ประวัติศาสตร์จีนในวรรณกรรมกำลังภายในเรื่องดาบมังกรหยก

โดย นายสิรวิชญ์ เวชวิฐาน บทคัดย่อ การศึกษาเรื่อง ”ประวัติศาสตร์ในวรรณกรรมกำลังภายในเรื่องดาบมังกรหยก” เพื่อวิเคราะห์วรรณกรรมกำลังภายในเรื่องดาบมังกรหยกในด้านองค์ประกอบทางวรรณกรรม และ ศึกษาข้อมูลเบื้องหลังการนำเอาประวัติศาสตร์จีนในช่วงราชวงค์ หยวน และ ราชวงค์ หมิง มาใช้ในการประพันธ์ โดยการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตัววรรณกรรมเรื่องดาบมังกรหยก  ศึกษาองค์ประกอบทางวรรณกรรมอันได้แก่ เนื้อเรื่อง ตัวละคร แก่นเรื่อง ฉากและบรรยากาศ และ ศึกษาการประยุกต์ใช้ประวัติศาสตร์กับการประพันธ์วรรณกรรมกำลังภายในเรื่องดาบมังกรหยก จากเอกสารที่เกี่ยวข้อ จากการศึกษาพบว่า องค์ประกอบทางวรรณกรรมทั้ง 5 ส่วนของวรรณกรรมกำลังภายในเรื่องดาบมังกรหยกมีการประยุกต์เอาประวัติศาสตร์มาใช้ในการประพันธ์ ได้แก่ แก่นเรื่องที่แสดงการต่อสู้เพื่อปลดแอกชนชาติจีนของยุคราชวงค์หยวนคาบเกี่ยวถึงต้นราชวงค์หมิง โครงเรื่องประกอบขึ้นในช่วงเหตุการณ์สงครามระหว่างพรรคกู้ชาติชาวจีนที่ลุกขึ้นต่อสู้กับผู้ปกครองชาวมองโกล ตัวละคร  ฉาก  และ บทสนทนา ตลอดทั้งเรื่องล้วนสอดแทรกเรื่องจริงทางประวัติเอาไว้โดยมุ่งให้กลมกลืนไปกับเนื้อเรื่องอย่างสนิทที่สุด ตัวละครสำคัญหลายตัว มีบทบาทสำคัญในความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ต่อสังคมจีน และ ต่อภาพรวมการปกครองในสมัยดังกล่าว ดาวน์โหลด บทความวิจัย

วิจัยวรรณกรรมแปลเรื่อง โตเกียวทาวเวอร์ แม่กับผมและพ่อในบางคราว: กรณีศึกษา สิ่งที่ลูกต้องการจะตอบแทนความรักของแม่

โดย นางสาวพรศุลี วิภูษณะอุกฤษฏ์

บทคัดย่อ

หนังสือเรื่องโตเกียวทาวเวอร์ แม่กับผมและพ่อในบางคราว นั้นเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนถึงเรื่องราวของแม่ลูกคู่หนึ่งด้วยเหตุการณ์สมจริง ใช้ภาษาให้อ่านง่าย โตเกียวทาวเวอร์แม่กับผมและพ่อในบางคราว  ผู้เขียนได้ถ่ายทอดเรื่องราวจากชีวิตจริงของเขาโดยใช้มาคุงตัวละครเอกเป็นผู้เล่าเรื่อง

Read more

วิถีนินจา ในนวนิยายแปลชุด เทลส์ ออฟ ดิ โอโตริ

โดย นายคณิต กาญจนจงกล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเล่มนี้ เป็นการศึกษาวิถีนินจาที่ปรากฏอยู่ในนวนิยายแปลชุด เทลส์ ออฟ ดิ โอโตริ ประพันธ์โดย ลิอัน เฮิร์น แปลโดยวันเพ็ญ บงกชสถิตย์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์วิถีนินจาในนวนิยายแปลชุด เทลส์ ออฟ ดิ โอโตริ ทั้งในด้านของตัวละครนินจา ลักษณะความเป็นนินจา และกระบวนการสร้างความเป็นนินจา

