การวิเคราะห์การพูดและการใช้ภาษาผิดของ VTUBER ที่ได้รับผลกระทบจากภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

ศึกษาการใช้ภาษาและสำนวนทางภาษา เมื่อ VTUBER ไทยนำสำนวนการพูดหรือการสื่อสารที่มีที่มาจากต่างประเทศมาใช้และศึกษาความคลาดเคลื่อนของการใช้ภาษาเนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมทางภาษาอย่างคร่าว ๆ

วิเคราะห์ตัวละครและความหมายเชิงสัญญะในภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นชุด มาสค์ไรเดอร์ ในยุคเฮเซย์

ศึกษาลักษณะของตัวละครหลักในเรื่อง ทั้งรูปลักษณ์ ภูมิหลัง และมุมมองของตัวละครนั้น ๆ ที่แทรกมาในเนื้อเรื่องและความหมายเชิงสัญญะที่ถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนระหว่างความดีและชั่วผ่านตัวละครในเรื่องฝ่ายดีและร้าย

การจำแนกประเภทและการเปรียบเทียบสำนวนภาษาเกาหลีกับภาษาไทยที่มีคำว่า ‘ปาก’

จำแนกประเภททางความหมายของสำนวนที่มีคำว่า “입” และ “ปาก” ในสำนวนเกาหลีกับสำนวนไทย และเปรียบเทียบภาพเหตุการณ์ที่มีความหมายเดียวกันที่สะท้อนจากการใช้สำนวนทั้งสองภาษา

การวิเคราะห์องค์ประกอบและคุณค่าของวรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่อง ปาฏิหาริย์แมวลายส้มผู้พิทักษ์หนังสือ

ศึกษาองค์ประกอบและคุณค่าของวรรณกรรม เรื่อง ปาฏิหาริย์แมวลายส้มผู้พิทักษ์หนังสือ

ชื่อเมืองในภาคตะวันออกของจีน: การศึกษาทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์

ศึกษาความหมายของชื่อเมืองและภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรมจากชื่อเมืองในภาคตะวันออกของประเทศจีน

การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนไทยและสำนวนเกาหลีที่เกี่ยวกับ “สุนัข”

ศึกษาความหมายของสำนวนไทยและสำนวนเกาหลีที่เกี่ยวกับสุนัข และทัศนคติของชาวไทยและชาวเกาหลีที่สะท้อนผ่านสำนวนไทยและสำนวนเกาหลี

ศึกษาวรรณกรรมแปลเรื่อง “อันตัวข้าพเจ้านี้คือแมว” : ตัวละครสุขนาฎกรรมและการเสียดสีสังคมญี่ปุ่นยุคต้นเมจิ

ศึกษาสภาพสังคมของประเทศญี่ปุ่นในช่วงยุคสมัยเมจิ ผ่านการศึกษาจากการแสดงพฤติกรรมของตัวละครและจากสภาพสังคมใน วรรณกรรมแปล

การศึกษานวนิยายแปลจีนเรื่อง “สามชาติผูกพัน แม่น้ำลืมเลือน”

ศึกษาองค์ประกอบของนวนิยายได้แก่ โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร ฉาก บทสนทนา กลวิธีการแต่ง และคุณค่าของนวนิยายแปลจีนเรื่อง “สามชาติผูกพัน แม่น้ำลืมเลือน”

การศึกษาวรรณกรรมแปลญี่ปุ่น เรื่อง ฝันถึงเรื่องนั้นอีกแล้ว และ ตับอ่อนเธอนั้นขอฉันเถอะนะ

ศึกษาแนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์และกลวิธีนำเสนอแนวคิดดังกล่าวในวรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่อง ฝันถึงเรื่องนั้นอีกแล้ว และ ตับอ่อนของเธอนั้นขอฉันเถอะนะ ของซูมิโนะ โยรุ

การวิเคราะห์ตัวละครในวรรณกรรมแปลจีน เรื่อง ตำนานรักทุ่งสีเพลิง

วิเคราะห์ลักษณะตัวละครในวรรณกรรมแปลจีน เรื่อง ตำนานรักทุ่งสีเพลิง โดยมีวิธีการศึกษาในรูปแบบของการพรรณนาวิเคราะห์

