อิทธิพลศาสนาพุทธที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง ตำนานเดชนางพญางูขาว ของผู้กำกับเฉินเสี่ยวตง

โดย นางสาวธัญญาพร อิ่มสรรพางค์

บทคัดย่อ

ภาพยนตร์เรื่อง ตำนานเดชนางพญางูขาวของผู้กำกับเฉินเสี่ยวตง ถือเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญของวงการภาพยนตร์ ด้วยการทุ่มทุนสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ของผู้กำกับที่ได้ชื่อว่าถนัดที่สุดกับการทำภาพยนตร์แนว Action Fantasy งานออกแบบฉากการต่อสู้ของเขาในภาพยนตร์เรื่องนี้อลังการและเต็มไปด้วยความดุดัน สวยงาม ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นตำนานเก่าแก่และมีชื่อเสียงของเมืองหังโจวประเทศจีนซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

Read more

Mr.Idol : เบื้องหลังความทรหดสู่ปลายทางแห่งความฝัน

โดย นางสาวอภิญญา สินะวัฒน์

บทคัดย่อ

ภาพยนตร์เรื่อง Mr.Idol ดังคับฟ้ามาอย่างเทพ เป็นผลงานการกากับของราฮีชาน (Ra Hee Chan) ผู้กำกับชาวเกาหลีใต้ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอเรื่องราวของคนที่มีความฝันและพยายามทำความฝันของตนเองให้เป็นความจริง

Read more

โทโฮชินกิ (Tohoshinki) เทพเจ้าแห่งโลกตะวันออก: เบื้องหลังความสำเร็จในญี่ปุ่น

โดย นางสาวรัฐกานต์ วงษ์อุดมวิชญ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินเกาหลีในประเทศญี่ปุ่นโดยเลือกศึกษาวงโทโฮชินกิ (Tohoshinki) เฉพาะช่วงพ.ศ. 2547 – 2552 ในประเทศญี่ปุ่น ข้อมูลวิจัยนี้เป็นข้อมูลแบบทุติยภูมิ เก็บข้อมูลโดยการสืบค้นข้อมูลการทำงานดนตรีและผลงานต่างๆ เช่น ผลงานเพลง บทสัมภาษณ์ และรางวัลที่ได้รับจากสื่ออิเล็กซ์โทรนิกส์และเอกสารต่างๆ โดยมีการแปลข้อมูลและเรียบเรียงขั้นตอนตามหัวข้อที่ศึกษาวิจัย

Read more

สงครามนานกิง สิ้นแผ่นดินไม่สิ้นเธอ (The Flowers of War) : การจัดวางตัวเองขึ้นใหม่ ของจาง อี้โหมว

โดย นางสาววิริยา ขาวพัฒนวรรณ

บทคัดย่อ

ภาพยนตร์เรื่อง The Flowers of War ผลงานชิ้นล่าสุดของผู้กำกับจางอี้โหมว ผู้กำกับที่มีบทบาทในวงการภาพยนตร์จีน ได้กลับมาสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมอีกครั้ง ด้วยเนื้อหาที่มีความเป็นกลาง นำเสนอมุมมองของจางอี้โหมวในด้านความรัก ความเสียสละท่ามกลางสภาะสงคราม ที่ยังคงเอกลักษณ์ในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ไว้ได้อย่างครบถ้วน

Read more

สัญลักษณ์ในภาพยนตร์กับการสะท้อนสังคม : กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่อง 2046

โดย นางสาวจิตประภัสสร ตัณฑพาทย์

บทคัดย่อ

ถ้าภาพยนตร์สักเรื่องคือการสะท้อนความคิดและตัวตนของผู้กำกับ  2046 ก็เป็นงานสร้างที่สะท้อนตัวตนของหว่องกาไวออกมาได้อย่างชัดเจน ร่องรอยแห่งความประทับใจ ความทรงจำ และความหลงใหลในผลงานที่ผ่านมาได้ถูกถ่ายทอดผ่านงานชิ้นนี้ สำหรับผู้ชมที่คอยติดตามภาพยนตร์ของหว่องกาไว ความสนุกอย่างหนึ่งในการชมภาพยนตร์เรื่อง 2046 นี้ คือการได้เห็นผลงานเก่าๆ

