ความชัดใสในระดับวากยสัมพันธ์ของภาษาเกาหลี: กรณีศึกษาหน่วยสร้างกริยาเรียงที่เกิดต่อเนื่องกันของเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์

ศึกษาหน่วยสร้างกริยาเรียง 2 ตัวในประโยคภาษาเกาหลี

ศึกษากลวิธีการแปลภาพพจน์ในนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” และ “คู่กรรม” จากภาษาไทยเป็นภาษาเวียดนาม

ศึกษาภาพพจน์ที่ปรากฏในนวนิยายและกลวิธีการแปลภาพพจน์จากนวนิยายต้นฉบับในฉบับแปลภาษาเวียดนามโดยใช้แนวคิดกลวิธีการแปลสำนวนและภาพพจน์ของเบเคอร์

ตัวละครในนวนิยายเรื่อง “รักของคนเขลา”: การปะทะสังสรรค์ระหว่างวัฒนธรรมญี่ปุ่นและวัฒนธรรมตะวันตกในยุคไทโช

ศึกษาลักษณะตัวละครในนวนิยายเรื่อง “รักของคนเขลา” และศึกษาการปะทะสังสรรค์ระหว่างวัฒนธรรมญี่ปุ่นและวัฒนธรรมตะวันตกในยุคไทโช

วิเคราะห์ตัวละครหญิงในวรรณกรรมเรื่อง “สวนสนุกแห่งการลงทัณฑ์ รักในฝันของฝางซือฉี” ในเชิงจิตวิทยา

ศึกษาและวิเคราะห์ตัวละครหญิงในเชิงจิตวิทยาและปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะทางจิตวิทยาของตัวละครหญิงในวรรณกรรม

กลวิธีการแปลคำอุทานภาษาเกาหลีเป็นภาษาไทย: กรณีศึกษารายการปกิณกะบันเทิง Six Sense

จำแนกประเภทคำอุทานภาษาเกาหลี และวิเคราะห์กลวิธีการแปลคำอุทานภาษาเกาหลีเป็นภาษาไทย

ปัญหาเด็กและเยาวชนในนวนิยายแปลญี่ปุ่นเรื่อง The witch’s house -บันทึกของเอเลน-

ศึกษาปัญหาของเด็กและเยาวชน และการนำเสนอปัญหาในรูปแบบของความแฟนตาซีที่สอดแทรกในนวนิยายแปลญี่ปุ่น เรื่อง The witch’s house -บันทึกของเอเลน-

การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมแปลญี่ปุ่น เรื่องคำสารภาพ

ศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบของวรรณกรรมเรื่อง คำสารภาพ ทั้งโครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา ฉากและบรรยากาศ และคุณค่าของวรรณกรรมเรื่อง คำสารภาพ

เสียงประท้วงผ่านวรรณกรรม ในงานของนักเขียนกลุ่มบุไรฮะ : กรณีศึกษา บุไรฮะ รวมผลงานของนักเขียนกลุ่มปฏิปักษ์สังคม

ศึกษาบริบททางสังคมและประวัติของนักเขียนกลุ่มบุไรฮะในหนังสือ บุไรฮะ รวมผลงานของนักเขียนกลุ่มปฏิปักษ์สังคม และผลงานวรรณกรรมของนักเขียนกลุ่มบุไรฮะในฐานะกระบอกเสียงเรียกร้องและวิพากษ์สังคมญี่ปุ่นในยุคไทโชและโชวะ

การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนและสำนวนไทยที่มีคำเกี่ยวกับอาหารการกิน

ศึกษาเปรียบเทียบความหมาย และภาพสะท้อนด้านวัฒนธรรมการกินของสำนวนจีนและสำนวนไทยที่มีคำเกี่ยวกับอาหารการกิน

ความเป็นมนุษย์และความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่สะท้อนผ่านนวนิยายเรื่อง “บิเบลีย บันทึกไขปริศนาแห่งร้านหนังสือ”

ศึกษาแนวคิดความเป็นมนุษย์และแนวคิดความสัมพันธ์ของมนุษย์ผ่านนวนิยายเรื่องบิเบลีย บันทึกไขปริศนาแห่งร้านหนังสือ เล่มที่ 1-7