การปรับตัวของคนจีนท่ามกลางกระแสการพัฒนาประเทศตามนโยบายสี่ทันสมัย ในพระราชนิพนธ์แปลจีนเรื่อง “เมฆเหินน้ำไหล”

ศึกษาการปรับตัวของคนจีนท่ามกลางกระแสการพัฒนาประเทศตามนโยบายสี่ทันสมัยและคุณค่าด้านเนื้อหาของพระราชนิพนธ์แปลดังกล่าว

เพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น : เดินทางข้ามเวลาเพื่อรักษาสถาบันครอบครัวญี่ปุ่น

ศึกษาลักษณะแฟนตาซีที่เป็นกลวิธีสำคัญ ในการนำเสนอประเด็นปัญหาของสถาบันครอบครัวในสังคมญี่ปุ่น

การนำเสนอภาพปัญหาสังคมญี่ปุ่นในวรรณกรรมแปล เรื่อง ไปตายด้วยกันไหม

ศึกษาปัญหาสังคมญี่ปุ่นที่เป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายที่ปรากฏในวรรณกรรมแปลเรื่องไปตายด้วยกันไหม ของ โท อุบุคาตะ

แสงสุดท้ายแห่งชนชั้นสูง: การนำเสนอตัวละครชนชั้นสูงในวรรณกรรมอาทิตย์สิ้นแสง

ศึกษากลวิธีการนำเสนอตัวละครชนชั้นสูงในวรรณกรรมแปลเรื่องอาทิตย์สิ้นแสง โดยศึกษาจากนวนิยายญี่ปุ่นฉบับแปลภาษาไทย

การใช้ภาษาในโฆษณาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายของเวียดนาม

ศึกษากลวิธีการใช้ภาษาเวียดนามในโฆษณาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายของเวียดนามและศึกษาค่านิยมที่สะท้อนผ่านภาษาโฆษณาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย

ความชัดใสในระดับวากยสัมพันธ์ของภาษาเกาหลี: กรณีศึกษาหน่วยสร้างกริยาเรียงที่เกิดต่อเนื่องกันของเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์

ศึกษาหน่วยสร้างกริยาเรียง 2 ตัวในประโยคภาษาเกาหลี

ศึกษากลวิธีการแปลภาพพจน์ในนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” และ “คู่กรรม” จากภาษาไทยเป็นภาษาเวียดนาม

ศึกษาภาพพจน์ที่ปรากฏในนวนิยายและกลวิธีการแปลภาพพจน์จากนวนิยายต้นฉบับในฉบับแปลภาษาเวียดนามโดยใช้แนวคิดกลวิธีการแปลสำนวนและภาพพจน์ของเบเคอร์

ตัวละครในนวนิยายเรื่อง “รักของคนเขลา”: การปะทะสังสรรค์ระหว่างวัฒนธรรมญี่ปุ่นและวัฒนธรรมตะวันตกในยุคไทโช

ศึกษาลักษณะตัวละครในนวนิยายเรื่อง “รักของคนเขลา” และศึกษาการปะทะสังสรรค์ระหว่างวัฒนธรรมญี่ปุ่นและวัฒนธรรมตะวันตกในยุคไทโช

วิเคราะห์ตัวละครหญิงในวรรณกรรมเรื่อง “สวนสนุกแห่งการลงทัณฑ์ รักในฝันของฝางซือฉี” ในเชิงจิตวิทยา

ศึกษาและวิเคราะห์ตัวละครหญิงในเชิงจิตวิทยาและปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะทางจิตวิทยาของตัวละครหญิงในวรรณกรรม

กลวิธีการแปลคำอุทานภาษาเกาหลีเป็นภาษาไทย: กรณีศึกษารายการปกิณกะบันเทิง Six Sense

จำแนกประเภทคำอุทานภาษาเกาหลี และวิเคราะห์กลวิธีการแปลคำอุทานภาษาเกาหลีเป็นภาษาไทย