Read more

เอกลักษณ์ของภาพยนตร์อนิเมชั่นของมาโคโตะ ชินไค

โดย นางสาวภิสรา ปฐมสุนทรชัย

บทคัดย่อ

มาโคโตะ ชินไค (Makoto Shinkai) คือนักสร้างภาพยนตร์อนิเมชั่น (Animator) ที่กำลังเป็นที่จับตาในวงการภาพยนตร์อนิเมชั่น ได้รับการกล่าวถึงผลงานที่ยอดเยี่ยม คือเรื่องเสียงเพรียกจากดวงดาว ที่สร้างเพียงคนเดียว เรื่องเหนือเมฆาที่แห่งคำมั่นสัญญาของสองเรา และเรื่องยามซากุระร่วงโรย ล้วนได้การรับรองด้วยรางวัลต่างๆ เช่น Best Animated Film – Mainichi Film Awards 2004 , รางวัล Lancia Platinum Grand Prize ในงานFuture Film Festival และอื่นๆ ผลงานทั้งสามเรื่องมีความโดดเด่นทั้งในด้านเนื้อหา ด้านเทคนิคภาพยนตร์และภาพอนิเมชั่น

Read more

อิทธิพลของกลองพื้นบ้านเกาหลีต่อการแสดงร่วมสมัย “นันทา”

โดย นางสาวจิราพร สุดพลับ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและลักษณะของเครื่องดนตรีพื้นบ้านเกาหลีที่ปรากฏในการแสดงร่วมสมัยนันทา และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความร่วมสมัยของการแสดงนันทากับเครื่องดนตรีพื้นบ้านเกาหลี โดยมีวิธีการศึกษาด้วยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ อาทิเช่น หนังสือทั้งภาษาไทยและภาษต่างประเทศ บทความจากวารสาร และข้อมูลจากสื่อออนไลน์ต่างๆ

Read more

ซึงมู : ศิลปะแห่งการร่ายรำ

โดย นายวราวุฒิ แสงบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและองค์ประกอบการแสดงของระบาซึงมู โดยเน้นศึกษารูปแบบการแสดงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศเกาหลี อีกทั้งเพื่อศึกษาให้เห็นถึงความสำคัญของศาสนาพุทธที่มีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนเกาหลีผ่านการแสดงออกทางพิธีกรรม

Read more

กรณีศึกษาละครเวทีเกาหลีเรื่อง Ballerina who loves B-Boy

โดย นางสาวสุกัญญา ธรรมแสง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของรูปแบบศิลปะการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยผ่านการแสดงละครแนว Physical Theatre และเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบอิทธิพลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเคลื่อนไหวของร่างกายในศิลปะการแสดง

Read more

ความหมายของหุ่นยนต์แอนดรอยด์ “เจมินอยด์ เอฟ” ในละครเวทีเรื่อง “ซาโยนาระ”

โดย นางสาววัชรารัสมิ์ ศิริสารภักดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องความหมายของหุ่นยนต์แอนดรอยด์ “เจมินอยด์ เอฟ” ในละครเวทีเรื่อง “ซาโยนาระ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของหุ่นยนต์แอนดรอยด์“เจมินอยด์ เอฟ” (Geminoid-F) ในละครเวทีเรื่อง “ซาโยนาระ” (Sayonara) เพอื่ ศึกษาพัฒนาการทางการละครเวทีที่นำหุ่นยนต์มาร่วมแสดงกับมนุษย์ (Android-Human Theatre) และเพื่อศึกษาวิธีการนำเสนอ ตลอดจนแรงบันดาลใจของผู้สร้างละครเวทีเรื่อง “ซาโยนาระ”

Read more

แนวคิดของหว่องกาไวที่สะท้อนผ่านภาพยนตร์เรื่อง : Day Of Being Wild, In The Mood For Love และ 2046

โดย นายศิวัช ยิ้มเพ็ชร บทคัดย่อ ถ้าพูดถึงผู้กำกับภาพยนตร์ชาวจีนที่สร้างผลงานภาพยนตร์แนวความรัก ที่มีชื่อเสียงในแวดวงภาพยนตร์ระดับโลก คงต้องนึกถึง หว่องกาไว ด้วยผลงานที่เป็นที่ยอมรับ ทำให้เขาประสบความสาเร็จในวงการภาพยนตร์นานาชาติ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องการจะศึกษา แนวความคิดของหว่องกาไวที่สะท้อนผ่านภาพยนตร์เรื่อง Day Of Being Wild , In The Mood For Love และ 2046 โดยศึกษาจากประวัติ ภูมิหลังผู้กำกับ และวิเคราะห์ผลงานภาพยนตร์ตามแนวทฤษฎีประพันธกร เพื่อให้ทราบถึงแนวความคิดของผู้กำกับที่สะท้อนผ่านผลงานภาพยนตร์ทั้งสามเรื่องนี้ ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า หว่องกาไวมีความเป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ตามแนวทางทฤษฎีประพันธกร เขาสามารถถ่ายทอดความเป็นตัวตน แนวคิดและทัศนคติของตนผ่านผลงานภาพยนตร์ได้อย่างดีเยี่ยม ดาวน์โหลด บทความวิจัย

