ปัญหาการออกเสียงคำในภาษาเกาหลีของนักศึกษาไทย

โดย นางสาวฉัตราพร ถาวรไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกเสียงภาษาเกาหลีด้านการออกเสียงสระและพยัญชนะของนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาเกาหลีในมหาวิทยาลัยศิลปากร ตลอดจนวิเคราะห์และจัดกลุ่มการออกเสียงสระและพยัญชนะของนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาเกาหลี

Read more

ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมจีนภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจากวรรณกรรมแปลจีนเรื่อง “เสียงร่ำไห้กลางสายฝน”

โดย นางสาววลัยลักษณ์ นราทอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวรรณกรรมแปลจีนเรื่อง“เสียงร่ำไห้กลางสายฝน”  ประพันธ์โดย  หยูหัว แปลโดย ณฐา เกียรติบารมี และอรินทรา ตั้งสถิตเกียรติ์ สำนักพิมพ์ อโนเวล พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2557

Read more

การวิเคราะห์วิถีชีวิตชาวจีนในหมู่บ้านชนบทช่วงทศวรรษ 1960-1980 ที่สะท้อนผ่านพระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เรื่อง “หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า” 

โดย นางสาวกฤตยา  เฟื่องวงษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์พระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เรื่อง “หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ วิถีชีวิตชาวจีนในหมู่บ้านชนบทช่วงทศวรรษ 1960-1980  ที่สะท้อนผ่านพระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เรื่อง  “หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า”

Read more

การศึกษานวนิยายแปลจีน เรื่อง พระนางซูสี  จักรพรรดินีกู้บัลลังก์

โดย นางสาวยลดา ภู่ศร

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษานวนิยายเรื่อง พระนางซูสี จักรพรรดินีกู้บัลลังก์ ของ อันฉี หมิน ฉบับแปลภาษาไทยของ ภคปภา เทพพิทักษ์ โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ ศึกษากลวิธีการสร้างตัวละครเอก ศึกษากลวิธีการแต่งและศึกษากลวิธีการสร้างฉาก

Read more

การออกเสียงคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษในภาษาเกาหลี

โดย นางสาวพรรณวงศ์  เคียงกิติวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการออกเสียงคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษในภาษาเกาหลีจำนวน 350 คำ และวิเคราะห์หลักเกณฑ์การออกเสียงคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษในภาษาเกาหลี

Read more

การวิเคราะห์ตัวละครเอกในวรรณกรรมแปลจีน เรื่อง ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่

โดย นายบรรณวัชร อุยานุกิจกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาตัวละครเอกจากวรรณกรรมแปลจีน เรื่อง ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่ เขียนโดยโกวเล้ง แปลโดย น.นพรัตน์ โดยศึกษาด้านความเป็นมา บทบาท และความสำคัญของตัวละครเอก

Read more

ศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่อง โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง

โดย นางสาวสุมณี เริงเกษตรกิจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเล่มนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมแปลญี่ปุ่น โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางวรรณกรรม ทั้งโครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา ฉากและบรรยากาศ อีกทั้งยังศึกษาคุณค่าด้านการศึกษา ด้านคุณธรรมและจริยธรรม

Read more

“ตลอดกาลน่ะนานแค่ไหน: การวิพากษ์วัฒนธรรมจีนสมัยเก่าผ่านตัวละครและฉาก”

โดย นางสาววรัญญา ชนะสิทธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาวรรณกรรมแปลจีนเรื่อง ตลอดกาลน่ะนานแค่ไหน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของการสร้างตัวละครและฉากที่มีนัยยะของการวิพากษ์วัฒนธรรมจีนแบบเก่า

Read more

การศึกษาวรรณกรรมแปลญี่ปุ่นเรื่อง วิตามินรัก (Vitamin F)

โดย นางสาวญาณินท์ นาควารี 

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของวรรณกรรมและคุณค่าทางสังคมที่ปรากฏในนวนิยายแปลญี่ปุ่นเรื่อง วิตามินรัก (Vitamin F) ของ คิโยะชิ ชิเงะมะซึ ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายเรื่องนี้มีการสร้างโครงเรื่องโดยการเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวทั้ง 7 ครอบครัว และมีปมปัญหาหลักคือ การแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละครอบครัว

Read more

ภาพสะท้อนแนวคิดปิตาธิปไตยที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมระหว่าง ชาย หญิงในสังคมไต้หวัน

โดย นางสาวศาตนาฏ ลิขิตจิตถะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องภาพสะท้อนแนวคิดปิตาธิปไตยที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมระหว่างชาย หญิงในสังคมไต้หวัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดแบบปิตาธิปไตยในสังคมไต้หวันที่ปรากฎในวรรณกรรมแปลเรื่อง ดั่งผู้หญิงไร้ชีวิต

Read more

การเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคมของไล่ตงจิ้นในสารคดีอัตชีวประวัติ เรื่อง “ไล่ตงจิ้น ลูกขอทานผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต”

