การสร้างวงไพบูลย์ร่วมกันแห่งมหาเอเชียบูรพาของญี่ปุ่นกับผลกระทบต่อประเทศไทย ค.ศ. 1940 – 1945

นางสาวณัฐกฤตา กาลชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง การสร้างวงไพบูลย์ร่วมกันแห่งมหาเอเชียบูรพาของญี่ปุ่นกับผลกระทบต่อประเทศไทย ค.ศ. 1940 – 1945 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการสร้างวงศ์ไพบูลย์ร่วมกันแห่งมหาเอเชียบูรพาของจักรวรรดิญี่ปุ่น ค.ศ.1940-1945 และผลกระทบที่เกิดขึ้นในไทยเมื่อยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นยกขึ้นบกในปี ค.ศ. 1941 – 1945 ผลการศึกษาพบว่า ประเทศมหาอำนาจในโลกถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่ายนั่นคือฝ่ายสัมพันธมิตร และฝ่ายอักษะ ญี่ปุ่นเป็นชาติฝั่งเอเชียที่เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะโดยมีแนวความคิดด้วยว่าชนชาติญี่ปุ่นนั้นยิ่งใหญ่กว่าชนชาติอื่นใดในเอเชีย ญี่ปุ่นต้องการขับไล่อานาจต่างๆ จากฝั่งตะวันตกออกให้หมดสิ้นจากแผ่นดินเอเชียเพื่อที่ตนเองจะขึ้นเป็นผู้นำเหล่าประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ญี่ปุ่นต้องการจะจัดระเบียบใหม่ในเอเชีย โดยใช้คาว่าวงศ์ไพบูลย์ร่วมมหาเอเชียบูรพา ซึ่งญี่ปุ่นจะเป็นจุดศูนย์กลางของวงศ์ไพบูลย์นี้ รวมทั้งจีน แมนจูกัว ประเทศที่อยู่ติดญี่ปุ่นคือวงศ์ไพบูลย์หลัก แผ่ขยายอำนาจกว้างออกไปรอบนอก กล่าวคือประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือวงศ์ไพบูลย์นอก ด้วยความคิดชาตินิยมอย่างแรงกล้าที่ผลักดันญี่ปุ่นจนก่อสงครามกับนานาประเทศอย่างประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร

ไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสงครามมหาเอเชียบูรพาโดยตรง เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นประเทศไทยและมีความประสงค์ที่จะต้องการใช้พื้นที่ในแผ่นดินไทยเดินทางไปรบกับกองทัพอังกฤษที่พม่า ไทยซึ่งตกอยู่ในสภาวะต้องจำยอม รัฐบาลไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงได้ตกลงเซ็นสนธิสัญญาในการยินยอมให้ญี่ปุ่นได้ใช้พื้นที่ในประเทศไทยสร้างทางรถไฟหนุนกองทัพของญี่ปุ่น โดยที่ประเทศไทยเองก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคภาวะสงครามที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไทยได้ปรับเปลี่ยนสภาพสังคมอย่างกะทันหัน โดยเฉพาะเรื่องการโฆษณาชวนเชื่อในตัวผู้นำ จอมพล ป. พิบูลสงคราม การเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนไทยให้ศิวิไลซ์ ปลูกฝังความรักชาติ วัฒนธรรม ปรับภาษา และมีหลายอย่างสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน

บทความวิจัยฉบับเต็ม