Read more

โสเภณี แม่เล้า เจ้าพ่อในวรรณกรรมแปลจีนเรื่อง นางโลมแห่งเซี่ยงไฮ้

โดย นางสาวภัคธมน สุทธิเดชสุนทร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของตัวละครเอกที่เป็นโสเภณี และเจ้าพ่อในวรรณกรรม และเพื่อศึกษาสภาพสังคมจีนที่สะท้อนผ่านวรรณกรรม โดยข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ วรรณกรรมแปลจีนเรื่อง นางโลมแห่งเซี่ยงไฮ้ เขียนโดย หงอิง แปลไทยโดย ‘ณวรา’ สำนักพิมพ์ สันสกฤต พ.ศ.2552

Read more

ปมปัญหาของลูกคนกลางและสภาพสังคมไต้หวันช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นและจีน ผ่านวรรณกรรมไต้หวันเรื่อง “เกิดมาเป็นลูกคนกลาง”

โดย นางสาวนัสรีน  เส้นขาว

บทคัดย่อ

การศึกษาปมปัญหาของลูกคนกลางและสภาพสังคมไต้หวันช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นและจีนผ่านวรรณกรรมไต้หวันเรื่อง “เกิดมาเป็นลูกคนกลาง” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปมปัญหาของลูกคนกลางโดยมองผ่านตัวละครเอกในเรื่อง “เกิดมาเป็นลูกคนกลาง” และเพื่อศึกษาสภาพสังคมและชีวิตของชาวไต้หวันในช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นและจีนคณะชาติที่สะท้อนผ่านนวนิยายเรื่องนี้

Read more

ภาพสะท้อนของผู้หญิง และความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมในวรรณกรรม แปลจีนเรื่อง “นารีนครา

โดย นางสาวธิดารัตน์ ศิริวรางกูร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องภาพสะท้อนของผู้หญิง และความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมในวรรณกรรมแปลจีนเรื่อง “นารีนครา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสังคมและวัฒนธรรมของประเทศจีนในช่วงก่อนปฏิวัติวัฒนธรรมจนถึงช่วงหลังเปิดประเทศ รวมถึงศึกษาวิถีชีวิต และแนวคิดของผู้หญิงจีนในแต่ละช่วง ตลอดจนศึกษาการสร้างตัวละครและการนำเสนอของผู้เขียนในประเด็นเรื่องความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมตามที่ปรากฏในวรรณกรรมแปลจีน เรื่อง นารีนครา

Read more

การวิเคราะห์สารคดีอัตชีวประวัติแปลจีนเรื่อง “กู๊ดมอร์นิ่งเหล่าซือ”

โดย นางสาวชนัญญา พูนบำเพ็ญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการวิเคราะห์สารคดีอัตชีวประวัติแปลจีนเรื่อง “กู๊ดมอร์นิ่งเหล่าซือ”มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สารคดีอัตชีวประวัติแปลจีนเรื่อง “กู๊ดมอร์นิ่งเหล่าซือ”ตามหลักการวิเคราะห์สารคดี ได้แก่ ข้อเท็จจริงและทัศนะของผู้เขียน กลวิธีการดำเนินเรื่อง และ    คุณค่าของสารคดีอัตชีวประวัติแปลจีนเรื่อง“กู๊ดมอร์นิ่งเหล่าซือ” รวมทั้งสรุปผลการศึกษา

Read more

ความเชื่อของคนเกาหลี : กรณีศึกษาจากวรรณกรรมเรื่องผีเกาหลี

โดย นางสาววลัยพรรณ พะลายานนท์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อของคนเกาหลีผ่านวรรณกรรมเรื่อง ผีเกาหลี ของ อิมบางและยี รยุค วรรณกรรมเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงลักษณะสังคม ประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อในยุคนั้นว่าเป็นอย่างไรโดยใช้แนวคิดเรื่องความเชื่อทางวิญญาณ และความเชื่อทางพระพุทธศาสนา