โดย นางสาววณิชญา ชนะเสถียรพงษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ เป็นการศึกษาสารคดีอัตชีวประวัติ เรื่อง “ไล่ตงจิ้น ลูกขอทานผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต” ประพันธ์โดย ไล่ตงจิ้น แปลโดย วิลาวัลย์ สกุลบริรักษ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคมของไล่ตงจิ้น โดยใช้แนวทางสังคมวิทยาในการศึกษาประเด็นการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคมของไล่ตงจิ้น

Read more

คินดะอิจิยอดนักสืบ ตอนที่ 5 คดีฆาตกรรมบนเกาะโกะกุมน : สภาพสังคม  ศาสนาและความเชื่อในสังคมญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

โดย นางสาวฤดีมาต  มลิวัลย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเล่มนี้เป็นบทความที่ศึกษานวนิยายเรื่อง คินดะอิจิยอดนักสืบ ตอนที่ 5 คดีฆาตกรรมบนเกาะโกะกุมนเพื่อศึกษาสภาพสังคมญี่ปุ่น และ ศึกษาอิทธิพลของศาสนา ความเชื่อ ที่มีต่อสังคมญี่ปุ่น ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

Read more

นัยยะแห่งศีลและสมาธิที่สะท้อนผ่านตัวละคร “ตือโป๊ยก่าย” และ “ซัวเจ๋ง” ในวรรณกรรมเรื่องไซอิ๋ว

โดย นางสาวนุชนาฏ เกตุคง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “ นัยยะแห่งศีลและสมาธิที่สะท้อนผ่านตัวละคร “ตือโป๊ยก่าย” และ “ซัวเจ๋ง” ในวรรณกรรมเรื่องไซอิ๋ว ”   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและบทบาทของตัวละครสำคัญที่ชื่อว่า ตือโป๊ยก่ายและซัวเจ๋ง รวมทั้งศึกษานัยยะของศีลและสมาธิของตัวละครทั้งสอง

Read more

การศึกษาวรรณกรรมจีน เรื่อง เจาะมิติพิชิตบัลลังก์

โดย นางสาวณิชนันทน์ สัมฤทธินันท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเล่มนี้ เป็นการศึกษาวรรณกรรมจีน เรื่อง เจาะมิติพิชิตบัลลังก์ ของถงหัว จากฉบับแปลเป็นภาษาไทย สำนวนการแปลของอรจิรา มีจุดมุ่งหมายสองประการ คือเพื่อศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบของวรรณกรรมเรื่องเจาะมิติพิชิตบัลลังก์ และเพื่อวิเคราะห์แนวคิดที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องเจาะมิติพิชิตบัลลังก์

Read more

การศึกษานวนิยายแปลจีนเรื่อง ดอกไม้ไร้ราก

โดย นางสาวรุ่งภัทรา สุจิวรกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษา เพื่อวิเคราะห์และประเมิณคุณค่าของนวนิยายแปลจีนเรื่อง ดอกไม้ไร้ราก ของอันฉี หมิน ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้คือ เพื่อศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและคุณค่าของวรรณกรรม อันได้แก่ โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร รวมทั้งคุณค่าของวรรณกรรม

Read more

ความเป็นธรรมเชิงวรรณศิลป์ในนวนิยายเรื่อง คนเลว ของ โยะชิดะ ชูอิชิ

โดย นางสาวพลอยพราว จิกิตศิลปิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวละครในเรื่อง คนเลว ในประเด็นเรื่อง ความดี และความเลว และเพื่อศึกษาความเป็นธรรมเชิงวรรณศิลป์ในเรื่อง คนเลว โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับจริยศาสตร์เรื่องความถูก ความผิด ความดี และความเลว

Read more

“ชายรักชาย สมัยเอโดะ: กรณีศึกษาจากวรรณกรรมแปลเรื่อง ซามูไรสีม่วง” (Japanese Magnolia)

โดย นางสาวปรียาภรณ์ หิรัญพต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้  คือ  เพื่อศึกษาเพศภาวะและเพศวิถีของตัวละคร  และปฏิกิริยาของสังคมในตัวบทต่อพฤติกรรมทางเพศของตัวละครในวรรณกรรมเรื่องซามูไรสีม่วง (Japanese Magnolia)   กรอบแนวคิดในการวิจัย คือ เพศภาวะ (Gender) เพศวิถี (Sexuality)

Read more

ความเหงาในนวนิยายเรื่อง ‘รักเร้นในโลกคู่ขนาน’ (Sputnik Sweetheart) ของฮารูกิ มูราคามิ

โดย นางสาวเกษรา  พรวัฒนมงคล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวละครในเรื่อง ‘รักเร้นในโลกคู่ขนาน’(Sputnik Sweetheart) ในประเด็นเรื่อง ความเหงา และเพื่อศึกษาวิธีการจัดการความเหงาในตัวละครเรื่อง ‘รักเร้นในโลกคู่ขนาน’(Sputnik Sweetheart)

Read more