การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ 2020 กับผลกระทบทางเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของญี่ปุ่น (2011-2021)

ศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่เป็นผลมาจากการเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกเกมส์ฤดูร้อน 2020 ตั้งแต่เป้าหมายยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ นโยบายที่ส่งเสริมร่วมกับโอลิมปิก การแก้ปัญหาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ค่าใช้จ่าย ผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม การแสตอบรับต่อการจัดงานโอลิมปิก

พัฒนาการภาพลักษณ์ของทิฟฟานี่ ยัง (Tiffany Young) จากศิลปินกลุ่มสู่ศิลปินเดี่ยว

ศึกษาภาพลักษณ์ของทิฟฟานี่ ยัง (Tiffany Young) จากศิลปินกลุ่มวง Girls’Generation สู่ศิลปินเดี่ยว

สังเคราะห์ภาพรวมความแตกต่างของซีรีส์ “Good doctor”เวอร์ชันเกาหลีใต้ (2012) และญี่ปุ่น (2018)

ศึกษาความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในละครโทรทัศน์เรื่อง “Good Doctor” ทั้งต้นฉบับเกาหลีใต้ (2012) และฉบับญี่ปุ่นรีเมก (remake) (2018)

Image Idol ภาพลักษณ์ Boy Band เกาหลีบนฐานคิดบริโภคนิยม

โดย นางสาววีณา แซ่กิม บทคัดย่อ จากความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลประเทศเกาหลีใต้ ทำให้อุตสาหกรรมหลายประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเพลงมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเผยแพร่ไปทั่วโลก บริษัทค่ายเพลงต่างๆ ทั้งใหญ่เล็กได้ดำเนินกิจการบนฐานคิดบริโภคนิยมอย่างชัดเจน กล่าวคือ ต่างก็เร่งเฟ้นหาบุคคลที่จะมาเป็นศิลปินหน้าใหม่ เพื่อจะนำรายได้มหาศาลมาสู่บริษัทของตนเอง โดยมีการเปิดออดิชั่นทั้งในประเทศเกาหลีใต้รวมถึงต่างประเทศด้วย บริษัทเพลงจะคัดเลือกบุคคลที่จะนำมาสร้างเป็นสินค้าแล้ว ก็จะพัฒนาสินค้าด้วยการปรับปรุงรูปร่างหน้าตา บุคลิก และสร้างภาพลักษณ์ และนำบุคคลมารวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่า บอยแบนด์ (Boy Band) สิ่งที่สำคัญของการเป็นบอยแบนด์คือ การมีสมาชิกหลายเชื้อชาติ มีภาพลักษณ์ความเป็นผู้ชาย แข็งแกร่ง สุภาพ อ่อนโยน น่ารัก กล่าวคือ สามารถมีบุคลิกหลากหลายได้ภายในคนๆ เดียวกัน ซึ่งภาพลักษณ์ดังกล่าวจะไปสู่สายตาคนภายนอกได้ก็ต้องผ่านสื่อ เช่น โทรทัศน์ หนังสือ นิตยสาร อินเทอร์เน็ต ภาพลักษณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ถือเป็นจุดเด่นของสินค้าที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการติดตาม และเกิดความนิยมตัวสินค้าที่เป็นศิลปินมากขึ้นนั่นเอง ดาวน์โหลด บทความวิจัย