Read more

การวิเคราะห์แนวคิดและคุณค่าของนิทานเกาหลี

โดย นางสาวจิราพัชร เลาวกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้ มีจุดประสงค์ในการศึกษาประเภทและวิเคราะห์แนวคิดของสังคมเกาหลีที่ปรากฏในวรรณกรรมนิทานเกาหลี  และศึกษาคุณค่าของนิทานเกาหลีด้าน สังคม วิถีชีวิต และค่านิยมความเชื่อต่างๆของคนเกาหลีโดยงานวิจัยเรื่องนี้ศึกษาจากหนังสือเรื่อง นิทานพื้นบ้านและเทพนิยายพื้นบ้านเกาหลี ของ ซูซาน คราวเตอร์ ฮัน แปลโดย เกสร เจริญรักษ์ มีนิทานทั้งหมดจำนวน 64  เรื่อง

Read more

ผลการศึกษาการฝึกสมาธิระยะสั้นโดยเกมออนไลน์ : กรณีศึกษาเกมปังย่า

โดย นางสาวอัจฉรา แซ่ฉั่ว

บทคัดย่อ

ผลการศึกษาการฝึกสมาธิระยะสั้นโดยเกมออนไลน์ : กรณีศึกษาเกมปังย่ามีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์ข้อสมมติฐานของผู้วิจัยว่าการเล่นเกมออนไลน์สามารถสร้างสมาธิได้ มีวิธีการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมและการทดสอบ Stoop Test

Read more

ประวัติความเป็นมาของชาวจีนฮากกา กรณีศึกษา : ธุรกิจธนาคารกสิกรไทย

โดย นางสาว จุฑาธร แซ่เตีย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา เกี่ยวกับชาวจีนฮากกาที่ประเทศจีนและในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของชาวจีนฮากกาในประเทศจีนประวัติและปัจจัยการอพยพของชาวจีนฮากกาเข้าสู่ประเทศไทยครั้งสำคัญๆอีก ทั้งเพื่อศึกษาธุรกิจของชาวจีนแคะในประเทศไทย

Read more

การแข่งขันทางการเมืองของขุนนางฝ่ายพลเรือนในสมัยราชวงศ์โชซอน

โดย นางสาวชุติมา อิทธิพเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาบทบาททางการเมืองการปกครองของขุนนางฝ่ายพลเรือนในอาณาจักรโชซอน ความขัดแย้งของขุนนางฝ่ายพลเรือนทางด้านการเมือง ในอาณาจักรโชซอน ศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์

Read more

เปลี่ยนแปลงรูปแบบและความสำคัญของดาบญี่ปุ่นต่อชนชั้นซามูไร ตั้งแต่สมัยนาระถึงสมัยเอโดะ

โดย นายสุวัธน์ เรืองศรี

บทคัดย่อ

บทความเรื่องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและความสำคัญของดาบญี่ปุ่นต่อชนชั้นซามุไร ตั้งแต่สมัยนาระถึงสมัยเอโดะ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและความสำคัญของดาบญี่ปุ่นต่อชนชั้นซามูไรตั้งแต่สมัยนาระถึงสมัยเอโดะ

Read more

ยุทธนาวีมิดเวย์กับการสูญเสียอำนาจครอบครองเอเชียแปซิฟิกของ

โดย นายศรัณย์ เกิดหิรัญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเหตุการณ์ในยุทธนาวีมิดเวย์ เพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์การดำเนินการของกองทัพญี่ปุ่นต่อมิดเวย์ ภายใต้การบัญชาการของพลเอกยามาโมโต้ และความสำคัญของมิดเวย์ที่อยู่ในฐานะหน้าด่านที่สำคัญที่สุดสำหรับสหรัฐอเมริกา

Read more

บทบาทของสหรัฐอเมริกากับการเปิดท่าเรือญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1850-1868

