ความเป็นผู้หญิงญี่ปุ่นในสมัยปัจจุบัน

โดย นางสาวจินต์จุฑา ศรีสนิท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง  ความเป็นผู้หญิงญี่ปุ่นในสมัยปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาภาพลักษณ์ของผู้หญิงที่ถูกผลิตซ้ำผ่านทางละครโทรทัศน์  และศึกษาความแตกต่างของชีวิตพนักงานหญิงญี่ปุ่น โดยใช้แนวความคิดสตรีนิยมสายหลังสมัยนิยม แนวความคิดเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี และเอกสารที่เกี่ยวกับสื่อกับผู้หญิงในการวิเคราะห์

Read more

เพศภาวะในมังงะวายและอะนิเมะวาย

โดย นางสาวจันทร์จิรา ปัญญาภวกุล บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเรื่อง “เพศภาวะในมังงะวายและอะนิเมะวาย” นั้น มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาความเป็นมาและลักษณะทางวัฒนธรรมของYaoi และ Yuri รวมถึงวิเคราะห์ Yaoi และ Yuri ในด้านเพศภาวะและเพศวิถี โดยมีวิธีการศึกษาเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิจากเอกสารที่เป็นสื่อตีพิมพ์ เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์ (วิทยานิพนธ์) และอินเทอร์เน็ต และมีการนำแนวคิดสตรีนิยม (Feminism) และแนวคิดเควียร์ (Queer Theory) มาเป็นกรอบความคิดในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าความเป็นมาของ Yaoi (ยาโอ้ย/ยะโออิ) นั้น สามารถแบ่งออกได้ 3 ยุคด้วยกัน คือ ยุคบุกเบิก (ช่วงปี1960) โดยในยุคนี้ได้ปรากฏภาพวาดความสัมพันธ์ทางกายเชิงสังวาสระหว่างเพศชายกับเพศชายด้วยกัน โดยไม่มีเนื้อเรื่องเล่า/บรรยายแต่อย่างใด เป็นเพียงภาพวาดที่ใช้ในการระบายความอัดอั้นของผู้หญิงญี่ปุ่นเท่านั้น ต่อมาในยุคการเปลี่ยนแปลง(ช่วงปลายปี1970) คาว่า “Yaoi” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นโดยเป็นคำที่ย่อมาจาก Yamanasi Ochinashi Iminashi (ยามะนะฉิ โอฉินาชิ อิมินาชิ) แปลว่า ไม่มีเนื้อเรื่องหลัก ไม่มีความหมาย ไม่มีไคลแมกซ์ ซึ่งเป็นภาพวาดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางกายในเชิงสังวาสระหว่างชายกับชายด้วยกัน โดยเป็นการล้อเลียนโครงสร้างของงานเขียนโคลงจีนยุคเก่า และในยุคนี้ก็ได้มีการจัดตั้งกลุ่ม “Boy … Read more