ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจอักษรคันจิระดับ N3 : กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชาเอเชียศึกษา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

นางสาวศิวพร ชาครพิพัฒน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อผิดพลาดในการอ่านตัวอักษรคันจิ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของความผิดพลาด และเพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเอเชียศึกษา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่คุ้นเคยกับอักษรคันจิมากกว่าและกลุ่มตัวอย่างที่คุ้นเคยกับอักษรคันจิน้อยกว่า

ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีแนวโน้มใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมในการอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลระดับประโยค  ผู้เรียนทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มสับสนอักษรคันจิไปทางทิศเดียวกัน  ข้อผิดพลาดที่ส่งผลให้ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นเกิดความสับสนทั้งด้านเสียงอ่านและความหมาย คือ การแทรกแซงของภาษาแม่ นอกจากนั้น ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษาแม่ ได้แก่ ความซับซ้อนของอักษรคันจิที่คล้ายกัน คันจิที่พ้องเสียงและมีความหมายใกล้เคียงกัน  ข้อผิดพลาดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงปัญหาการอ่านและการเข้าใจอักษรคันจิของนักศึกษาปีที่ 4 สาขาวิชาเอเชียศึกษา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งอาจใช้เป็นข้อมูลสำหรับพัฒนาแนวทางในการเรียนรู้การอ่านคันจิและพัฒนากลยุทธ์การเรียนการสอนเรื่องอักษรคันจิต่อไป

บทความวิจัยฉบับเต็ม