โดย นางสาวลดาวัลย์ ดวงใจ

บทคัดย่อ

บทความเรื่องบทบาทของสหรัฐอเมริกากับการเปิดท่าเรือญี่ปุ่นตั้งแต่ค.ศ. 1850-1868 มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายให้เห็นถึงบทบาทของสหรัฐอเมริกาต่อการเข้ามาเปิดท่าเรือญี่ปุ่น โดยเน้นศึกษาถึงปัจจัยที่มีส่วนผลักดันให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาดำเนินการเปิดท่าเรือญี่ปุ่นในสมัยโทกุงาวะ

Read more

บทบาทของกองทัพญี่ปุ่นในสงครามนานกิง

โดย นางสาวรัชนีกรณ์ ต่อรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องบทบาทของกองทัพญี่ปุ่นในสงครามนานกิงมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพญี่ปุ่นในสงครามนานกิงโดยเน้นการศึกษาถึงปัจจัยที่นำไปสู่การรุกรานนานกิง การดำเนินการของกองทัพญี่ปุ่นในนานกิง รวมทั้งผลกระทบที่นานกิงได้รับ

Read more

การเปลี่ยนแปลงของอาณาจักรริวกิว ไปสู่การเป็นจังหวัดโอกินาวา ตั้งแต่ศตวรรษต้นที่14 – ค.ศ. 1879

โดย นางสาวฐิติกานต์ อณารัตน์ 

บทคัดย่อ

อาณาจักรริวกิว เกิดขึ้นจากการรวบรวมชุมชนภายในเกาะริวกิวและเกาะอื่นๆใกล้เคียง แล้วแยกการควบคุมออกเป็นสามแคว้น ได้แก่  แคว้นโฮคุซัน แคว้นจูซัน และแคว้นนันซัน  โดยมีผุ้ปกครองแต่ละแคว้น อาณาจักรริวกิวสามารถดำรงอยู่เป็นอาณาจักรได้ เพราะได้รับการเกื้อกูลอยู่อย่างเต็มที่จากราชวงศ์หมิง

Read more

ความรุ่งเรืองในสมัยโทะกุงะวะตอนต้น ระหว่างค.ศ.1603 – 1651

โดย นายฐิติกาญจน์   สุนทรเกตุ

บทคัดย่อ

บทความเล่มนี้ได้ศึกษาถึงความรุ่งเรืองของญี่ปุ่นในสมัยโทะกุงะวะตอนต้น ระหว่างค.ศ.1603-1651 ซึ่งเป็นรัฐบาลทหารชุดสุดท้ายของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นก่อนคืนอำนาจให้แก่องค์จักรพรรดิในสมัยเมจิ ซึ่งสร้างความรุ่งเรืองให้แก่ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นในหลายๆด้าน

Read more

ความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์จีน-ญี่ปุ่น กรณีศึกษาหมู่เกาะเตียวหยูหรือเซนกากุ

โดย นางสาวพงศ์สุภา   บุศยบุตร

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์เรื่องความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์จีน-ญี่ปุ่น กรณีศึกษาหมู่เกาะเตียวหยูหรือเซนกากุ เป็นการศึกษาถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นในประเด็นที่เกี่ยวกับดินแดนและทรัพยากรธรรมชาติโดยรอบ ในช่วงตั้งแต่ค.ศ.1894-2012 โดยจะเน้นไปในเรื่องความสำคัญของหมู่เกาะเตียวหยูหรือเซนกากุและเบื้องหลังทางประวัติศาสตร์ระหว่างจีนและญี่ปุ่นที่เป็นสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง

Read more

บทบาททางการทูตของโจวเอินไหล ค.ศ. 1920 – 1976

โดย นางสาวภูริษา  ใจเย็น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาททางการทูตของโจวเอินไหล ค.ศ. 1920 – 1976 เนื่องจาก โจวเอินไหลเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีนที่มีวาทกรรมทางการทูตเหนือกว่าบุคคลอื่นทั้งวิธีการต่อสู้ การแย่งชิงอำนาจในทางการเมืองระหว่างประเทศ ทำให้ได้เปรียบในการเจรจานำมาซึ่งผลประโยชน์ต่อประเทศจีน

Read more