กลวิธีการใช้ภาษาในนวนิยายแปลจีน เรื่อง ย้อนกาลสารทวสันต์

นางสาวสุดารัตน์ ปานกลัด

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์ “กลวิธีการใช้ภาษาของนวนิยายแปลจีน เรื่อง ย้อนกาลสารทวสันต์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้คำ โวหาร และภาพพจน์ พร้อมทั้งศึกษากลวิธีการแปลของนวนิยายแปลจีน เรื่อง ย้อนกาลสารทวสันต์ โดยวิเคราะห์จากนวนายแปลจีนเรื่อง ย้อนกาลสารทวสันต์เล่ม 1 และ เล่ม 2

ผลการศึกษาพบว่า ด้านการใช้คำ ปรากฏรูปแบบการใช้คำทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่ 1. คำที่มีความหมายโดยนัย 2. คำแสดงอารมณ์ 3. คำเลียนเสียงธรรมชาติ 4. คำรูปธรรม 5. คำนามธรรม 6. คำด่าหรือคำหยาบ 7. คำเลียนเสียงพูด การใช้โวหาร ปรากฏรูปแบบการใช้โวหารทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ 1. บรรยายโวหาร 2. เทศนาโวหาร 3. พรรณนาโวหาร ส่วนการใช้ภาพพจน์ ปรากฏรูปแบบการใช้โวหารทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่ 1. อุปมา 2. สัญลักษณ์ 3. อติพจน์ 4. คำถามเชิงวาทศิลป์ 5. การเลียนเสียงธรรมชาติ

ด้านกลวิธีการแปล ปรากฏรูปแบบการแปลทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ 1.การถ่ายทอดความหมายในระดับคำ 2.การถ่ายทอดความหมายระดับข้อความหรือประโยค 3.การถ่ายทอดสำนวนสุภาษิตจีน

บทความวิจัยฉบับเต็ม