การปฏิรูปการเมืองและประชาธิปไตยในญี่ปุ่นช่วงทศวรรษ 1860-1930

นางสาวพิชาภพ  ขันทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการปฏิรูปการเมืองและประชาธิปไตยในญี่ปุ่นช่วงทศวรรษ 1860-1930 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญทางการเมือง การปกครอง การศึกษา และระบบชนชั้นสังคมของญี่ปุ่นตั้งปลายสมัยโทกุงาวะในช่วงทศวรรษ 1860 ซึ่งนำไปสู่การปฏิรูปเมจิ จากการเข้ามาของชาติตะวันตก ญี่ปุ่นได้ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยจนเกิดการเรียกร้องระบอบประชาธิปไตยและความล้มเหลวของรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่การถูกปกครองด้วยระบอบลัทธิทหาร ในทศวรรษ 1930

ผลจากการศึกษาพบว่า การปฏิรูปการเมืองที่เกิดยุคสมัยเมจิในคริสต์วรรษ 1868 เป็นการเปลี่ยนครั้งสำคัญของระบอบการปกครอง เป็นช่วงที่เผชิญกับการเข้ามาของชาติตะวันตก เกิดผลกระทบต่อญี่ปุ่นทั้งด้านการเมือง สังคม และการค้า ทำให้ญี่ปุ่นต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ เกิดการปฏิรูปและพัฒนาประเทศในสมัยเมจิ จนได้กลายเป็นประเทศมหาอำนาจแห่งเอเชียในที่สุด นอกจากนี้การพัฒนาการศึกษายังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียกร้องการปกครองระบอบประชาธิปไตย แม้จะเริ่มมีการนำแนวคิดระบอบประชาธิปไตยเข้ามา แต่รัฐธรรมนูญเมจิยังคงอำนาจจักรพรรดิไว้สูงสุด และกองทัพทหารยังมีอำนาจเหนือรัฐบาล ประกอบกับด้วยรัฐบาลพลเมืองที่อ่อนแอ จนในทศวรรษ 1930 ลัทธิทหารนิยมเข้ามามีบทบาทอย่างมากและได้รับความศรัทธาจากประชาชน ญี่ปุ่นจึงเข้าสู่ช่วงการปกครองระบอบเผด็จการโดยทหารอย่างสมบูรณ์

แม้การพยายามปฏิรูปการเมืองในสมัยเมจิด้วยกรอบแนวคิดระบอบประชาธิปไตยจะไม่สำเร็จ แต่การที่ญี่ปุ่นสามารถปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยและเป็นประเทศมหาอำนาจได้ในระยะเวลาอันสั้น จึงเป็นรากฐาน

บทความวิจัยฉบับเต็ม