“2 มังงะ” : ภาพและเนื้อหาความรุนแรงที่ปรากฏใน (2) เล่ม

โดย นางสาวชณัฐกานต์ มาประเสริฐ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “2 มังงะ” : ภาพและเนื้อหาความรุนแรงที่ปรากฏใน (2) เล่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทของความรุนแรงและรูปแบบการนำเสนอความรุนแรงที่ปรากฏในหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น ที่ได้รับการแปลในประเทศไทย โดยเลือกศึกษาจากหนังสือการ์ตูนที่แปลเป็นภาษาไทยแล้วจำนวน 2 เรื่อง คือ เรื่อง “ไลฟ์” (Life) และ เรื่อง “เบอร์เซิร์ก” (Berserk) ซึ่งมีวิธีการศึกษาด้วยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ อาทิ หนังสือ บทความจากวารสาร บทความทางวิชาการ และฐานข้อมูลสื่อออนไลน์ต่าง ๆ อีกทั้งได้นำกรอบแนวความคิดและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์เรื่อง ความรุนแรง และ สัญวิทยามาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่า “มังงะ” ทั้ง 2 เรื่อง อันได้แก่เรื่อง Life และ เรื่อง Berserk แม้ทั้ง 2 เรื่องจะมีความต่างในเรื่องของช่วงเวลา บริบททางสังคม การพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการผลิตอาวุธแตกต่างกัน โดยเรื่อง Berserk จะสะท้อน ให้เห็นในบริบททางสังคม ในช่วงที่ยังค่อนข้างเป็นสังคมประเพณี ที่ยังมีการทำศึกสงครามด้วยอาวุธที่ไม่ได้ใช้กระบวนการด้านเทคโนโลยีมากนัก ในขณะที่ เรื่อง Life จะสะท้อนให้เห็น ในช่วงเวลา บริบททางสังคมที่ค่อนข้างเป็นสังคมสมัยใหม่ ได้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมามากแล้ว หากแต่สิ่งที่ถูกเรียกว่า “ความรุนแรง” ยังคงปรากฏอยู่ ในสังคมนั้นๆ เรื่อยมา ซึ่งระดับของความรุนแรงที่ปรากฏอยู่ในทั้ง 2 เรื่องแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. ความรุนแรงทางตรง หรือ เชิงพฤติกรรม (Direct or behavioral violence) คือ การกระทำทารุณกรรม และการทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ ถือเป็นความรุนแรงที่เห็นได้ง่ายและชัดเจนที่สุด โดยความรุนแรงทางตรงนี้ จะมีที่มา หรือถูกสร้างให้เกิดความชอบธรรมจากความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม 2. ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง (Strctural violence) เป็นโครงสร้างที่เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคนที่มีตำแหน่งแห่งที่แตกต่างกันในโครงสร้างนั้น เกี่ยวข้องกับความแตกต่างในเรื่องชนชั้น และ อานาจทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง หรืออำนาจทางการสังคมและ 3. ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม (Cultural violence) เป็นระดับความรุนแรงที่อยู่ลึกที่สุด เป็นเรื่องของระบบความเชื่อความหมายของสังคม มีคาอธิบายที่ทำให้เอารัดเอาเปรียบ รวมทั้งการทำร้ายร่างกายและจิตใจระหว่างบุคคลในสังคม ให้กลายเป็นเรื่องที่ยอมรับได้หรือต้องยอมรับได้ หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมเป็นตัวสร้างความชอบธรรมให้แก่ความรุนแรงทั้งสองประเภท ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

สำหรับรูปแบบการนำเสนอความรุนแรงที่ศึกษาจาก “มังงะ” ทั้งสองเรื่อง แบ่งได้เป็น 2 ประเด็นหลักคือ 1. รูปแบบการนำเสนอความรุนแรงที่ปรากฏใน “มังงะ” อันนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อให้ได้คาตอบมาซึ่ง 2. รูปแบบการนำเสนอ “ประเภท” ของความรุนแรง โดยเรื่อง Life จะนดเสนอในรูปแบบสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาหรือ เปิดเผยต่อผู้รับสารอย่างชัดเจนเป็นส่วนหลัก ในขณะที่เรื่อง Bererk จะเป็นรูปแบบสื่อสารปกปิดโดยการใช้สัญลักษณ์แทน หรือ ผู้รับสารต้องใช้การตีความเป็นส่วนหลัก มากกว่าเรื่อง Life และจากที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่าการวิเคราะห์รูปแบบการนดเสนอความรุนแรงที่ปรากฏใน “มังงะ” ทั้ง 2 เรื่องนั้น นำมาซึ่งคาตอบของรูปแบบการนำเสนอประเภทของความรุนแรง กล่าวคือ สำหรับประเภทความรุนแรงทางตรง หรือ เชิงพฤตกรรมอันเป็นความรุนแรงที่เห็นและเข้าใจได้ง่ายว่าคือความรุนแรง จะเป็นการนำเสนอในรูปแบบสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาหรือ เปิดเผยต่อผู้รับสารอย่างชัดเจนเป็นส่วนสำคัญ ในขณะที่ ความรุนแรงเชิงโครงสร้างอันเป็นความรุนแรงที่อยู่ระดับลึกลงมาและความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม อันเป็นความรุนแรงที่อยู่ระดับลึกที่สุด จะเป็นการนำเสนอในรูปแบบ สื่อสารปกปิดโดยการใช้สัญลักษณ์แทน หรือ ผู้รับสารต้องใช้การตีความ เป็นส่วนสำคัญ

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf