การศึกษาวรรณกรรมแปลญี่ปุ่น เรื่อง “ขัปปะ”

โดย นางสาวทัชชา จุลวงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาวรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่อง “ขัปปะ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางวรรณกรรมของวรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่อง “ขัปปะ” ได้แก่ โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก แก่นเรื่อง และกลวิธีการแต่ง รวมทั้งศึกษาคุณค่าด้านสังคมและเศรษฐกิจของวรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่อง “ขัปปะ” นี้

จากการศึกษาพบว่า ผู้แต่งวรรณกรรมเรื่องนี้ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น“ราชาเรื่องสั้นแดนอาทิตย์อุทัย” ผู้ที่เขียนเรื่องสั้นที่ได้รับยกย่องว่าเป็นเรื่องยอดเยี่ยมแบบคลาสสิกในวงการวรรณกรรมญี่ปุ่นยุคปัจจุบัน โดยเรื่อง “ขัปปะ” นี้มีโครงเรื่องเกี่ยวกับชายหนุ่มที่หลงเข้าไปในดินแดนขัปปะ ซึ่งตัวละครเอกในเรื่องจะเป็นตัวละครหลายลักษณะ มีความรู้สึกนึกคิดที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุการณ์ที่พบเจอเหมือนกับมนุษย์ทั่วไป ส่วนแก่นเรื่องของวรรณกรรมเรื่องนี้คือ ทางออกของการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด ก็คือ ทางที่เข้ามาสู่ปัญหานั่นเอง นอกจากนี้ฉากยังสะท้อนและเสียดสีโลกแห่งความเป็นจริงในสังคมญี่ปุ่นสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีกลวิธีการเล่าเรื่องโดยใช้ตัวละครในเรื่องเป็นผู้เล่า ส่วนศึกษาคุณค่าของวรรณกรรมแปลทางด้านสังคมและเศรษฐกิจญี่ปุ่นในสมัยไทโชที่มีผลต่อวรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่อง “ขัปปะ” นี้ ชี้ให้เห็นว่า วรรณกรรมเป็นภาพสะท้อนของสังคม และสังคมก็มีอิทธิพลต่อวรรณกรรมหรือต่อผู้แต่งเช่นกัน

ดาวน์โหลด บทความวิจัย
icon-pdf