อิทธิพลศิลปะจีนในสถาปัตยกรรมสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) : กรณีศึกษาวัดราชโอรสาราม วัดกัลยาณมิตร และวัดเทพธิดาราม

นางสาวดลณภัส ศรีสิงหฬ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง อิทธิพลศิลปะจีนในสถาปัตยกรรมสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) : กรณีศึกษาวัดราชโอรสาราม วัดกัลยาณมิตร และวัดเทพธิดาราม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะศิลปะจีนในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้ศิลปะจีนเป็นที่นิยมในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

ผลการศึกษาพบว่าสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เกิดรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบใหม่ที่เรียกว่า “สถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยม” ซึ่งจะมีลักษณะที่ผิดแปลกจากแบบประเพณีเดิมจากเคยมีการใช้ไม้ในการทาหน้าบัน เปลี่ยนมาเป็นการก่ออิฐถือปูนทั้งหมด ทั้งเพื่อความสวยงามและความแข็งแรงคงทน นอกจากนี้ยังใช้ความเชื่อแบบคตินิยมมาใช้ในการตกแต่งภายในผนังโบสถ์ที่เป็นรูปสัตว์ ดอกไม้ เทพเจ้าต่างๆ ตามความเชื่อของชาวจีน ส่วนปัจจัยที่ทำให้ศิลปะจีนเป็นที่นิยมเกิดจากการเข้ามาค้าขายของชาวจีน เป็นผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ความรู้ อีกทั้งชาวจีนยังได้นำศิลปวัตถุของจีนเข้ามาในไทย ส่งผลให้เกิดอิทธิพลต่อการสร้างงานศิลปะไทยผสมกับจีน

บทความวิจัยฉบับเต็ม