไทย คำทำนายภาษาจีนกับคำนำทายที่เป็นภาษาไทยนั้นมีความสัมพันธ์กัน อีกทั้งยังมีการใช้ภาพพจน์โวหารทั้งหมด 4 ลักษณะ คือ อุปลักษณ์ อุปมา บุคลาธิษฐาน สัญลักษณ์ ซึ่งผู้เขียนนิยมใช้ภาพพจน์โวหารดังกล่าวเพื่อมาอธิบายเพื่อให้ผู้อ่านเกิดภาพที่ชัดเจน ส่วนการศึกษาเนื้อหาที่ใช้ในใบเซียมซี ได้ผลสรุปออกมา 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก วิเคราะห์เนื้อหาคำทำนายที่ปรากฏในใบเซียมซีสามารถแยกเป็นใบที่มีคำทำนายที่ดี คำทำนายที่ไม่ดี และคำทำนายปานกลาง ประการที่สอง ลักษณะเนื้อหาที่ปรากฏในใบ เซียมซีสามารถแบ่งได้ 7 ประการ ได้แก่ ด้านโชคลาภ ด้านการเดินทาง ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านการงาน ด้านที่อยู่อาศัย และด้านความรัก และความเชื่อที่สะท้อนจากใบเซียมซี แบ่งเป็น 2 ประการ ประการแรก ความเชื่อเกี่ยวกับศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ ความเชื่อเรื่องเทพเจ้า ความเชื่อเรื่องธรรมชาติและพืชมงคล ความเชื่อเรื่องสัตว์และวัตถุมงคล และความเชื่อเกี่ยวกับบรรพบุรุษ ประการที่สอง ความเชื่อเรื่องบุญกรรมและดวงชะตา

บทความวิจัยฉบับเต็ม