การศึกษาไททันในเชิงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยใช้แนวคิดปรัชญาเทคโนโลยีของ Andrew Feenburg ผ่านแอนิเมชันญี่ปุ่นเรื่อง Attack on Titan

ศึกษาแนวคิดของ Andrew Feenburg ที่มีต่อการวิเคราะห์ไททันและอาวุธรูปแบบอื่น ๆ ภายในเรื่อง Attack on Titan

ปรัชญาการศึกษาในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง ห้องเรียนลอบสังหาร

ศึกษาปรัชญาการศึกษาที่ปรากฏในเรื่อง รวมถึงศึกษาวิเคราะห์ลักษณะการศึกษาในเรื่องกับลักษณะการศึกษาในปรัชญาการศึกษา

ความคิด ความเชื่อของศาสนาชินโตในสังคมญี่ปุ่นที่นำเสนอผ่านการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง โนรากามิ เทวดาขาจร

ศึกษาและวิเคราะห์ ความคิด ความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาชินโตและสภาพสังคมญี่ปุ่นที่สะท้อนในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง โนรากามิ เทวดาขาจร

การอยู่ร่วมกันในสังคมการเมือง : การปลูกฝังความเกลียดชังเพื่อสงครามกับการเจรจาเพื่อแสวงหาสันติภาพที่ปรากฏในเรื่อง ผ่าพิภพไททัน (Shingeki no Kyojin)

ศึกษาและวิเคราะห์สงครามผ่านการนำเสนอของผู้เขียน และศึกษาการปลูกฝังความเชื่อและการเจรจาเพื่อหาทางยุติความขัดแย้งที่ปรากฎในเรื่อง นำไปสู่การวิเคราะห์การอยู่ร่วมกันในสังคมการเมืองที่มนุษย์มีความคิดและอุดมการณ์ต่างกัน

การสร้างภาพแทน และการยอมรับกลุ่ม LGBTQ+ ในเกาหลีใต้ และไทยผ่านภาพยนตร์

ศึกษาการนำเสนอภาพแทนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) และแนวความคิดที่แฝงอยู่ในสื่อภาพยนตร์ในเกาหลีใต้ และไทย และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับกลุ่มความหลากหลายทางเพศในเกาหลีใต้ และไทย ผ่านภาพยนตร์เรื่อง Sweet Munchies และภาพยนตร์เรื่องแปลรักฉันด้วยใจเธอ

ค่านิยมในการพัฒนาสังคมคนไร้ศาสนา กรณีศึกษาเกาหลีใต้

ศึกษาเกี่ยวกับค่านิยมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยสะท้อนผ่านการปกครองและปฏิรูปประเทศตั้งแต่ยุคสามอาณาจักรจนกลายเป็นสาธารณรัฐเกาหลีใต้ รวมถึงศึกษาค่านิยมการนับถือศาสนาของสังคมเกาหลีในปัจจุบัน