การศึกษาสำนวนจีนที่เกี่ยวกับอาหารการกิน

บทความวิจัยเรื่องการศึกษาสำนวนจีนที่เกี่ยวกับอาหารการกิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของสำนวนจีน โครงสร้างทางภาษาของสำนวนจีน และศึกษาภาพสะท้อนของสำนวนจีนที่เกี่ยวกับอาหารการกิน โดยศึกษาข้อมูลจากสำนวนจีน และข้อมูลที่เกี่ยวกับอาหารการกินของคนจีน

ป้ายชื่อร้านค้าภาษาจีน : กรณีศึกษาบริเวณสะพานควายและเยาวราช

บทความวิจัยเรื่องป้ายชื่อร้านค้าภาษาจีน : กรณีศึกษาบริเวณสะพานควายและเยาวราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางภาษาของป้ายร้านค้า ความสัมพันธ์ระหว่างความหมายของชื่อร้านค้ากับสินค้าและบริการ ตลอดจนความเป็นพหุวัฒนธรรม โดยการสำรวจข้อมูลจากป้ายร้านค้าบริเวณเยาวราชและสะพานควาย จำนวน 180 ป้าย แบ่งเป็นบริเวณเยาวราช 150 ป้ายและ สะพานควาย 30 ป้าย

ความหมายของตัวเลขที่ปรากฎในสำนวนจีน

บทความวิจัยเรื่อง ความหมายของตัวเลขที่ปรากฏในสำนวนจีน มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความหมายของตัวเลขที่ปรากฏในสำนวนจีน 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทางสังคมที่มีผลต่อการใช้ตัวเลขที่ปรากฏในสำนวนจีน โดยใช้ข้อมูลจากหนังสือ 100 สำนวนจีนเกี่ยวกับตัวเลขของ อาศรม-จีนสยาม จำนวน 100 ข้อมูล

สำนวนจีนที่มีคำเกี่ยวกับอวัยวะ

บทความวิจัยเรื่องสำนวนจีนที่มีคำเกี่ยวกับอวัยวะ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างทางภาษาของสำนวน ความหมายของสำนวน รวมถึงภาพสะท้อนที่ปรากฏผ่านสำนวนจีนที่มีคำเกี่ยวกับอวัยวะ โดยมีวิธีการศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลสำนวนจีนจากหนังสือต่างๆ จำนวน 6 เล่ม ซึ่งสามารถคัดแยกสำนวนจีนที่มีคำเกี่ยวกับอวัยวะได้จำนวน 88 สำนวน

การศึกษาตัวละครเอกฝ่ายชาย “ฮั่วชวี่ปิ้ง” ในวรรณกรรมแปลจีนเรื่องลำนำทะเลทราย

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาวรรณกรรมแปลจีนเรื่องลำนำทะเลทราย มี ถงหัว เป็นผู้แต่ง และ มดแดง เป็นผู้แปล วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวละครเอกฝ่ายชาย “ฮั่วชวี่ปิ้ง” ด้านลักษณะของตัวละคร และกลวิธีการสร้างตัวละคร

การศึกษาโครงสร้างการเล่าเรื่องและการใช้ตำนานจีนในนวนิยายแปลจีนชุดสืบสยอง ตอนศพซ่อนกระบี่ และตอนศพพิพากษา

บทความวิจัยเรื่องการศึกษาโครงสร้างการเล่าเรื่องและการใช้ตำนานจีนในนวนิยายแปลจีนชุดสืบสยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างการเล่าเรื่องในฐานะนวนิยายสืบสวนสอบสวน และเพื่อศึกษาการใช้ตำนานเรื่องเล่าของจีนในนวนิยายเรื่องนี้

“วรรณกรรมแปลญี่ปุ่นสะท้อนสังคม : กรณีศึกษา วรรณกรรมแปลเรื่อง แท็กซี่มีแมว”

บทความวิจัยเรื่อง วรรณกรรมแปลญี่ปุ่นสะท้อนสังคม กรณีศึกษาวรรณกรรมแปลเรื่องแท็กซี่มีแมว เป็นการศึกษาวรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่องแท็กซี่มีแมวซึ่งเป็นผลงานของยูจินากาโมริ อุภาวรรณ เบ็ญจโภคี เป็นผู้แปล วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมและสภาพสังคมที่สะท้อนผ่านวรรณกรรมโดยวิเคราะห์จากพฤติกรรมตัวละคร

การศึกษาวิเคราะห์นวนิยายแปลจีนเรื่อง “พานพบอีกครายามบุปผาโปรยปราย”

บทความวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์นวนิยายแปลจีนเรื่อง “พานพบอีกครายามบุปผาโปรยปราย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และคุณค่าของวรรณกรรม

ผลการศึกษาพบว่านวนิยายเรื่องนี้มีโครงเรื่องเป็นเรื่องราวความรักของภูติดอกฉาชื่อหงหนิงและเทพเซียนชื่อจิ่นซิ่ว โดยผู้แต่งได้สร้างปมความขัดแย้ง 2 ประการคือ ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและสิ่งเหนือธรรมชาติ

การเปลี่ยนแปลงด้านความหมายของคำยืมภาษาจีนที่ปรากฏในภาษาไทย

บทความวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านความหมายของคำยืมภาษาจีนที่ปรากฏในภาษาไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คำยืมภาษาจีนที่ปรากฏในภาษาไทย และการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำยืมภาษาจีนที่ปรากฏในภาษาไทย โดยผู้วิจัยมีวิธีการเก็บรวบรวมคำยืมภาษาจีนที่ปรากฏในภาษาไทยจากหนังสือ “คำจีนสยามภาพสะท้อนปฏิสัมพันธ์ไทย-จีน” ของวรศักดิ์ มหัทธโนบล เพื่อศึกษาเฉพาะคำยืมที่มีการเปลี่ยนแปลงความหมายพบจำนวน 159 คำ ซึ่งผู้วิจัยใช้กรอบความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำยืมของ สมทรง บุรุษพัฒน์ เป็นแนวทางการวิเคราะห์

วรรณกรรมแปลจีนเรื่อง บุปผาซ่อนจันทร์ ของจินนี หลิน

บทความวิจัยเรื่องวรรณกรรมแปลจีนเรื่องบุปผาซ่อนจันทร์ ของจินนี หลิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นนวนิยายรักและเป็นนวนิยายสืบสวนสอบสวนของวรรณกรรมแปลจีน เรื่อง บุปผาซ่อนจันทร์ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนวนิยายรักกับนวนิยายสืบสวนสอบสวนในวรรณกรรมแปลจีนเรื่องดังกล่าว

การปรับตัวต่อโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศญี่ปุ่น กรณีศึกษา ธุรกิจสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ

สารนิพนธ์เรื่องการปรับตัวต่อโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศญี่ปุ่น กรณีศึกษา ธุรกิจสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุ และการปรับตัวต่อการก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่น และเพื่อศึกษารูปแบบการจัดการธุรกิจสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ หรือชุมชนผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่น โดยมีวิธีการศึกษา คือ รวบรวมข้อมูลประชากรตั้งแต่พ.ศ. 2558-2562 จากหน่วยงาน World Meters และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงชุมชนผู้สูงอายุ ในแง่ของนโยบาย และพัฒนาการจากหน่วยงาน Health and Welfare Bureau for the Elderly Ministry of Health, Labour and Welfare จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์เชิงบรรยาย

การพัฒนาสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ : กรณีศึกษา เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น

สารนิพนธ์เรื่องการพัฒนาสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ในฐานะที่ประเทศญี่ปุ่นเป็น 1 ในประเทศต้นแบบเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยศึกษา 3 ประเด็น คือ (1) แนวคิดทฤษฎีอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Industrial Ecology) สู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Development : EID) (2) รูปแบบการพัฒนาไปสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (3) คุณลักษณะของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและแนวทางการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศในโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เกี่ยวกับการพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในประเทศญี่ปุ่น

กระแสผักชีในประเทศญี่ปุ่น

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคนญี่ปุ่นหันมาให้ความสนใจและนิยมบริโภคผักชีกันเป็นจำนวนมาก เกิดกระแสผักชีฟีเวอร์ขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ผักชีได้รับความนิยมอย่างมากชนิดที่ว่าเรียกได้ว่าหันไปทางไหนก็สามารถพบเห็นกระแสของผักชีได้ทั่วทุกที่ ทั้งสินค้า อาหาร หรือแม้แต่สื่อบันเทิงต่างๆ บทความวิจัยเรื่อง “กระแสผักชีในประเทศญี่ปุ่น” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจุดเริ่มต้นของกระแสผักชีในประเทศญี่ปุ่นว่ามีความเป็นมาอย่างไร และศึกษาผลิตภัณฑ์และสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับผักชีว่ามีรูปแบบใดบ้าง รวมไปถึงศึกษาถึงหลักการตลาดเบื้องหลังกระแสผักชีว่ามีกลยุทธ์อย่างไรบ้างในการเชื่อมโยงกระแสของผักชีเข้ากับสินค้าของตนเอง โดยมีวิธีศึกษาจากแหล่งข้อมูลทุตยภูมิ

