ความสำคัญของฉาก “ร้านกาแฟ” กับการประกอบสร้างเรื่อง “เพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น”

ศึกษาฉากและบรรยากาศของวรรณกรรมเรื่องเพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างฉากและบรรยากาศกับโครงเรื่องที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องเพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น

กลวิธีการแปลคำศัพท์ทางวัฒนธรรมภาษาไทยเป็นภาษาเวียดนาม : กรณีศึกษาการแปลคำศัพท์วัฒนธรรมทางวัตถุในละครโทรทัศน์เรื่อง บุพเพสันนิวาส (Nhân duyên tiểu định)

ศึกษากลวิธีการแปลคำศัพท์วัฒนธรรมทางวัตถุในละครโทรทัศน์เรื่องบุพเพสันนิวาสจากภาษาไทยเป็นภาษาเวียดนามและศึกษาวัฒนธรรมของประเทศไทยและประเทศเวียดนามผ่านกลวิธีการแปลคำวัฒนธรรม

การใช้ภาษาที่แสดงความเป็นเพศหญิงของตัวละครข้ามเพศในการ์ตูนญี่ปุ่น ชุด “คนลึกไขปริศนาลับ” (黒執事, Kuroshitsuji)

ศึกษารูปภาษาที่แสดงความเป็น
เพศหญิงของตัวละคร “เกรล ซัตคลิฟฟ์” (Grell Sutcliff) ซึ่งเป็นตัวละครข้ามเพศในเรื่อง รวมถึงศึกษาปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อการใช้ภาษาที่แสดงความเป็นเพศหญิงของตัวละครดังกล่าว

ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจอักษรคันจิระดับ N3 : กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชาเอเชียศึกษา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศึกษาข้อผิดพลาดในการอ่านตัวอักษรคันจิ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของความผิดพลาด และเพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา

Womenomics กับการเปิดพื้นที่ทางสังคมของผู้หญิงญี่ปุ่น ผ่านวรรณกรรมแปลเรื่อง คาเฟ่ลูส เมนูที่รักจากการเดินทาง

ศึกษาภาพสะท้อนนโยบาย Womenomics ที่กระทบต่อ บทบาทหน้าที่และความคาดหวังต่อผู้หญิงในสังคมญี่ปุ่นในวรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่องคาเฟ่ลูส เมนูที่รักจากการเดินทาง

การศึกษาองค์ประกอบทางวรรณกรรมและประเด็นที่แฝงอยู่ในหนังสือการ์ตูน “ก้นหอยมรณะ”

ศึกษาองค์ประกอบทางวรรณกรรมของหนังสือการ์ตูนเรื่อง ก้นหอยมรณะ ในด้านโครงเรื่อง ฉาก บรรยากาศ ตัวละคร และภาพประกอบ และศึกษาประเด็นเกี่ยวกับวัยรุ่นและประเด็นทางสังคมญี่ปุ่น

การศึกษากระบวนการสร้างความหมายของคำว่าครอบครัวจากวรรณกรรมแปลเรื่อง “ครอบครัวที่ลัก” (Shoplifters)

ศึกษาความหมายและกระบวนการสร้างความหมายของคำว่า “ครอบครัว” ในวรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่อง “ครอบครัวที่ลัก” (Shoplifters) เพื่อให้เห็นการผลิตซ้ำและตอบโต้ชุดความคิดครอบครัวในสังคมญี่ปุ่น

การศึกษานวนิยายแปลจีนเรื่อง “13 บุปผาแห่งนานกิง” (⾦陵⼗三釵)

ศึกษาองค์ประกอบและคุณค่าของนวนิยายเรื่อง “13 บุปผาแห่งนานกิง” (⾦陵⼗三釵)

กลวิธีการใช้ภาษาในนวนิยายแปลจีน เรื่อง ย้อนกาลสารทวสันต์

ศึกษาการใช้คำ โวหาร และภาพพจน์ พร้อมทั้งศึกษากลวิธีการแปลของนวนิยายแปลจีน เรื่อง ย้อนกาลสารทวสันต์

การศึกษานวนิยายแปลจีนเรื่องโฉมงามสองหน้า

ศึกษาองค์ประกอบของนวนิยาย และศึกษาแนวคิดที่สะท้อนในนวนิยายแปลจีนเรื่อง โฉมงามสองหน้า

วิเคราะห์เพลงแปลจีนที่ขับร้องโดยศิลปิน ฮว่า เฉิน หยู่

วิเคราะห์เนื้อหากลวิธีการใช้ภาพพจน์ และวัจนกรรมในบทเพลงที่ขับร้องโดยศิลปิน ฮว่า เฉิน หยู่ พร้อมทั้งศึกษาความหมายของเนื้อเพลง

จากบาดแผลของปัจเจกบุคคลสู่ความขัดแย้งทางค่านิยมในนวนิยายเรื่อง “ศูนย์รับฝากความเสียใจ”

ศึกษาความเสียใจที่เป็นบาดแผลของตัวละครในฐานะปัจเจกบุคคลและบาดแผลในฐานะที่แสดงถึงความขัดแย้งทางค่านิยมของสังคมไต้หวันช่วงเริ่มต้นการปกครองแบบประชาธิปไตย

การศึกษานวนิยายแปลจีนเรื่องการ์เดี้ยน (镇魂)

ศึกษาองค์ประกอบและคุณค่าของนวนิยายแปลจีนเรื่องการ์เดี้ยน (镇魂)

กลวิธีการตั้งชื่อละครโทรทัศน์เกาหลีเป็นภาษาไทย

ศึกษา เพื่อวิเคราะห์กลวิธีตั้งชื่อละครโทรทัศน์เกาหลีเป็นภาษาไทย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของชื่อภาษาไทยกับชื่อภาษาเกาหลีของละครโทรทัศน์เกาหลี