ศิลปะจีนสมัยใหม่

โดย นางสาวสุทธินี วัฒนไวฑูรย์ชัย

บทคัดย่อ

“ไม่มีใครเคยคาดคิดได้เลยว่าศิลปะเอเชียจะเติบโตมากขนาดนี้ จากที่ครั้งหนึ่ง ศิลปินจีนเคยวาดภาพโฆษณาชวนเชื่อโดยไม่ได้รับค่าจ้าง แต่ตอนนี้พวกเขาได้ค่าตอบแทนผลงานบางชิ้นสูงที่สุดในเอเชียหรือแม้แต่ในตลาดศิลปะร่วมสมัยของโลก”

Read more

ระบำจังกู

โดย นายชนินท์ณัฐ โนภาส

บทคัดย่อ

ระบำจังกูชุมจัดอยู่ใน มรดกทางวัฒนธรรม โดยรัฐบาลเกาหลีจัดว่าระบำชุดนี้เป็นนาฏศิลป์ดั้งเดิมของประเทศเกาหลีที่สามารถบอกได้ถึงนาฏศิลป์ที่มีมาช้านานได้เป็นอย่างดี สำหรับผู่ที่สามารถเต้นและสอนระบำจังกูชุมได้จะถูกจัดเป็นปูชนียบุคคลด้านวัฒนธรรมอีกด้วย

Read more

การพัฒนาการของราคุโกะในยุคเอโดะและยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

โดย นางสาวถนอมนวล บางผึ้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาถึงความเป็นมาและพัฒนาการของราคุโกะในยุคเอโดะ (1600-1868) และในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (1945-ปัจจุบัน) ซึ่งเป็นศิลปะวัฒนะธรรมการเล่าเรื่องของประเทศญี่ปุ่น

Read more

เป้าหมายของโครงการอวกาศของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

โดย นางสาวกชกร เลี้ยงฤทัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความเป็นมา วิวัฒนาการและเป้าหมายของโครงการอวกาศของจีน ทั้งในด้านการศึกษาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการใช้โครงการอวกาศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนในประเทศให้เจริญก้าวหน้าและด้านการใช้โครงการอวกาศเพื่อสร้างความมั่นคงและภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาประชาคมโลก

Read more

การศึกษากับการพัฒนาประเทศ : ศึกษากรณีการปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษาของญี่ปุ่น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2– ปี ค.ศ.1975 (Education and Development: A case study of the higher education reform in Japan, from the post-world warII – 1975)

โดย นางสาวศิริลักษณ์ มงคลศิริโรจน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับการพัฒนาประเทศญี่ปุ่นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วง ค.ศ.1945-1975 โดยมีสมมติฐานของการศึกษาคือ การปฏิรูปการศึกษาโดยเฉพาะระดับอุดมศึกษาของประเทศญี่ปุ่นเป็นปัจจัยสาคัญที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาเป็นชาติมหาอำนาจโดยเฉพาะทางเศรษฐกิจตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

Read more

ความรุนแรงทางการเมือง ศึกษาผ่านวรรณกรรมเรื่อง The Rape of Nanking War and Political Violence: An interpretation of the novel “The Rape of Nanking”

โดย นางสาวสิริภัทร นาคนาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “ความรุนแรงทางการเมือง ศึกษาผ่านวรรณกรรมเรื่อง The Rape of Nanking” นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ผลักดันให้ทหารญี่ปุ่นกระทาความรุนแรงต่อทหารจีน พลเมืองจีน โดยเฉพาะสตรีชาวจีนที่ต้องตกเป็นเหยื่อในการข่มขืน โดยพิจารณาร่วมกับประเด็นการศึกษาเรื่อง สาเหตุของการทาสงคราม การรุกรานจีนของญี่ปุ่นผ่านกรอบแนวคิด Realism และ ศึกษาเงื่อนไข สาเหตุและรูปแบบของกรณีความรุนแรงทางการเมืองต่างๆ ทั้งสงครามระหว่างประเทศและสงครามภายในประเทศ อย่าง กรณีสังหารหมู่ชาวจีนในสงครามนานกิง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว การพันธุฆาตในรวันดา และสงครามกลางเมืองในบอสเนียและเฮอร์โซโกวินา รวมถึงการศึกษาเรื่องการข่มขืนซึ่งเป็นความรุนแรงรูปแบบหนึ่งที่ปรากฏในกรณีสงครามนานกิง โดยมีสมมติฐานในการศึกษา คือ ความรังเกียจทางด้านชาติพันธุ์ เป็นเหตุทำให้ทหารญี่ปุ่นกระทำความรุนแรง โดยเฉพาะการข่มขืน ต่อสตรีชาวจีน