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา ขนมในประเทศจีน

พัฒนาการของขนมในประเทศจีน รวมทั้งศึกษาขนมที่ใช้ในเทศกาลต่างๆในแต่ละท้องถิ่นตลอดจนศึกษากิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับขนมในประเทศจีนโดยมีวิธีการศึกษาจากเว็บไซต์ Specialfood และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

พฤติกรรมนักท่องเที่ยวจีนในการเลือกซื้อสินค้าที่ระลึกในกรุงเทพมหานคร

สารนิพนธ์เรื่องพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจีนในการเลือกซื้อสินค้าที่ระลึกในกรุงเทพมหานคร
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทของสินค้าที่ระลึก ที่ตั้งและลักษณะร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าที่ระลึกที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวจีน แรงจูงใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจีนในการเลือกซื้อสินค้าที่ระลึก โดยทำการสำรวจพื้นที่ร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าที่ระลึกที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวจีน และเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญจากนักท่องเที่ยวจีน บริเวณตลาดนัดจตุจักร และบริเวณเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ แห่งละ 30 คน รวม 60 คน ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 จากนั้นนำมาวิเคราะห์ในรูปแบบสถิติเชิงพรรณนา และแผนที่

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ : กรณีศึกษามณฑลเสฉวน

การศึกษาเรื่องแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ : กรณีศึกษามณฑลเสฉวน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในมณฑลเสฉวน เพื่อจัดเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในมณฑลเสฉวน โดยมีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องทางด้านการท่องเที่ยวและแผนที่ และข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 200 ตัวอย่าง

การศึกษาการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการพัฒนาการท่องเที่ยวของไต้หวัน

สารนิพนธ์เรื่องการศึกษาการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการพัฒนาการท่องเที่ยวของไต้หวันมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเศรษฐกิจใน 3 ประเด็นคือ (1) การฟื้นฟูเศรษฐกิจไต้หวันจากนโยบายของภาครัฐในสภาวะหลังสงครามจนถึงปัจจุบัน (2) นโยบายเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของไต้หวัน (3) การเติบโตทางเศรษฐกิจจากการพัฒนาการท่องเที่ยวของไต้หวัน โดยมีวิธีการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจไต้หวัน ผู้จัดทำเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในด้านนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของไต้หวันในช่วงสภาวะหลังสงครามจนถึงปัจจุบัน กรณีศึกษานโยบายที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยศึกษาจากเอกสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ จากนั้นวิเคราะห์การเติบโตทางเศรษฐกิจจากการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ และเรียบเรียงผลการศึกษาในรูปแบบของบทความวิจัย

การศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในเมืองชิงเต่า ประเทศจีน

สารนิพนธ์เรื่องการศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในเมืองชิงเต่า ประเทศจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเมืองชิงเต่า รูปแบบการท่องเที่ยวและกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเมืองชิงเต่า เพื่อเสนอแนะโปรแกรมและเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในเมืองชิงเต่า โดยมีวิธีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว และการลงสารวจพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลจากสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในเมืองชิงเต่า ประเทศจีน

ท่องเที่ยวปูซาน 4 ฤดู

สารนิพนธ์เรื่องท่องเที่ยวปูซาน 4 ฤดู มีวัตถุประสงค์รวบรวมและจัดลำดับสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองปูซานและเมืองใกล้เคียงที่บริษัทท่องเที่ยวของประเทศไทยนิยมจัดโปรแกรมให้กับนักท่องเที่ยว โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลแผนการท่องเที่ยวในแต่ละฤดูกาลจากบริษัทนำเที่ยวในประเทศไทย ฤดูกาลละ 3 บริษัท แล้วจัดทำตารางเปรียบเทียบเพื่อจัดกลุ่ม โดยแบ่งเป็น 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง

ปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองดานัง

สารนิพนธ์เรื่องปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองดานัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายการท่องเที่ยวของเวียดนามที่มีส่วนในการสนับสนุนการท่องเที่ยวในเมืองดานัง และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในเมืองดานัง โดยใช้ข้อมูลเชิงทุติยภูมิ (Secondary data) จากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว เช่น กระทรวงการท่องเที่ยว ข้อมูลธุรกิจการท่องเที่ยว จากการสำรวจเว็บไซต์ของบริษัทนำเที่ยว งานวิจัย สารนิพนธ์ และสื่อออนไลน์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาแบ่งประเภท วิเคราะห์ และบรรยายเชิงพรรณนา