แนวคิดและกลวิธีการในตั้งชื่อของเกมเกนชิน อิมแพ็ค

ศึกษาแนวคิดและกลวิธีการตั้งชื่อของตัวละคร อาวุธ และอาร์ติแฟกต์ในเกมเก็นชิน อิมแพ็ค

ความรักและชีวิตของวัยรุ่นในบทเพลงเกาหลี กรณีศึกษา วง TOMORROW X TOGETHER

ศึกษาความรักและชีวิตของวัยรุ่น ผ่านทางบทเพลงของศิลปินเกาหลีวง TOMORROW X TOGETHER รวมถึงศึกษาภาพพจน์ที่ปรากฏในเนื้อเพลง

สังคมญี่ปุ่นในนวนิยาย “มนุษย์ร้านสะดวกซื้อ (コンビニ人間)”

วิเคราะห์สภาพสังคมญี่ปุ่นที่ปรากฏในนวนิยาย “มนุษย์ร้านสะดวกซื้อ (コンビニ人間)”

การตั้งชื่ออาหารเวียดนามในประเทศไทย

ศึกษาองค์ประกอบและโครงสร้างของชื่ออาหารเวียดนามในประเทศไทยและในประเทศเวียดนาม เปรียบเทียบชื่ออาหารเวียดนามในประเทศไทยและในประเทศเวียดนาม และศึกษาวัฒนธรรมที่สะท้อนจากชื่ออาหารเวียดนามในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม

กลวิธีการแปลชื่ออาหารเกาหลีเป็นภาษาไทย: กรณีศึกษาร้านอาหารเกาหลี “ดูเร” ในประเทศไทย

เพื่อศึกษากลวิธีการแปลชื่ออาหารเกาหลีเป็นภาษาไทยและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการแปลชื่ออาหารเกาหลีเป็นภาษาไทย

การเปรียบเทียบข้อมูลประวัติศาสตร์ผ่านแอนิเมชันเรื่อง ป๊อปปี้ ฮิลล์ ร่ำร้องขอปาฏิหาริย์ (From Up on poppy hill)

ศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นและบทบาทสำคัญในด้านต่างๆผ่านแอนิเมชันเรื่องป๊อปปี้ ฮิลล์ร่ำร้องของปาฏิหาริย์

พัฒนาการทางเศรษฐกิจของเมืองเซินเจิ้น : จากแหล่งผลิตสินค้าลอกเลียนแบบสู่เมืองแห่งนวัตกรรม

ศึกษานโยบายของรัฐบาลจีนที่ส่งผลให้เซินเจิ้นกลายเป็นเมืองแห่งนวัตกรรมและวิเคราะห์การเปลี่ยนของเมืองเซินเจิ้นจากเมืองผลิตสินค้าลอกเลียนแบบสู่เมืองแห่งนวัตกรรมและเผยแพร่ภาพลักษณ์ของเมืองเซินเจิ้นในฐานะเมืองแห่งนวัตกรรม

นัยและความสำคัญของฐานทัพสหรัฐอเมริกาบนเกาะโอกินาว่า

ศึกษานโยบายการทหารของสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ยึดครองญี่ปุ่น และความสำคัญของฐานทัพสหรัฐอเมริกาบนเกาะโอกินาว่าตั้งแต่ค.ศ.1945 – ค.ศ.2020

การปฏิวัติซินไฮ่

ศึกษาบริบทของสังคมจีนที่ส่งผลต่อการปฏิวัติ แนวคิดและหลักการในการก่อการปฏิวัติของซุน ยัตเซ็น และวิธีในการดำเนินการปฏิวัติ

ภาพยนตร์ Dear Ex และพัฒนาการของกฎหมายสมรสเท่าเทียมในประเทศไต้หวัน

ศึกษาพัฒนาการและปัจจัยที่เกิดขึ้นในประเทศไต้หวันที่ส่งผลให้ ไต้หวันมีความก้าวหน้าทางเพศมากที่สุดและเกิดกฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นประเทศแรกในเอเชีย รวมถึงศึกษาค่านิยมและบริบททางสังคมไต้หวันที่สะท้อนมุมมองต่อกลุ่ม LGBT+ ในภาพยนตร์ Dear Ex