Read more

ซูสีไทเฮาผู้กุมอำนาจแห่งจีน

โดย นางสาวภัทรภร ธัญธรรมรัตน์

บทคัดย่อ

บทความเรื่องซูสีไทเฮาผู้กุมอำนาจแห่งจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพศสภาวะและเพศวิถีของผู้หญิงชนชั้นสูง (ซูสีไทเฮา) ที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งวิเคราะห์บริบทและปัจจัยที่กำหนด เพศสภาวะและเพศวิถีของผู้หญิงชนชั้นสูง (ซูสีไทเฮา) โดยการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ อาทิ หนังสือ บทความจากวารสาร บทความทางวิชาการ เอกสารประกอบการเรียนและข้อมูลจากสื่อออนไลน์ต่างๆ รวมทั้งนำกรอบความคิดสตรีนิยม แนวความคิดเรื่องเพศสภาวะและเพศวิถีมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล

Read more

รสนิยมกับการบริโภคเพลงตะวันตกในสังคมญี่ปุ่นกับทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคม

โดย นางสาวชลธิชา จันทร์ดิษฐวงษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมเพลงตะวันตกในสังคมญี่ปุ่นแต่ละยุคที่มีอิทธิพลต่อลักษณะรสนิยมการบริโภคเพลงตะวันตกในสังคมญี่ปุ่น อันจะนำไปสู่การสร้างทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคม โดยการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการที่เป็นทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และข้อมูลจากสื่อออนไลน์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเพลงและดนตรีตะวันตกในสังคมญี่ปุ่นตลอดจนลักษณะเพลงของประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้ว่าได้รับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตกมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ได้นำแนวความคิดต่างๆ ทางด้านสังคมศาสตร์มาใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์อิทธิพลของเพลงตะวันตกที่มีต่อสังคมญี่ปุ่น

Read more

ความเป็นตะวันตกในเซี่ยงไฮ้ : ผสมผสานตะวันตกเข้ากับตะวันออกผ่านอุดมการณ์

โดย นางสาวพลอยไพลิน บริบูรณ์นาคม บทคัดย่อ งานวิจัยเรื่องความเป็นตะวันตกในเซี่ยงไฮ้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความเป็นตะวันตกในเมืองเซี่ยงไฮ้โดยเฉพาะ และศึกษาวิธีการเผยแพร่ความเป็นสากลแบบตะวันในแต่ละยุคสมัยรวมทั้งศึกษาผลดีและผลเสียในด้านต่างๆ ในแง่มุมสังคมศาสตร์ ซึ่งมีการศึกษาจากเอกสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆ อาทิ หนังสือ วารสาร บทความวิชาการ และข้อมูลจากแหล่งเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ผลการศึกษาพบว่าลักษณะความเป็นสากลหรือความเป็นตะวันตกที่เข้ามาในเมืองเซี่ยงไฮ้มีการเผยแพร่ด้วยกัน 2 วิธี 1.การเผยแพร่กลไกด้านการปราบปรามโดยใช้สงครามเป็นตัวการที่แทรกซึมแกมบังคับให้ชาติที่เป็นผู้แพ้สงครามต้องยอมรับไป และ 2.การเผยแพร่กลไกด้านอุดมการณ์ เช่น อุดมการณ์ด้านการศึกษา ศาสนา ครอบครัว และศิลปวัฒนธรรมเป็นต้น ซึ่งได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 6 ยุค ได้แก่ ยุคก่อกำเนิดความเป็นตะวันตกในเซี่ยงไฮ้ ค.ศ. 1842-1900 ยุคตะวันตกกับความหลากหลาย ค.ศ. 1901-1948 ยุคต่อต้านความเป็นตะวันตกด้วยอุดมการณ์แบบตะวันตก ค.ศ. 1949-1976 ยุคเปิดรับตะวันตกผ่านเทคโนโลยี ค.ศ. 1978-1991 ยุคตะวันตกกับการก้าวกระโดด ค.ศ. 1992-2000 ยุควัฒนธรรมตะวันตกกับการบริโภค ค.ศ. 2001-ปัจจุบัน โดยที่แต่ละยุคมีลักษณะของความเป็นตะวันตกและวิธีการเผยแพร่ที่แตกต่างกันไปตามบริบทของสังคมในแต่ละยุคสมัย นอกจากนี้ยังพบว่าเซี่ยงไฮ้เป็นสังคมที่เป็นที่สุดแห่งความทันสมัยของจีน ในอดีตคนเซี่ยงไฮ้ และคนจีนรับความเป็นตะวันตกมาด้วยความสำนึกรู้อยู่ตลอดว่าถูกพวกชาวตะวันตกเหยียบหัวตัวเองอยู่ ในขณะที่ปัจจุบันกลับตรงกันข้าม เพราะทุกคนต่างจงใจและตั้งใจที่จะรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา เพราะไม่ว่าจะเป็นรถยนตร์คันแรก … Read more